รีเซต

ตู้เลี้ยงจิ้งหรีดประจำบ้าน ที่ผลิตอาหารทางเลือกจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ !

ตู้เลี้ยงจิ้งหรีดประจำบ้าน ที่ผลิตอาหารทางเลือกจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ !
TNN ช่อง16
26 ธันวาคม 2566 ( 00:05 )
66
ตู้เลี้ยงจิ้งหรีดประจำบ้าน ที่ผลิตอาหารทางเลือกจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ !

จิ้งหรีด ถือเป็นหนึ่งในอาหารทางเลือกที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) ส่งเสริมให้แมลงเป็นอาหารสำหรับคนทั่วโลก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีสัดส่วนของโปรตีนสูงเมื่อเทียบกับขนาดและน้ำหนักตัว ด้วยเหตุนี้ นักออกแบบจากเนเธอร์แลนด์จึงเลือกใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ มาสร้างตู้เลี้ยงจิ้งหรีดประจำบ้าน เพื่อสร้างอาหารทางเลือกได้อย่างสะดวกและประหยัดต้นทุน


ตู้เลี้ยงจิ้งหรีด: เครื่องผลิตอาหารจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

ตู้เลี้ยงจิ้งหรีดที่ว่านี้มีชื่อว่า ครีโครามา (Crikorama) ผลิตขึ้นจากพลาสติก PLA (Polylactic Acid) ที่มาจากธรรมชาติ เช่น ส่วนโครงสร้างของต้นข้าวโพด ธัญญาพืช มันสำปะหลัง และอ้อย ที่ได้จากการหมัก และการใช้อะครีลิกขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ก่อนประกอบด้วยน็อตและสกรูเกียว (Bolt) โดยไม่ได้เผยรายละเอียดในด้านของขนาดตัวเครื่องเอาไว้


จุดเด่นของครีโครามา (Crikorama) คือสามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้แม้ว่าจะอยู่ในสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศไม่เหมาะสม เนื่องจากสามารถสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสำหรับการเลี้ยงจิ้งหรีดที่สะอาด เป็นสัดส่วน เรียบง่ายและมีไม่กินพื้นที่ โดยตัวตู้เลี้ยงจิ้งหรีด Crikormara จะมีพื้นที่ว่างภายในสำหรับให้จิ้งหรีดอยู่อาศัยได้สูงสุดถึง 60 ตัว พร้อมส่วนสำหรับให้จิ้งหรีดอยู่อาศัย ภายในมีการติดตั้งระบบระบายอากาศ ช่องใส่น้ำและอาหารที่ใช้เวลาในการให้อาหารและน้ำเพียง 10 นาทีต่อสัปดาห์ รวมถึงติดตั้งไฟแอลอีดี (LED) สีเขียวเพื่อความผ่อนคลายของจิ้งหรีด ตัวตู้ยังมีส่วนที่เป็นลิ้นชักที่สามารถดึงออกมาได้เมื่อต้องการนำจิ้งหรีดไปประกอบเป็นอาหาร พร้อมถาดแยกที่สามารถใส่ดินเพื่อให้จิ้งหรีดตัวเมียวางไข่เพื่อใช้เป็นวงจรในการผลิตอาหารรุ่นถัดไป 


ประโยชน์และราคาตู้เลี้ยงจิ้งหรีด: เครื่องผลิตอาหารจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

ตู้เลี้ยงจิ้งหรีด ครีโครามา (Crikorama) ตั้งเป้าเป็นตู้เลี้ยงจิ้งหรีดแบบครบวงจรจากการเพาะเลี้ยงและให้พื้นที่ขยายพันธุ์ในตู้เดียวกัน จึงสามารถผลิตโปรตีนให้กับครัวเรือนหรือร้านอาหารได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ คีราน คนอฟ (Kyran Knauf) นักออกแบบหลักของ Crikorama ให้ข้อมูลว่าการเลี้ยงจิ้งหรีดจะประหยัดน้ำกว่าปีละ 104,000 ลิตร และพื้นที่เลี้ยงปศุสัตว์อีกกว่า 200 ตารางเมตร เมื่อเทียบกับสัตว์อื่น ๆ ที่ให้โปรตีนในปริมาณเท่ากัน


ตู้เลี้ยงจิ้งหรีด ครีโครามา (Crikorama)  เปิดตัวครั้งแรกในงานสัปดาห์ออกแบบดัตช์ ประจำปี 2023 (Dutch Design Week 2023) ช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยคีราน คนอฟ ได้วางแผนพัฒนาและสร้างเครื่อง Crikorama ให้พร้อมจำหน่ายได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า ในราคาคาดการณ์ต่ำกว่า 300 ดอลลาร์สหรัฐ หรือไม่เกิน 10,500 บาท เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหารและสร้างทางเลือกการผลิตโปรตีนทั้งในครัวเรือนและร้านอาหารที่เป็นมิตรกับโลกต่อไป


ที่มาข้อมูล Dezeen

ที่มารูปภาพ Kyran Knauf


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง