เปิดโควต้าการกระจายวัคซีนโควิด-19 ทั่วประเทศ
ในสถานการณ์ที่การลงทะเบียนฉีดวัคซีนโควิด-19 มีช่องทางให้เลือกเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นหมอพร้อมของกระทรวงสาธารณสุข ไทยร่วมใจจากหน่วยงานสังกัดกทม. ตามจังหวัดที่มี อสม.ดูแล หรือการลงทะเบียนหน้างานตามจุดฉีดต่างๆ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเผย ได้ระบุแผนการกระจายวัคซีนมีการพิจารณา ทั้งจากจำนวนประชากรแต่ละจังหวัด พื้นที่ระบาด และพื้นที่เศรษฐกิจการท่องเที่ยว
ดังนั้นแผนการกระจายวัคซีนสามารถปรับเปลี่ยนได้เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด เช่น ขณะนี้มีการระบาดในเพชรบุรี นนทบุรี เพิ่มมากขึ้น จึงต้องมีการปรับการกระจายวัคซีน ไม่ว่าจะปรับแผนการกระจายวัคซีนอย่างไร ประชาชนจะได้รับการฉีดวัคซีนทุกคนตามความสมัครใจ
- 4 ปัจจัยการกระจายวัคซีน
- แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย
- กลุ่มเป้าหมายและจำนวนในการฉีดวัคซีนโควิด-19
- ลำดับความเร่งด่วนของพื้นที่ในการฉีดวัคซีนโควิด มิ.ย.-ก.ย.64
- การเตรียมความพร้อมเรื่องลงทะเบียนฉีดวัคซีน
- แผนกระจายวัคซีน 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด
- 10 จังหวัดได้รับจัดสรรวัคซีนสูงสุด มิ.ย. – ก.ย.
- จำนวนจุดฉีดวัคซีนและศักยภาพการฉีดวัคซีน (76 จังหวัด ไม่รวม กทม.)
วัคซีนในไทยเพียงพอรึเปล่า?
กระทรวงสาธารณสุขมีแผนจัดหาวัคซีนมาให้แต่ละพื้นที่ ส่วนแผนการฉีดให้ประชาชนขึ้นกับการพิจารณาของแต่ละพื้นที่ สำหรับวัคซีนของแอสตร้าเซนเนก้า จะจัดส่งวัคซีนให้ได้ตามแผนคือมิถุนายนนี้ อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังมีวัคซีนซิโนแวค และกำลังตรวจรับรองรุ่นการผลิต 2.5 ล้านโดส ซึ่งเดือนมิถุนายนนี้จะสั่งเข้ามาอีก 3 ล้านโดสเพื่อนำมาใช้ควบคู่กัน
สำหรับแผนการฉีดวัคซีนในกลุ่มบุคคลทั่วไป ที่จะเริ่มในเดือนมิถุนายน 2564 นี้ จะใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นหลักตามที่มีวัคซีนเข้ามา ส่วนวัคซีนซิโนแวคเป็นส่วนเสริม ที่เริ่มมีการฉีดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา
4 ปัจจัยการกระจายวัคซีน
1.จำนวนวัคซีนที่มี
2.จำนวนประชากร
3.สถานการณ์การระบาดในปัจจุบัน
4.กลุ่มเป้าหมาย เช่น ครู แรงงาน เป็นต้น
ซึ่งการกระจายวัคซีนต้องคำนึงถึงสถานการณ์ของการระบาดเพื่อควบคุมโรค โดยอยู่ระหว่างการขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการในแต่ละชุด และปรับตามความเห็นและข้อแนะนำ ซึ่งล่าสุดประเด็นดังกล่าวได้เข้าสู่คณะที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ซึ่งหากมีข้อแนะนำเพิ่มเติม ก็สามารถปรับเปลี่ยนแผนได้ตามความเหมาะสมตามสถานการณ์การระบาดในปัจจุบัน และปริมาณวัคซีนที่ประเทศไทยได้รับ
แนวทางการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของประเทศไทย
แผนจัดสรรวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เข็มที่ 1 มิ.ย.-ก.ย.64 ประเทศไทยกำหนดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าเป็นวัคซีนหลักป้องกันโควิด-19 โดยรอบแรกมีการจัดหาวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าจำนวน 35 ล้านโดส เพื่อฉีดวัคซีนปูพรมเป็นเข็มที่ 1 ระหว่างมิ.ย.-ก.ย.64 จากนั้น ฉีดเข็มที่สอง ในเดือน ต.ค.- ธ.ค.64 โดยมีหลักการสำคัญ 4 ประการ คือ
1.เพื่อให้ประชากร ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ 50 ล้านคน ได้รับวัคซีน ร้อยละ 70 ภายใน ก.ย.64 ด้วยความสมัครใจ (จำเป็นต้องใช้วัคซีนชนิดอื่นเพิ่มเติมอีก 11 ล้านโดส)
2.มีการลงทะเบียนผ่านหมอพร้อม เพื่อควบคุมการแพร่เชื้อในพื้นที่ระบาดรุนแรงให้สงบโดยเร็ว
3.เพื่อลดความรุนแรงและการเสียชีวิตในประชากรกลุ่มเสี่ยง
4.เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ภาคธุรกิจ ท่องเที่ยว และการเปิดประเทศตามแผนที่กำหนด
กลุ่มเป้าหมายและจำนวนในการฉีดวัคซีนโควิด-19
1.บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้า ภาครัฐและเอกชน
2.เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรค ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วย
3.ผู้ที่มีโรคเรื้อรังประจำตัว
4.ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
5.ประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรค เช่น ครู พนักงานขับรถสาธารณะ นักเรียน/นักศึกษาไปเรียนต่อต่างประเทศ
6.ชาวต่างชาติ/แรงงานต่างด้าว
ลำดับความเร่งด่วนของพื้นที่ในการฉีดวัคซีนโควิด มิ.ย.-ก.ย.64
ประชาชนได้รับวัคซีนเข็ม 1 ภายใน 4 เดือนแรก
1.จังหวัดที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ได้แก่ กทม. สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี ภายในมิ.ย.-ก.ค.64 รวมถึงจังหวัดที่มีแผนเปิดการท่องเที่ยว ได้แก่ ภูเก็ต ภายในมิ.ย.64
2.จังหวัดที่มีชายแดนติดประเทศเพื่อนบ้าน และมีความเร่งด่วนเตรียมพร้อมรองรับ
สถานการณ์ภายหลังการระบาด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย สงขลา สระแก้ว ตาก มุกดาหาร นราธิวาส ระนอง หนองคาย สุราษฎร์ธานี (อ.เกาะสมุย) พังงา กระบี่ จันทบุรี ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร
3.จังหวัดที่เหลือ 55 จังหวัด
ระยะเวลาที่แต่ละจังหวัดให้บริการวัควีนเข็มที่ 1 ครบร้อยละ 70 ของประชากร
เดือน มิ.ย. -ภูเก็ต
เดือน ก.ค. - กทม. กระบี่ พังงา
เดือน ส.ค. - นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร ชลบุรี สุราษฎร์ธานี
เดือน ก.ย. - 66 จังหวัด
การเตรียมความพร้อมเรื่องลงทะเบียนฉีดวัคซีน
ระยะที่ 1 ปัจจุบัน – 6 มิ.ย.64 ทยอยฉีดให้กลุ่มเป้าหมายตามโควต้าที่แต่ละหน่วยงาน/องค์กรได้รับ
1.ทำแผนกระจายวัคซีน แต่ละจังหวัดตามลำดับวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
2.สำรวจหน่วยงานที่เข้าร่วมฉีดวัคซีนทั้งหมดในระบบ
3.แจ้งแผนการกระจายวัคซีน ให้หน่วยงานต่าง ๆ ทราบ เพื่อกำหนด slot การจอง
4.เริ่มเปิดจอง และเตรียมความพร้อมในการฉีดวัควีนตามแผน
ระยะที่ 2 7 มิ.ย.64 เป็นต้นไป เริ่มฉีดวัคซีนทั้งระบบเป็นวาระแห่งชาติ
