ไขข้อสงสัย! ฉีดวัคซีนโควิด-19 กับความจำเป็นของเข็มที่ 3 ?
ประเด็นร้อนไม่แพ้เตียงที่หลายคนสนใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หลังจากที่สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 รุนแรงหนักมากขึ้นเรื่อย ๆ ตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อในช่วง 2-3 วันมานี้แตะอยู่ที่หลัก 5-6 พันแล้ว ส่งผลให้ประชาชนหลายกลุ่มเกิดคำถามว่า "เมื่อไหร่จะได้ฉีดวัคซีน?" "ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มยังจำเป็นต้องฉีดเข็ม 3 หรือไม่?"
ทั้งนี้ วัคซีนโควิด-19 ถือเป็นเรื่องใหม่สำหรับทั่วโลก แม้กระทั่ง อิสราเอล ประเทศแรกที่ได้รับคำชื่นชมว่าเป็นผู้นำโลกในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิดจนทำให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตเกือบปกติได้อีกครั้ง และถอดหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะได้ แต่ท้ายสุดไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ Delta หรือสายพันธุ์อินเดียที่ได้ขึ้นชื่อว่า ระบาดง่ายและเร็วเล่นงานอิสราเอล ส่งผลทำให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่พุ่ง 307 คนในวันพุธที่ 30 มิถุนายน สูงสุดในรอบ 3 เดือน และเพิ่มจาก 293 คนเมื่อวันก่อนหน้า และคาดว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจะทะยานขึ้นอีกในไม่กี่วันข้างหน้านี้ จนต้องเร่งฉีดวัคซีนให้เด็ก และเลื่อนการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวออกไปจากเดิม 1 กรกฎาคม เป็น 1 สิงหาคมในที่สุด เนื่องจากกังวลไวรัสระบาดหนัก
และไม่เพียงแค่ประเทศอิสราเอลเท่านั้น สหรัสอเมริกา ออสเตรเลีย แม้ประชาชนจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว แต่โอกาสในการกลับมาติดเชื้อโควิดอีกครั้งได้ตลอดเช่นกัน รวมถึงประเทศไทยที่ยังพบคนที่ฉีดวัคซีนไปแล้วโอกาสที่จะกลับมาติดเชื้อย่อมเกิดขึ้นได้อีกครั้ง หากยังขาดการตระหนักในการป้องกัน หรือที่เรียกกันว่า "การ์ดตก" ไม่สวมหน้ากากอนามัยให้ถูกต้อง ไม่สวมหน้ากากตลอดเวลา ไม่ล้างมือบ่อย ๆ ไปในพื้นที่เสี่ยง จึงไม่แปลกที่อาจจะเป็นไปได้ที่จะกลับมาติดเชื้อโควิดอีกครั้ง แม้จะฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 แล้ว หรือฉีดครบ 2 เข็ม หรือต่อให้ฉีดชนิดเดียวกัน หรือต่างชนิดเดียวกันแล้วก็ตาม
ทำไม? ฉีดวัคซีนต้านโควิดไม่จบที่ 2 เข็ม
ทั้งนี้ เพจเฟซบุ๊ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ระบุถึงกรณีการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 1 และ 2 ต่างชนิดกัน และความจำเป็นของเข็มที่ 3 เป็น 4 ข้อที่น่าสนใจ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ที่ได้รับวัคซีน หรือผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ดังนี้
1. วัคซีนโควิด-19 เป็นวัคซีนใหม่ ในขณะที่แนะนำให้ฉีดชนิดเดียวกันทั้ง 2 เข็ม โดยทั่วไปอาการข้างเคียงหลังฉีดเข็มที่ 2 มักน้อยกว่าเข็มแรก
2. มีข้อยกเว้นในกรณีแพ้ หรือมีอาการข้างเคียงรุนแรงจากการฉีดวัคซีนเข็มแรก สามารถให้วัคซีนต่างชนิดกันได้เข็มที่ 2
3. การศึกษาวิจัยพบว่า การให้วัคซีน 2 เข็มต่างชนิดกัน คือ สลับระหว่างวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าและวัคซีนชนิด mRAN กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี แต่อาจจะมีผลข้างเคียงมากกว่าการใช้วัคซีนชนิดเดียวกันทั้ง 2 เข็ม
4. ยังไม่มีข้อมูลสรุปได้ว่าควรให้วัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อกระตุ้นเมื่อใด และใช้วัคซีนชนิดไหน เป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิด ถ้าต่างชนิดควรใช้อะไรก่อนหลังทั้งหมดเป็นเรื่องที่ต้องวิจัยเพิ่มเติม
และแม้ว่าการฉีดวัคซีนโควิดเป็นเรื่องที่ใหม่ ทั่วประเทศยังต้องวิจัยพร้อมรับมือสถานการณ์โรคระบาดที่ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อไหร่ ซึ่งจากสถานการณ์ในอิสราเอลถือเป็นการถอดบทเรียนที่สะท้อนให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และ 2 เป็นเสมือนเกราะเพิ่มภูมิคุ้มกันป้องกันโควิด ลดความรุนแรงของเชื้อได้บ้าง ส่วนเข็มที่ 3 ก้รอลุ้นกันต่อไป แต่สิ่งสำคัญจริง ๆ คือ ประชาชนทุกคนยังต้องมีวินัยในการป้องกันโควิด ด้วยการใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม ไม่ไปพื้นที่เสี่ยง เกราะป้องกันขั้นพื้นฐานขั้นแรกที่ต้องใส่ใจ ต้องทำอย่างจริงจังเพื่อป้องกันตัวเองและคนในครอบครัว ส่วนการฉีดวัคซีนเป็นฉุดเกราะอีกชั้นในการต่อสู้โควิดให้ลดความรุนแรง แต่หากให้กลับสู่ภาวะปกติเหมือนเช่นเดิมยังเป็นเรื่องใหม่ และยังเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่อาจคาดการณ์ได้
สิ่งที่ทำได้เลยคือ ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม ไม่ไปพื้นที่เสี่ยง เรื่องสำคัญไม่แพ้กันกับการยังต้องรอรับวัคซีนที่ยังมาไม่ถึง หรือฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และ 2 แล้วก็ยังต้องพึงนึกไว้เสมอว่า "ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนกี่เข็มก็กลับมาติดเชื้อโควิดได้อีกครั้ง"
ข้อมูล : TNN World
ข่าวเกี่ยวข้อง :
- เคยติดโควิด-19 แล้ว ต้องฉีดวัคซีนอีกทีเมื่อไหร่
- อัปเดตวัคซีนโควิดอะไรบ้าง? ขึ้นทะเบียนในไทยแล้ว-ไฟเซอร์ อย.อนุมัติแล้ว
- "วัคซีนป้องกันโควิดกลายพันธุ์" ที่ไทยต้องมีต้านสายพันธุ์เดลต้า-อัลฟา ที่ระบาดหนัก!
- "วัคซีนป้องกันโควิดกลายพันธุ์" ที่ไทยต้องมีต้านสายพันธุ์เดลต้า-อัลฟา ที่ระบาดหนัก!
- เปิดผลวิจัยหลังคนไทย ฉีดวัคซีน "ซิโนแวค" เข็ม 2 ต้านโควิดกว่า 50%
- ทำไม? 'หน้ากากผ้า' ป้องกันโควิด-19 ไม่ได้แล้ว
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก