รีเซต

เช็คเงินสมทบประกันสังคม เตรียมขึ้นเงินสมทบ ม.33 สูงสุด 1,150 บาท

เช็คเงินสมทบประกันสังคม เตรียมขึ้นเงินสมทบ ม.33 สูงสุด 1,150 บาท
TrueID
11 กุมภาพันธ์ 2566 ( 11:05 )
2.5K

เช็คเงินสมทบประกันสังคม 2566 ม.33 จ่ายเงินสมทบประกันสังคม เพิ่มขึ้น สูงสุด 1,150 บาท ภายในปี 2573 โดยกระทรวงแรงงาน ขึ้นเงินสมทบประกันสังคม ยังไงบ้าง เช็คที่นี่

 

เงินสมทบประกันสังคม

ขึ้นเงินสมทบ กระทรวงแรงงาน เตรียมปรับฐานจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ผู้ประกันตน ม.33 ตั้งแต่ปี 2567-2573  โดยกำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่ 1-28 กุมภาพันธ์นี้ ตามร่างกฎกระทรวง กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... ตั้งแต่วันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2566ประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายที่นำมารับฟังความคิดเห็น คือ ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... มีการปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจาก 15,000 บาท อย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้

  1. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท
  2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572  จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท
  3. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท

 

ทั้งนี้ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ได้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 จนถึงปัจจุบัน

 

เงินสมทบประกันสังคม ที่จะปรับขึ้นนั้น กระทรวงแรงงานกล่าวว่า จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น เพื่อการกระจายรายได้จากผู้มีรายได้มากไปสู่ผู้มีรายได้น้อยภายในระบบประกันสังคม และเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันสังคม และผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

 

สิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม ม.33 ที่เพิ่มขึ้น

  1. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีเจ็บป่วย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  2. เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ 70% หรือ 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  3. เงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  4. เงินสงเคราะห์กรณีตาย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  5. เงินทดแทนการขาดรายได้ในกรณีว่างงาน 50% หรือ 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุน
  6. เงินบำนาญชราภาพ ไม่ต่ำกว่า 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่นำส่งเข้ากองทุน โดยผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบ 15 ปี จะได้รับบำนาญ 20% ของค่าจ้าง ส่วนผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับบำนาญเพิ่มอีก 1.5% ทุกการส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน

    สำหรับเงินบำเหน็จชราภาพจะได้รับเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติเนื่องจากมีการนำส่งเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเพิ่มขึ้นจากการปรับฐานที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ

ตัวอย่างผลต่อผู้ประกันตน

ใน พ.ศ. 2567 ผู้ประกันตนที่ค่าจ้างมากกว่า 17,500 บาท จะส่งเงินสมทบเดือนละ 875 บาท  (เดิม 750 บาท) และจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น เงินทดแทนขาดรายได้กรณีว่างงานเพิ่มเป็นเดือนละ 8,750 บาท (เดิม 7,500 บาท)  เป็นต้น

 

ม.33 จ่ายเงินสมทบประกันสังคม กี่บาท

ม.33 ยังคงส่งเงินสมทบประกันสังคมรายเดือนในอัตร 5% ของค่าจ้างตามที่นายจ้างรายงานต่อสำนักงานประกันสังคม แต่ไม่เกินเพดานค่าจ้างใหม่ตามที่กำหนด ยกตัวอย่าง

 

ค่าจ้างรายเดือนปัจจุบันปี 2567-2569ปี 2570-2572ปี 2573 เป็นต้นไป
ค่าจ้าง 5,000 บาท250250250250
ค่าจ้าง 10,000 บาท

700

700

700

700

ค่าจ้าง 15,000 บาท750750750750
ค่าจ้าง 17,500 บาท750875875875
ค่าจ้าง 20,000 บาท7508751,0001,000
ค่าจ้าง 23,000 บาท ขึ้นไป7508751,0001,150

 

ม.33 ที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท ได้รับผลกระทบหรือไม่

  • ไม่ได้รับผลกระทบ โดยผู้ประกันตนจะนำส่งเงินสมทบ 5% ของค่าจ้างตามจริงที่นายจ้างรายงานต่อสำนักงานประกันสังคม เช่น 
    กรณีค่าจ้างเดือนละ 10,000 บาท ผู้ประกันตนจะส่งเงินสมทบเดือนละ 500 บาท (5% x 10,000 = 500)

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง ดูน้อยลง

 

ข้อมูล สำนักงานประกันสังคม

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

ทุกประเด็นร้อนข่าวสาร สาระ ทันเหตุการณ์ พูดคุยกันได้ 24 ชม.

คลิกเลย >>> TrueID Community <<<

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง