รีเซต

รู้จัก! โลมาอิรวดี รอยยิ้มแห่งแม่น้ำโขง

รู้จัก! โลมาอิรวดี รอยยิ้มแห่งแม่น้ำโขง
TeaC
19 กุมภาพันธ์ 2565 ( 16:13 )
831

ข่าววันนี้ อีกหนึ่งข่าวเศร้า! เมื่อ โลมาอิรวดี ตัวสุดท้ายในแม่น้ำโขงทางตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชาตายแล้ว ซึ่งโลมาอิรวดีตัวดังกล่าวพบเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ที่ริมฝั่งแม่น้ำใน จ.สตึงเตรง ใกล้ชายแดนลาว กรมอนุรักษ์ทรัพยากรประมงของกัมพูชาประกาศบนหน้าเพจเฟซบุ๊ก

 

โลมาอิรวดี หรือที่รู้จักในชื่อโลมาแม่น้ำโขง ถูกจัดอยู่ในกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ สำหรับโลมาอิรวดีกลุ่มอื่นๆ พบอยู่ในบริเวณปลายน้ำโขงในกัมพูชา และในแม่น้ำ 2 แห่ง คือ แม่น้ำอิรวดีของพม่า และแม่น้ำมหาคำของอินโดนีเซีย บนเกาะบอร์เนียว วันนี้จะไปพาไปทำความรู้จักกันให้มากขึ้น

 

รู้จัก! โลมาอิรวดี รอยยิ้มแห่งแม่น้ำโขง 

 

สำหรับประวัติ โลมาอิรวดี ตามข้อมูลจากเว็บไซต์วิกิพีเดีย ระบุว่า โลมาอิรวดี หรือ โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง (อังกฤษ: Irrawaddy dolphin, Ayeyarwaddy dolphin; ชื่อวิทยาศาสตร์: Orcaella brevirostris) เป็นโลมาชนิดหนึ่ง อยู่ในวงศ์โลมามหาสมุทร (Delphinidae) รูปร่างหน้าตาคล้ายโลมาทั่วไป แต่มีลักษณะเด่นคือ

  • หัวที่มนกลมคล้ายบาตรพระ
  • ลำตัวสีเทาเข้ม แต่บางตัวอาจมีสีอ่อนกว่า
  • ตามีขนาดเล็ก ปากอยู่ด้านล่าง ครีบข้างลำตัวแผ่กว้างเป็นรูปสามเหลี่ยม
  • ครีบบนมีขนาดเล็กมาก
  • มีรูปทรงแบนและบางคล้ายเคียว
  • มีขนาดประมาณ 180–275 เซนติเมตร
  • น้ำหนัก 3.21 กิโลกรัม

 

มีการกระจายอย่างกว้างขวางในมหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวไทย มักพบเข้ามาอยู่ในแหล่งน้ำกร่อยและทะเลสาบหรือน้ำจืด เช่น บริเวณปากแม่น้ำ โลมาอิรวดีบางกลุ่มอาจเข้ามาอาศัยอยู่ในแม่น้ำสายใหญ่ ๆ ด้วย เช่น แม่น้ำโขง ทะเลสาบเขมร ใน พ.ศ. 2459 มีรายงานว่าพบอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยา และเคยมีผู้จับได้ที่คลองรังสิต ในเขตปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร

 

พบโลมาอิรวดีครั้งแรก

โลมาอิรวดีได้รับการค้นพบครั้งแรกที่แม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า จึงเป็นที่มาของชื่อ ปัจจุบันในน้ำจืด สามารถพบได้ 5 แห่ง คือ

 

  • ทะเลสาบจิลิกา ประเทศอินเดีย
  • ทะเลสาบสงขลา
  • ปากแม่น้ำบางปะกง
  • แม่น้ำโขงและแม่น้ำมาฮากัม ประเทศอินโดนีเซีย

 

โดยสถานที่ที่พบได้น้อยที่สุดและถือเป็นแหล่งวิกฤตที่สุดคือทะเลสาบสงขลาในส่วนที่เป็นน้ำจืดหรือน้ำกร่อย หรือที่เรียกว่า ทะเลน้อย โลมาอิรวดีตัวสุดท้ายที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศลาวเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 หลังจากติดอวนจับปลาของชาวประมงในพื้นที่ เท่ากับเป็นการสูญพันธุ์จากประเทศลาวอย่างเป็นทางการ

 

วงจรชีวิตของโลมาอิรวดี

มีพฤติกรรมพบได้บริเวณที่มีน้ำขุ่น สามารถอยู่ใต้ผิวน้ำได้นานถึง 70–150 วินาที แล้วจะโผล่ขึ้นมาหายใจสลับกัน ออกลูกครั้งละ 1 ตัว ตั้งท้องนาน 9 เดือน ลูกที่เกิดมามีขนาดร้อยละ 40 ของตัวโตเต็มวัย อาหารได้แก่ กุ้ง ปลา และหอยที่อยู่บนผิวน้ำและใต้โคลนตม สถานภาพจัดอยู่ในบัญชีประเภทที่ 1 ของไซเตส (Appendix I) คือ ห้ามซื้อขาย ยกเว้นมีไว้ในการศึกษาและขยายพันธุ์

 

โลมาอิรวดีมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก เช่น "โลมาหัวบาตรมีครีบหลัง", "โลมาน้ำจืด", "โลมาหัวหมอน" ในภาษาใต้ และ "ปลาข่า" (ປາຂ່າ) ในภาษาลาว เป็นต้น

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง