ขับรถเที่ยวปีใหม่ 2566 ขับรถผิดกฎ ต้องจ่ายเงินค่าปรับตามนี้!
ข่าววันนี้ รู้หรือไม่ ? ตลอด 7 วันของการเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2566 หรือเทศกาลสงกรานต์ มักจะเกิดอุบัติเหตุบนท้อนถนนและนำไปสู่การมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในที่สุด
ขับรถเที่ยวในกรุงเทพ เที่ยวปีใหม่ 2566
โดยสถิติเมื่อปี 2561 จำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนตลอดทั้งปี รวมทั้งหมด 20,169 ราย ซึ่งจังหวัดที่อัตราการเสียชีวิตต่อประชากร 100,000 คน มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
- ระยอง
- ชลบุรี
- จันทบุรี
- สระบุรี
- ฉะเชิงเทรา
ทั้งนี้ 3 ใน 4 จากยอดผู้เสียชีวตทั้งหมดเป็น เพศชาย และผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือ กลุ่มคนช่วงอยุ 18 - 24 ปี โดยเป็นผู้ขับขี่จักรยานยนต์สูงถึง 70%
ขณะที่ ตัวเลขอุบัติเหตุบนท้องถนนสะสม 7 วัน (27 ธ.ค. 61 - 2 ม.ค. 62) ช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี 2562 ระบุว่า
- เกิดอุบัติเหตุรวม 3,791 ครั้ง
- มีผู้บาดเจ็บ 3,892 คน
- มีผู้เสียชีวิต 463 ราย
การเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่
- ดื่มแล้วขับ 40.39%
- ขับรถเร็วเกินกำหนด 28.30%
- ซึ่งยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ รถจักรยานยนต์ถึง 79.64% เลยทีเดียว
และพฤติกรรมที่ตอกย้ำขึ้นไปอีก นั่นคือ ผู้ใช้รถ ใช้ถนน ยังคงใช้พฤติกรรมซ้ำ ๆ ไม่เปลี่ยน ไม่ปรับ ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย และไม่เคารพกฎจาจร วันนี้ TrueID ได้รวบรวมบทลงโทษให้ทั้งนักบิด หรือนักขับขี่ได้ระมัดระวังในการขับขี่รถยนท้องถนน ไม่ขับรถผิดกฎจราจร ก่อนเดินทางไกลในช่วงเทศกาลปีใหม่ หรือเทศกาลสงกรานต์ จะมีบทลงโทษอะไรบ้าง มาเช็กให้ชัวร์ จะได้ไม่ทำผิด ไม่เสียเงินค่าปรับ ไม่ต้องเสียเวลาด้วย
ขับผิดกฎ ต้องจ่ายเงินตามนี้!
สายเดินทางที่ชอบขับรถเที่ยวในกรุงเทพ หรือขับรถเที่ยวใกล้กรุงเทพ ขับรถเที่ยวต่างจังหวัด และมีพฤติกรรมบนท้องถนนที่ไม่ควรทำ เจอโทษปรับไม่ใช่น้อย ๆ ตามนี้
- ใช้โทรศัพท์ระหว่างขับรถ ปรับ 400-1,000 บาท
- หยุดรถบนทางเท้า ปรับ 500 บาท
- แซงในเส้นทึบ ปรับ 400-1,000 บาท
- หยุดรถขวางทางแยก ปรับไม่เกิน 500 บาท
- ฝ่าสัญญาณไฟแดง ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- ท่อแต่งเสียงดัง ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่สวมหมวกนิรภัย ปรับไม่เกิน 500 บาท
- ติดไฟนีออนใต้ท้องรถ ติดไว้กับป้ายทะเบียน ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ขับรถบนทางเท้า ปรับ 400-1,000 บาท
- หยุดรถล้ำเส้นหยุด ปรับไม่เกิน 1,000 บาท
- ขับรถย้อนศร ปรับไม่เกิน 500 บาท
- จอดรถกีดขวางการจราจร ปรับไม่เกิน 500 บาท
- ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียนวางไว้ที่กระจก ปรับไม่เกิน 2,000 บาท
- ใช้ป้ายแดงเกิน 1 เดือน หรือวิ่งระยะทางเกิน 3,000 กิโลเมตร โดยใช้ป้ายแดง ปรับไม่เกิน 10,000 บาท
- แผ่นป้ายทะเบียนปลอม มีความผิดทางอาญา ฟ้องศาล!
- เมาแล้วขับ มีโทษจำคุก 1 ปี ปรับตั้งแต่ 10,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ศาลสามารถสั่งพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบขับขี่และสามารถยึดรถไว้ได้ไม่เกิน 7 วัน
แจ้งเบาะบนท้องถนน
และจากข้อมูล กรมขนส่งทางบก ยังให้ผู้ขับขี่สามารถแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดบนท้องถนนได้ด้วย โดยมีข้อหาการกระทำความผิด ได้แก่
- ดัดแปลงไฟหน้าหรือไฟท้ายรถ ทำให้สีของแสงไฟไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด (ไฟท้ายต้องเป็นสีแดง ไฟเลี้ยวต้องเป็นสีเหลืองอำพัน)
- ดัดแปลงหรือเพิ่มเติมอุปกรณ์ส่วนควบ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจผู้อื่น เช่น รถกระบะต่อเติมตัวถัง หรือโครงหลังคาเกิน 3 เมตร
- นำวัสดุอื่นใดมาปิดบังแผ่นป้ายทะเบียน
- แขวนหรือติดตุ๊กตาบดบังแผ่นป้ายทะเบียน
- ทำให้ไม่สามารถมองเห็นตัวอักษรตัวเลข หรือจังหวัดได้ชัดเจน
- แก้ไขหรือดัดแปลงตัวเลขบนแผ่นป้ายทะเบียน เช่น ปิดแผ่นทองบนหมายเลขทะเบียน เพิ่มเติม ตัวเลขบนแผ่นป้ายทะเบียนรถ
- ใช้กรอบแผ่นป้ายลายกราฟิกปิดทับแผ่นป้ายทะเบียน
- ตัดแผ่นป้ายทะเบียนรถ
- แก้ไขดัดแปลงขนาดของล้อรถให้ล้นเกินตัวถัง
- อุปกรณ์ส่วนควบไม่มั่นคงแข็งแรง
เปิดวิธีแจ้งเบาะแส ขับรถผิดกฎจราจร
ซึ่งการแจ้งเบาะแส ตามความผิด พ.ร.บ. พ.ศ. 2522 (รถส่วนบุคคล) เราจะได้รับส่วนแบ่งค่าปรับ 50% เลยทีเดียว โดยกรมขนส่งจะจ่ายเงินส่วนแบ่งค่าปรับให้ผู้แจ้ง มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
1. ทำการบันทึกเป็นภาพภาพหรือคลิปวิดีโอ ต้องบันทึกการกระทำความผิดที่ชัดเจน วันเวลา สถานที่เกิดเหตุ รายละเอียดรถ ทะเบียนรถ และอื่น ๆ ให้มากที่สุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามได้อย่างรวดเร็ว
โดยเราต้องระบุชื่อและนามสกุล ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ ช่องทางการติดต่อ และในกรณีเราประสงค์จะขอรับเงินส่วนแบ่งค่าปรับ ให้ระบุหมายเลขบัญชีธนาคารของเราด้วย โดยข้อมูลของเราจะถูกปกปิดเป็นความลับ
2. รวบรวมหลักฐานครบถ้วนแล้ว ก็แจ้งข้อมูลได้ที่
- สายด่วน 1584
- Line@ : @1584DLT
- Facebook: 1584 ร้องเรียนรถโดยสารสาธารณะ
- เว็บไซต์ http://ins.dlt.go.th/cmpweb/ หรือ https://www.dlt.go.th/
- E-mail: dlt_1584complain@hotmail.com
- เดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเอง
- ร้องเรียนผ่านศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐ “GECC 1111 ทำเนียบรัฐบาล” และ “GECC กรมการขนส่งทางบก”
3. รอรับข้อความ SMS ยืนยันการรับแจ้งเรื่องร้องเรียน
4. กรมการขนส่งทางบกจะดำเนินการตามกระบวนสืบข้อเท็จจริงตามที่มีผู้แจ้ง โดยเรียกตัวผู้ถูกร้องเรียนมารายงานตัวและสอบสวนจนได้ข้อยุติ
5. การรับเงินส่วนแบ่งจะได้รับภายหลังจากที่ผู้กระทำความผิดได้ชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบปรับแล้ว จะมีข้อความ SMS ส่งให้ผู้แจ้งทราบผลการดำเนินการและจะดำเนินการโอนเงินส่วนแบ่งค่าปรับภายใน 15 วันทำการ
มาร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่ให้ปลอดภัยกันเถอะ เพราะเทศกาลปีใหม่ หรือเทศกาลสงกรานต์ 2565 นี้ เป็นเทศกาลแห่งความสุข อุบัติเหตุบนท้องถนนต้องลดลงนะ
รถแรงไม่ต้องแซงทุกโค้ง ขับขี่ตามกฎจราจร จะได้ไม่ต้องเสียเงิน
ข้อมูล : กรมการขนส่งทางบก, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.)
ภาพโดย pixel2013 จาก pixabay
ข่าวเกี่ยวข้อง :
- ปีใหม่ 2566 : ทำแบบนี้...เจอโทษหนักแน่!
- ปีใหม่ 2566 : ลืมกันหรือยัง ? เลี้ยวรถไม่เปิดไฟ ผิด พ.ร.บ.จราจร
- ปีใหม่ 2566 : สายเมาแล้วขับ...คิดให้ดี! ไม่ยอมเป่า อย่าคิดว่าจะรอด
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
กดเลย >> community แห่งความบันเทิง
ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี