รีเซต

รวมคู่มือประเมินความเสี่ยงติดโควิด-19 ฉบับกระทรวงสาธารณสุข

รวมคู่มือประเมินความเสี่ยงติดโควิด-19 ฉบับกระทรวงสาธารณสุข
Ingonn
20 เมษายน 2564 ( 13:12 )
4.9K
รวมคู่มือประเมินความเสี่ยงติดโควิด-19 ฉบับกระทรวงสาธารณสุข

สถานการณ์โควิด-19 ตอนนี้น่ากลัวยิ่งกว่าหนังสยองขวัญเสียอีก เพราะเราไม่รู้เลยว่า ออกไปข้างนอกแต่ละครั้งจะเสี่ยงติดเชื้อโควิด กลับมาให้ที่คนที่บ้านรึเปล่า จะเช็คอาการตามที่กระทรวงกำหนด ก็รู้สึกเหมือนเข้าข่ายไปหมดทั้งปวดหัว ตัวร้อน ไม่รู้เพราะเครียดหรือเพราะติดโควิดจริงๆ 

 

 

วันนี้ True ID ขอแนะนำการประเมินความเสี่ยงอย่างถูกต้องและแม่นยำจากกระทรวงสาธารณสุขมาให้ทุกคนลองเช็คอาการกัน

 

 


โควิด-19 เจ้าปัญหา


ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) เป็นเชื้อไวรัสที่สามารถ ก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจ หลังติดเชื้ออาจไม่มีอาการ หรืออาจมีอาการ ตั้งแต่ไม่รุนแรงคือ คล้ายกับไข้หวัดธรรมดา หรืออาจก่อให้เกิดอาการรุนแรง เป็นปอดอักเสบและเสียชีวิตได้

 

โควิด-19 ติดได้จาก 3 รู


เข้าสู่คนผ่านทางการไอ จาม สัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่ง เช่น นํ้ามูก นํ้าลายของคน จึงมี 3 รูที่ต้องระวัง


1.รูน้ำตา
ไม่ขยี้ตา ดวงตามีช่องท่อระบาย นํ้าตาที่เชื้อโรคสามารถผ่านเข้าไปได้


2.รูจมูก
ไม่แคะจมูก เชื้อโรคสามารถเข้าทาง โพรงจมูกสู่ทางเดินหายใจได้


3.รูปาก
ไม่จับปาก ปากเป็นช่องร่วมที่ เชื้อโรคสามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจต่อไป

 

 

 

 

วิธีเช็คอาการติดโควิดฉบับสธ.

 

1. เช็คตัวเอง 


เมื่อรู้ว่าตัวเองเป็น "กลุ่มเสี่ยง" เป็นโรคโควิด-19 สิ่งที่แรกที่ต้องทำคือ สำรวจอาการของตัวเองว่ามีความผิดปกติใดเกิดขึ้นบ้าง เกิดขึ้นเมื่อไร และเขียนไทม์ไลน์ของตัวเองเอาไว้เพื่อใช้ในการใช้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนโรค หรือช่วยประเมินความเสี่ยงในลำดับต่อไป 

โดย "ระดับความเสี่ยง" ผู้สัมผัสผู้ป่วยโควิด-19 มีทั้งหมด 4 ระดับ ได้แก่


สีแดง : ผู้ป่วย 

สีส้ม : เสี่ยงสูง คือ ผู้ใกล้ชิดผู้ป่วย

สีเหลือง : เสี่ยงต่ำ  คือ ผู้ใกล้ชิดผู้สัมผัสเสี่ยงสูง

สีเขียว : ไม่เสี่ยง คือ ผู้ใกล้ชิดผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ

 

 


2. ประเมินความเสี่ยง โดยกรมควบคุมโรค 


เบื้องต้นเมื่อรับรู้ว่าตัวเอง "เสี่ยงติดโควิด" สามารถประเมินความเสี่ยงได้ผ่านการปรึกษา "กรมควบคุมโรค" ซึ่งมีบริการหลายช่องทางให้ประชาชนได้สอบถามข้อมูล และปรึกษาในกรณีที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 โดยเฉพาะ โดยสามารถสอบถามได้ 4 ช่องทาง ได้แก่


- โทรสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
- แอดไลน์ "รู้กันทันโรค"
- CHATBOT คร.OK
- Facebook กรมควบคุมโรค

 

 3. ปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด 


สีแดง : ผู้ป่วย จะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล


สีส้ม : เสี่ยงสูง ต้องตรวจโควิด-19 เพื่อให้แน่ใจ/กักตัว 14 วันเพื่อสังเกตอาการ
ผู้เข้าข่ายเสี่ยงติดโควิดสูง (สีส้ม) คือผู้ที่อยู่ในสภาวะ สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 ตามลักษณะข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้

 

สีเหลือง : เสี่ยงต่ำ แยกออกเป็น 2 กรณี คือ 
1. กรณี (ส้ม) ติดโควิด ให้กักตัวสังเกตอาการ/ไปตรวจโควิด-19
2. กรณี (ส้ม) ไม่ติดโควิด ไม่ต้องกักตัว แต่ให้ระมัดระวังหลีกเลี่ยงความเสี่ยง


สีเขียว: ไม่เสี่ยง เช็คอาการตัวเองเป็นระยะ (เหลือง) แต่ไม่ต้องกักตัว ไม่ต้องตรวจโควิด-19

 

 

สำหรับผู้ที่เข้าข่าย "ความเสี่ยงสูง" ควรเข้ารับการตรวจโควิด-19 กับโรงพยาบาลที่ตนเองมีสิทธิรักษา โดยสามารถเช็คสิทธิการรักษาพยาบาลของตัวเองได้ที่ "สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ" 

 

1. เข้าเว็บไซต์ของ "สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ" หรือ "สปสช." หรือ www.nhso.go.th หรือ คลิกที่นี่


2. เลือกเมนู "ตรวจสอบสิทธิ" ระบบบริการตรวจสอบสิทธิประกันสุขภาพด้วยตนเอง 

 


3.หรือหากเข้าเกณฑ์เป็นผู้ป่วยโควิด-19 สามารถรักษาได้ฟรี

 

 

4.ทำแบบประเมินความเสี่ยง


แบบประเมินความเสี่ยงก่อนมาโรงพยาบาลต่อการติดเชื้อ COVID-19 และรับรหัสพบแพทย์ ONLINE จากโรงพยาบาลราชวิถีและกรมการแพทย์
ซึ่งแบบสอบถามนี้ เป็นการประชาสัมพันธ์การดูแลตนเองให้ปลอดภัย และลดการมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น สำหรับประชาชนทั่วไป


>>> คลิกทำแบบประเมิน <<<

 


5.ก่อนติดโควิด ต้องเช็คสุขภาพจิตใจด้วย


แบบคัดกรองความกังวลต่อไวรัส COVID-19 จากกรมสุขภาพจิต พัฒนาขึ้นเพื่อใช้คัดกรองผู้ที่มีความกังวลต่อไวรัส COVID-19 เพื่อให้สามารถช่วยเหลือและหาวิธีลดความกังวลอย่างเหมาะสม โดยไม่ใช่การวินิจฉัยหรือบ่งบอกว่ามีความเจ็บป่วยหรือมีความผิดปกติทางจิตแต่อย่างใด


โดยพิจารณาจากระยะเวลา 2 สัปดาห์ที่ผ่านมามีความคิดและพฤติกรรมอย่างไรบ้าง


>>> คลิกทำแบบคัดกรอง <<<

 

 

 

 


ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข , กรมสุขภาพจิต , โรงพยาบาลราชวิถี , สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ , กรุงเทพธุรกิจ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง