รีเซต

เด็กเล็กต้องเตรียมฉีดวัคซีนอะไรบ้าง ระหว่างรอวัคซีนโควิดสิ้นปีนี้

เด็กเล็กต้องเตรียมฉีดวัคซีนอะไรบ้าง ระหว่างรอวัคซีนโควิดสิ้นปีนี้
Ingonn
1 กรกฎาคม 2564 ( 18:14 )
129
เด็กเล็กต้องเตรียมฉีดวัคซีนอะไรบ้าง ระหว่างรอวัคซีนโควิดสิ้นปีนี้

 

ในช่วงนี้พ่อแม่หลายคนแทบกังวลจนใจจะสลาย เมื่อมีข่าวว่าเด็กติดโควิด-19 เพิ่มมากขึ้นทุกวัน รวมถึงอายุน้อยลงเรื่อยๆ ล่าสุดมีข่าวติดที่ศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งเด็กอายุเพียง 3 ขวบ ติดโควิดก็เป็นเรื่องที่น่าตกใจมากแล้ว เนื่องจากทางภาครัฐเริ่มให้มีการเปิดเทอมในบางพื้นที่จึงเป็นสาเหตุหลักๆที่ทำให้โควิดระบาดไปถึงเด็กเล็ก และเด็กเหล่านี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโควิดไว้ฉีดอีกด้วย

 

แต่ล่าสุด เป็นข่าวดีมาก เมื่อ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan โดยระบุว่า โควิด-19 วิกฤตโรค จะลดน้อยลง เด็กจะต้องมีภูมิต้านทานด้วย ขณะนี้มีการศึกษา วัคซีนที่จะใช้ในเด็กรายการป้องกันหรือให้เกิดภูมิต้านทานขึ้น และคาดว่าภายในสิ้นปีนี้ หรืออย่างช้า เด็กอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จะได้มีวัคซีนใช้แน่นอน เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันกลุ่มในทุกวัย

 

 

 

 

วันนี้ TrueID จึงได้รวบรวมวิธีการสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็ก เมื่อยังไม่มีวัคซีนโควิด-19 และต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง ระหว่างรอการวิจัยวัคซีน ซึ่งวัคซีนที่ต้องฉีด ล้วนเป็นวัคซีนสำคัญมากสำหรับเด็ก

 

 

 

ทำไมเด็กถึงยังไม่มีวัคซีนโควิด-19


จากข้อมูลหรือผลการศึกษาการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ยังมีไม่มาก และยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา ซึ่งในกลุ่มผู้ที่มีอายุน้อย และกลุ่มประชากรเด็ก ความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่ามาก และมีจำนวนมากติดเชื้อแบบไม่มีอาการหรือมีอาการเป็นเพียงแค่หวัดเล็กน้อย แต่สามารถแพร่กระจายโรคได้ จะลดการระบาดของโรคให้ได้มากที่สุด จึงต้องให้ผู้ที่มีอายุน้อย วัยรุ่น และเด็ก มีภูมิต้านทานเพื่อป้องกันการระบาดของโรค ภูมิต้านทานหมู่จะเกิดขึ้นได้ จึงต้องรวมประชากรกลุ่มเด็กด้วย

 

 

เมื่อยังไม่สามารถฉีดวัคซีนให้กับเด็กๆ ได้ในตอนนี้ เราจึงควรรู้วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กๆ กันก่อน

 

 

วิธีการสร้างภูมิคุ้มกันเด็กระหว่างรอวัคซีน


1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่


2.พักผ่อนให้เพียงพอ


3.หลีกเลี่ยงสถานที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ หรือมีผู้คนแออัด


4.ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการติดเชื้อ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ

 


นอกจากนี้ การฉีดวัคซีนโควิด-19 ในกลุ่มผู้ใหญ่หรือผู้ปกครอง ยังเป็นการลดการแพร่เชื้อสู่เด็กได้อีกด้วย ดังนั้นพ่อแม่ ผู้ปกครองจึงควรเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครบตามมาตรฐานการป้องกันโควิด

 

 

 

ใช้วัคซีนอื่น ป้องกันโควิด-19 ให้เด็กก่อนได้ไหม?


สำหรับวัคซีนที่ป้องกันแทนได้โดยตรงยังไม่มี แต่ในเด็กทุกคนต้องได้รับวัคซีนป้องกันโรคตั้งแต่แรกเกิดมาเรื่อยๆ ตามช่วงวัยอยู่แล้ว นอกจากนั้นยังมีวัคซีนเสริมที่สามารถป้องกัน และลดการติดเชื้อแทรกซ้อนรุนแรงของระบบทางเดินหายใจได้

 

 


การฉีดวัคซีนของเด็กในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19


ในช่วง 4 ปีแรกของทารกและเด็ก มีความจำเป็นต้องได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากโรคต่าง ๆ เป็นระยะ แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้ปกครองไม่สามารถพาเด็กไปรับวัคซีนได้ตามกำหนด จึงมีข้อแนะนำการเลื่อนฉีดวัคซีนของทารกและเด็ก ดังต่อไปนี้

 

 

วัคซีนที่ต้องฉีดตามกำหนดเดิม


1.วัคซีนเพื่อป้องกันการติดเชื้อกายหลังสัมผัสโรค เช่น โรคพิษสุนัขบ้าโรคบาดทะยัก โรคอีสุกอีใส

 


2.วัคซีนสำหรับทารกแรกเกิด เช่น วัคซีนป้องกันวัณโรค และวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี

 

 

วัคซีนที่เลื่อนอออกได้ 1-2 สัปดาห์


เป็นวัคซีนชุดแรก (Primary series) ในช่วง 2 ปีแรก ได้แก่


1.วัคซีนในช่วง 6 เดือนแรก เช่น วัคซีนเข็มรวมของคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน ฮิบ และตับอักเสบบี วัคซีนโปลิโอ วัคซีนโรต้า วัคซีนนิวโมคอคคัส

 


2.วัคซีนในช่วง 9-18 เดือน เช่น วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม

 

3.วัคซีนไข้หวัดใหญ่

 


วัคซีนที่เลื่อนออกได้ 2-4 สัปดาห์


เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น ได้แก่ วัคซีนในช่วง 1 ปี 6 เดือน – 4 ปี ได้แก่ วัคซีนรวมของคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน และโปลิโอ ครั้งที่ 4 และ 5, วัคซีนนิวโมคอคคัส ครั้ง 3 หรือ 4, วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ และวัคซีนอีสุกอีกใส

 

 

วัคซีนที่เลื่อนได้มากกว่า 1 เดือน หรือรอเหตุการณ์สงบ


ได้แก่ ว้คซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก และวัคซีนคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ในเด็กโต

 

 

 

โอกาสในการติดเชื้อโควิดของเด็กเท่ากับผู้ใหญ่ไหม?


ทุกกลุ่มอายุมีโอกาสเสี่ยงติดโควิด-19 ได้ทั้งหมด แต่ในกลุ่มเด็กที่มีความเสี่ยงว่าจะเกิดอาการรุนแรง คือ กลุ่มที่อายุน้อยกว่า 1 ปี โดยรวมแล้วเด็กจะมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ ปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในเด็กอยู่ที่ ประมาณ 8% แต่หากไวรัสมีการกลายพันธุ์ อาจจะมีการแพร่เชื้อมากขึ้น เปอร์เซ็นการติดเชื้อในเด็กก็อาจจะมากขึ้นได้เช่นกัน

 

 

 

ข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan , โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ สภากาชาดไทย , โรงพยาบาลพญาไทย

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง