รีเซต

ม.33 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นกี่บาท? หาก "ประกันสังคม" ปรับฐานจ่ายเงินสมทบใหม่

ม.33 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นกี่บาท? หาก "ประกันสังคม" ปรับฐานจ่ายเงินสมทบใหม่
TNN ช่อง16
8 กุมภาพันธ์ 2566 ( 19:49 )
195
ม.33 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นกี่บาท? หาก "ประกันสังคม" ปรับฐานจ่ายเงินสมทบใหม่

กระทรวงแรงงาน เปิดรับฟังความคิดเห็น เตรียมปรับฐานจ่ายเงินสมทบประกันสังคมใหม่ ผู้ประตนมาตรา 33 ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นกี่บาท?

กระทรวงแรงงาน เตรียมปรับกำหนดค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานคำนวณจ่ายเงินสมทบกองทุน"ประกันสังคม" ผู้ประกันตน ม.33 ตั้งแต่ปี 2567-2573  โดยกำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นตั้งแต่ 1-28 กุมภาพันธ์นี้ 

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎกระทรวง กำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... ตั้งแต่วันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2566

ประเด็นสำคัญของร่างกฎหมายที่นำมารับฟังความคิดเห็น คือ ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. .... มีการปรับฐานค่าจ้างขั้นสูงจาก 15,000 บาท อย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้

1. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท

2. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2572  จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท

3. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 23,000 บาท

ทั้งนี้ เนื่องจากกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (2538) ออกตามความในพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ได้กำหนดค่าจ้างขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคมของผู้ประกันตนมาตรา 33 ไว้ไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2538 จนถึงปัจจุบัน

ดังนั้น จึงสมควรปรับปรุงให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเป็นไปตามมาตรฐานเพดานค่าจ้างขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ เพื่อความเพียงพอของสิทธิประโยชน์ที่เป็นเงินทดแทนการขาดรายได้ เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น เพื่อการกระจายรายได้จากผู้มีรายได้มากไปสู่ผู้มีรายได้น้อยภายในระบบประกันสังคม และเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบประกันสังคม

ส่วนประโยชน์ที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้ประกันตน คือทำให้ผู้ประกันตนได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นเนื่องจากฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว จะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม 

ตัวอย่างผลต่อผู้ประกันตน เช่น ในปี 67 ผู้ประกันตนที่ค่าจ้างมากกว่า 17,500 บาท จะส่งเงินสมทบเดือนละ 875 บาท (เดิม 750 บาท) และจะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น เงินทดแทนขาดรายได้กรณีว่างงานเพิ่มเป็นเดือนละ 8,750 บาท (เดิม 7,500 บาท) เป็นต้น

สำหรับเงินบำเหน็จชราภาพ จะได้รับเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ เนื่องจากมีการนำส่งเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเพิ่มขึ้น จากการปรับฐานที่ใช้ในการคำนวณเงินสมทบ



ภาพจาก TNN ONLINE / ประกันสังคม



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง