รีเซต

นักวิทยาศาสตร์พบวิธีเปลี่ยนขยะเป็นยา

นักวิทยาศาสตร์พบวิธีเปลี่ยนขยะเป็นยา
TNN ช่อง16
24 กรกฎาคม 2568 ( 11:07 )
37

นวัตกรรมเปลี่ยนโลก นักวิทยาศาสตร์ เปลี่ยนขยะพลาสติก เป็นยาพาราเซตามอลแก้ปวด ด้วยการใช้แบคทีเรียดัดแปลงพันธุกรรม

นอกจากจะเป็นการค้นพบที่พลิกโฉมวงการแพทย์แล้ว นักวิทยาศาสตร์ บอกว่า วิธีที่พวกเขาค้นพบนี้ ยังช่วยลดปัญหาขยะฝังกลบ ที่ส่งผลเสียของสิ่งแวดล้อมด้วย

พวกเขาทำได้อย่างไร?

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ ประเทศอังกฤษ เป็นคนพัฒนานวัตกรรมสุดน่าทึ่ง เปลี่ยนขวดน้ำและบรรจุภัณพ์อาหารที่ทำจากพลาสติก ให้กลายมาเป็นยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดที่พวกเราต่างกันคุ้นเคยกันดี 

วิธีการคือ พวกเขาใช้ แบคทีเรีย E.coli ที่ดูดดัดแปลงพันธุกรรมแล้ว เป็นตัวย่อยสลายพลาสติก กลายเป็นกรดเทเรฟทาลิก

ขั้นตอนหลังจากนี้ต้องใช้ความซับซ้อนเป็นพิเศษ พวกเขาจะแปรสภาพกรดเทเรฟทาลิกเป็นสารตั้งต้นชนิดหนึ่ง ไปผ่านปฏิกิริยาเคมี เปลี่ยนองค์ประกอบเป็นสารอีกหนึ่งชนิด ชื่อว่า กรดพารา-อะมิโนเบนโซอิก ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย 

กรดพารา-อะมิโนเบนโซอิก ที่สุดท้ายแล้วจะเปลี่ยนไปเป็น พาราเซตามอล 

ที่น่าทึ่งคือ กระบวนกลายสภาพสารั้งหมดนี้ ที่มีประสิทธิภาพสูงถึง 90 เปอร์เซนต์ โดยพลาสติกที่ย่อยแล้วสามารถเปลี่ยนเป็นพาราเซตามอลได้เกือบทั้งหมด

กระบวนการที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบนี้ แทบจะไม่มีการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ใช่กระบวนการผลิตจากน้ำมันหรือเชื้อเพลิงสักนิด แถมใช้เวลาเพียงแค่ 24 ชั่วโมง ในห้องที่ไม่ต้องควบคุมอุณหภูมิ อีกด้วย

การเปลี่ยนขยะพลาสติกกลับให้มาเป็นยา ยังช่วยลดปริมาณขยะฝังกลบ ที่ย่อยสลายยาก หนึ่งในสาเหตุของภาวะโลกร้อน 

แม้กระบวนการนี้จะยังไม่พร้อมสำหรับการผลิตยาในระดับอุตสาหกรรม แต่ก็เป็นการค้นพบที่สำคัญ ที่อาจจะช่วยให้การผลิตยาไม่ต้องพึ่งทรัพยากรมากในอนาคต

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง