เปิดมาตรการปราบโควิด-19 ในโรงเรียนรับเปิดเทอม
เข้าสู่การเปิดเทอมยุคโควิด-19 อีกครั้ง การเตรียมความพร้อมในสถานการณ์ที่โควิดกำลังแพร่ระบาดอย่างรุนแรงจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทางโรงเรียนและผู้ปกครองควรให้ความใส่ใจ เพราะบุตรหลานต้องเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายเมื่อไปโรงเรียน โดยล่าสุดทางกระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมมือกับทางจุฬาฯ แก้วิกฤตด้วยการเริ่มฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้ครู และนักเรียนในกทม.ก่อน
ไม่เลื่อนเปิดเทอม! ศบค.แบ่งโซนพื้นที่ - สีแดงเข้ม 4 จังหวัด งดเรียน On site
พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. เปิดเผยถึงมาตรการแนวปฏิบัติของสถานศึกษาเพื่อดำเนินการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เพื่อเตรียมพร้อมเปิดเรียนในวันที่ 14 มิ.ย.64 ตามกำหนดเดิม โดยมีมาตรการแนวปฏิบัติแบ่งพื้นที่ตามโซนสี
จัดการเรียนการสอน 4 แบบ โดยเลือกตามความเหมาะสม ดังนี้
- On-Air คือ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือครูตู้ โดยใช้สื่อของ DLTV
- On-Demand คือ เรียนผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ
- Online คือ เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต
- On-Hand คือ เรียนที่บ้านด้วยเอกสาร เช่น หนังสือแบบฝึกหัดใบงาน
ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On site และงดใช้อาคารหรือสถานที่เพื่อการจัดการเรียนกรสอน การสอบ การฝึกอบรม หรือการทำกิจกรรมใด ๆ ที่มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมากและมีโอกาสติดต่อสัมผัสกันได้ง่ายทำให้เสี่ยงต่อการแพร่โรค ส่วนที่เหลือ 56 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุม หรือ 'พื้นที่สีส้ม' เปิดเรียนได้ตามมาตรการ
วันนี้ True ID ได้รวบรวมแนวทางการปฏิบัติสำหรับครู นักเรียน และผู้ปกครองในช่วงการเปิดเทอมที่ต้องเฝ้าระวังโควิด-19 มาไว้ให้แล้ว
อาการของโควิด-19 ในเด็ก (ไอ มีไข้หายใจถี่)
อาการของโควิด-19 จะมีอาการไอหรือมีไข้คล้ายกับไข้หวัดใหญ่หรือโรคไข้หวัดทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดามาก หากมีเด็กป่วยควรแจ้งผู้ปกครองพาเด็กกลับบ้าน หากผู้ปกครองยังไม่สามารถรับเด็กกลับได้ในทันที ควรจัดให้เด็กพักในห้องพยาบาลที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี อยู่ห่างจากเด็กคนอื่นๆ ป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น ให้เด็กสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ และครูผู้ดูแลต้องสวมหน้ากากอนามัยและมีวิธีป้องกันตนเอง เฝ้าสังเกตอาการ แจ้งให้รพ.สต. หรือโรงพยาบาลในพื้นที่ทราบ
เมื่อนักเรียนขาดเรียน ขอให้ครูมอบหมายให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ต่อเนื่องขณะอยู่ที่บ้าน อธิบายผู้ปกครอง และนักเรียนให้เข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้นอย่างง่าย สร้างความมั่นใจให้นักเรียนและผู้ปกครองว่าจะมีความปลอดภัย รวมทั้งขอคำแนะนำทางการแพทย์ โดยการประสานไปยังสถานบริการสุขภาพ
ตัวอย่างระบบคัดกรองในโรงเรียน
ระยะเตรียมการก่อนเปิดเรียน
1.ตรวจสอบสถานที่ ซ่อมแซม ปรับปรุง ทำาความสะอาด อาคาร เรียน ห้องเรียน ตู้ โต๊ะ เก้าอี้ อุปกรณ์การเรียนการสอน อุปกรณ์กีฬา เครื่องเด็กเล่น ห้องน้ำา ห้องส้วม ห้องครัวและอุปกรณ์ โรงอาหาร สถานที่ รับประทานอาหาร และอื่นๆที่ครู นักเรียน อยู่ร่วมกันและมีพื้นที่สัมผัส
2.ตรวจสอบอ่างล้างมือให้มีเพียงพอ อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน รวมถึงสบู่ล้างมือที่เพียงพอ
3.จัดสถานที่เพื่อเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เช่น การเข้าแถว การเข้าคิว การจัดที่นั่งเรียน การจัดที่นั่งรับประทานอาหาร ตามมาตรการ เว้นระยะห่างทางกายภาพ (Physicial Distancing)
- จัดโต๊ะเรียน โต๊ะรับประทานอาหารกลางวัน และโต๊ะทำงานครู ให้มีระยะห่าง
- ทำสัญลักษณ์เพื่อเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล เช่น จุดตรวจวัดไข้ ก่อนเข้าโรงเรียน แถวรับอาหารกลางวัน จุดล้างมือ เป็นต้น
- เหลื่อมเวลาพักรับประทานอาหารกลางวัน
4. สำหรับเด็กเล็กที่ยังต้องนอนกลางวัน หรือโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล ที่มีโรงนอน ให้รักษาระยะห่างระหว่างกันอย่างน้อย 1 เมตร โดยไม่เอา ศีรษะชนกันและแยกอุปกรณ์เครื่องใช้เป็นของส่วนตัว ไม่ใช้ร่วมกัน กรณี หากมีเด็กป่วยให้หยุดอยู่กับบ้าน
5. แจ้งผู้ปกครองที่บุตรหลานมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก เหนื่อยหอบ หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยงและอยู่ในช่วงกักกัน ให้ หยุดเรียน รวมทั้งขอความร่วมมือกรณีที่มีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรค ติดเชื้อโควิด-19 หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยงและอยู่ในช่วงกักกัน ให้ปฏิบัติตัว ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
วันเปิดภาคเรียน
1.จัดทำประวัตินักเรียนและครอบครัวเกี่ยวกับสุขภาพ ความเป็นอยู่ในครอบครัว ความเจ็บป่วย โรคประจำตัวและการมีโอกาสสัมผัสผู้ติดเชื้อ โควิด-19 หรือโรคติดต่ออื่นๆหรือไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงมาก่อนในวันเปิดเรียน
2. คัดกรองเด็กนักเรียนบริเวณทางเข้าโรงเรียน ด้วยการดูจากอาการ เบื้องต้นหรือใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกาย พร้อมทำสัญลักษณ์นักเรียนที่ ผ่านการคัดกรอง เช่น ติดสติกเกอร์ ตราปั๊ม หรืออื่นๆตามความเหมาะสม
หากพบว่ามีเด็กป่วย หรือมีไข้ ไอ จาม มีน้ำามูก หายใจเหนื่อย หอบ ให้ผู้ปกครองพาไปพบแพทย์
3.จัดเตรียมอุปกรณ์ล้างมือ เช่น เจลแอลกอฮอล์ไว้บริเวณทางเข้า สถานที่ล้างมือด้วยสบู่และน้ำ ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี รวมทั้งส่งเสริมให้ล้างมือเป็นประจำด้วยน้ำและสบู่
4.ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวโรงเรียนทุกวัน อย่างน้อยวันละครั้ง โดยเฉพาะพื้นผิวที่หลายคนสัมผัส เช่น ราวบันได โต๊ะอาหาร อุปกรณ์กีฬา ที่จับประตู หน้าต่าง ของเล่น เครื่องช่วยสอน อุปกรณ์ การเรียน เป็นต้น
- ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ หรือน้ำายาซักผ้าขาว 2 ฝา ต่อน้ำ 1 ลิตร (โซเดียม ไฮโปคลอไรท์20 มิลลิลิตร ต่อน้ำา 1 ลิตร) สำหรับการฆ่าเชื้อพื้นผิว
- ใช้เอทิลแอลกอฮอล์(Ethyl Alcohol) 70% สำหรับการเช็ด ฆ่าเชื้อโรคของชิ้นเล็กๆ
5.กำจัดขยะอย่างถูกวิธีทุกวัน
6.ควรจัดพื้นที่เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร เช่น การเข้าแถวหน้าเสาธง การนั่งเรียนในห้องเรียน ห้องประชุม โรงอาหาร เป็นต้น
7.ลดความแออัดของเด็กนักเรียน เช่น เหลื่อมเวลาช่วงรับประทาน อาหาร ยกเลิกกิจกรรมที่มีการสัมผัสและใกล้ชิดกัน
ข้อควรปฏิบัติสำหรับโรงเรียน ในสถานการณ์โควิด-19
คำแนะนำสำหรับผู้บริหารโรงเรียน ครูและบุคลากร
1. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง
2. หากครู ผู้ดูแลนักเรียนมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำามูก หรือหายใจเหนื่อยหอบให้พบแพทย์และหยุดปฏิบัติงานจนกว่าอาการจะหายดีหากกลับจากพื้นที่ เสี่ยงและอยู่ในช่วงกักกันให้หยุดปฏิบัติงานจนกว่าอาการ จะครบ 14 วัน กรณีมีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคติดเชื้อ โควิด-19 หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยงและอยู่ในช่วงกักกัน ให้ ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
3. ส่งเสริมให้นักเรียน เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงาน ทุกคนล้างมืออย่างถูกวิธีด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม และหลังเล่น กับเพื่อน หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น
4. สอนและส่งเสริมให้นักเรียนมีของใช้ส่วนตัว เช่น แก้วน้ำ แปรงสีฟัน อุปกรณ์รับประทานอาหาร ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น
5. ให้ความรู้คำแนะนำ หรือจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์ การป้องกันและลดความเสี่ยงจากการแพร่กระจายเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ให้แก่นักเรียน เช่น สอนวิธีการล้างมือที่ถูกต้อง การใส่หน้ากาก คำแนะนำในการปฏิบัติตัว เป็นต้น
6. ควบคุมดูแล การจัดชั้นเรียน ที่นั่งในโรงอาหาร ถ้าเป็นไปได้ให้มีระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร หรือเหลื่อมเวลาในการพักรับประทานอาหารกลางวัน
คำแนะนำสำหรับนักเรียน
1. สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง
2. ถ้ามีไข้ ไอ จาม เป็นหวัด หายใจเหนื่อยหอบ แจ้งผู้ปกครองให้พาไปพบแพทย์และหยุดเรียนจนกว่า อาการจะหายดี
3. ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการหวัด มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก
4. ล้างมือด้วยสบู่และน้ำบ่อย ๆ ก่อนรับประทาน อาหาร หลังใช้ส้วม และหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัส ใบหน้า ตาปาก จมูก โดยไม่จำเป็น อาบน้ำทันทีหลัง กลับจากโรงเรียน หลังเล่นกับเพื่อน และหลังกลับจาก นอกบ้าน
5. ให้นักเรียนเลือกกินอาหารปรุงสุกใหม่ โดย ใช้อุปกรณ์ส่วนตัว เช่น แก้วน้ำ ช้อน ส้อม
6. มีอุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัวเฉพาะบุคคล เช่น ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว แปรงสีฟัน ฯลฯ
7. หลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่แออัดหรือ สถานที่ที่มีการรวมกันของคนจำนวนมาก หากจำเป็น ควรสวมหน้ากากอนามัย
8. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการกินอาหาร ครบ 5 หมู่ และผัก ผลไม้ 5 สีเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ออกกำลังกายอย่างน้อย 60 นาทีทุกวัน และนอนหลับ ให้เพียงพอ 9-11 ชั่วโมง/วัน
9. ให้รักษาระยะห่าง การนั่งเรียน นั่งรับประทาน อาหาร เล่นกับเพื่อน อย่างน้อย 1 เมตร
คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็ก
1. หากบุตรหลานมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำามูก หรือเหนื่อยหอบให้พาไปพบแพทย์และหยุดเรียน จนกว่าอาการจะหายดี หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยงและอยู่ใน ช่วงกักกัน ให้หยุดเรียน 14 วัน และปฏิบัติตามคำแนะนำ ของแพทย์ กรณีมีคนในครอบครัวป่วยด้วยโรคโควิด-19 หรือกลับจากพื้นที่เสี่ยงและอยู่ในช่วงกักกัน ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
2. ให้สมาชิกในครอบครัวล้างมือด้วยสบู่และน้ำ ก่อนรับประทานอาหาร หลังใช้ส้วม และหลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า ตา ปาก จมูก โดยไม่จำเป็น และสร้างสุขนิสัยให้บุตรหลานอาบน้ำหลังกลับจากโรงเรียน หลังเล่น กับเพื่อน และหลังกลับจากนอกบ้าน
3. หมั่นทำความสะอาดเครื่องเล่น ของเล่น ด้วยน้ำยา ทำความสะอาดทั่วไป
4. ไม่พาบุตรหลานไปในสถานที่แออัดหรือสถานที่ ที่มีการรวมกันของคนจำนวนมาก หากจำเป็นควรให้สวมหน้ากากอนามัย
5. จัดเตรียมอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ส่งเสริมให้บุตร หลานกินอาหารครบ 5 หมู่ และผักผลไม้ 5 สี ที่สะอาด ปลอดภัยจากสารพิษ อย่างน้อยวันละ 2.5-4 ขีด (ตามวัย) เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ออกกำลังกายอย่างน้อย 60 นาที ทุกวัน และนอนหลับให้เพียงพอ 9-11 ชั่วโมงต่อวัน
ข้อมูลจาก คู่มือการจัดการโรงเรียนรับมือโควิด-19 , Hfocus
ข่าวที่เกี่ยวข้อง