การเตรียมการหน่วยฉีดวัคซีน
1.สถานพยาบาลเป้าหมายการให้บริการ รพศ. รพท. รพช. รพ.รัฐอื่นๆ และรพ.เอกชน
2.ทุกสถานพยาบาลจัดบริการวัคซีนโควิดทุกวัน ตามความเหมาะสม
3.เพิ่มจุดฉีดวัคซีนนอกโรงพยาบาล เพื่ออำนวยความสะดวกประชาชน กรณีที่มีความเหมาะสม
แต่ละสถานพยาบาล กำหนดทีมผู้รับผิดชอบการให้บริการวัคซีนเบื้องต้น ดังนี้
1.ทีมลงทะเบียน เพื่อรับวัคซีนและนัดหมาย
2.ทีมผู้ให้บริการวัคซีนในโรงพยาบาล และรายงานผล
3.ทีมผู้ให้บริการวัคซีนเคลื่อนที่ (กรณีมีจุดฉีดนอกโรงพยาบาล)
4.ทีมบริหารจัดการวัคซีนและลูกโซ่ความเย็น
5.ทีมเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีน
แผนกระจายวัคซีน 10 จังหวัดติดเชื้อสูงสุด
1. กทม. จัดสรร มี.ค.-พ.ค. แล้ว 3.69 แสนโดส / มิ.ย. 2.5ล้านโดส / ก.ค. 2.5 ล้านโดส
2. นนทบุรี จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 5.22 หมื่นโดส / มิ.ย. 6.4หมื่นโดส / ก.ค.6.45แสนโดส / ส.ค.3.65 แสนโดส
3. สมุทรปราการ จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 3.36 หมื่นโดส / มิ.ย. 2.37 แสนโดส / ก.ค.4.87 แสนโดส / ส.ค.5.92 แสนโดส
4. ชลบุรี จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 7.65หมื่นโดส / มิ.ย.5.4หมื่นโดส / ก.ค.5.56แสนโดส / ส.ค.7.46แสนโดส
5. เชียงใหม่ จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว7.76หมื่นโดส / มิ.ย. 6.8 หมื่นโดส / ก.ค.4.19แสนโดส / ส.ค.2.38แสนโดส / ก.ย.4.08แสนโดส
6. เพชรบุรี จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 1.62 หมื่นโดส / มิ.ย.2.4หมื่นโดส / ก.ค.8.4หมื่นโดส / ส.ค.5.4หมื่นโดส / ก.ย.1.75แสนโดส
7. ปทุมธานี จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 3.39หมื่นโดส / มิ.ย. 6.7หมื่นโดส / ก.ค.6.24แสนโดส / ส.ค.3.54แสนโดส
8. สมุทรสาคร จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 1.07 แสนโดส / มิ.ย.5.6หมื่นโดส / ก.ค.3.36 แสนโดส / ส.ค.1.68 แสนโดส
9. สุราษฎร์ธานี จัดสรร มี.ค.-พ.ค.แล้ว 6.52 หมื่นโดส / มิ.ย. 8.8 หมื่นโดส / ก.ค.4.27แสนโดส / ส.ค.2.21 แสนโดส
10. ประจวบคีรีขันธ์ จัดสรรมี.ค.-พ.ค.แล้ว 2.23หมื่นโดส / มิ.ย. 2.7หมื่นโดส / ก.ค.9.9หมื่นโดส / ส.ค.5.7หมื่นโดส /ก.ย.1.99แสนโดส
จังหวัด | มี.ค.-พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. |
กทม. | 3.69 แสนโดส | 2.5 ล้านโดส | 2.5 ล้านโดส | ||
นนทบุรี | 5.22 หมื่นโดส | 6.4 หมื่นโดส | 6.45 แสนโดส | 3.65 แสนโดส | |
สมุทรปราการ | 3.36 หมื่นโดส | 2.37 แสนโดส | 4.87 แสนโดส | 5.92 แสนโดส | |
ชลบุรี | 7.65 หมื่นโดส | 5.4 หมื่นโดส | 5.56 แสนโดส | 7.46 แสนโดส | |
เชียงใหม่ | 7.76 หมื่นโดส | 6.8 หมื่นโดส | 4.19 แสนโดส | 2.38 แสนโดส | 4.08 แสนโดส |
เพชรบุรี | 1.62 หมื่นโดส | 2.4 หมื่นโดส | 8.4 หมื่นโดส | 5.4 หมื่นโดส | 1.75 แสนโดส |
ปทุมธานี | 3.39 หมื่นโดส | 6.7 หมื่นโดส | 6.24 แสนโดส | 3.54 แสนโดส | |
สมุทรสาคร | 1.07 แสนโดส | 5.6 หมื่นโดส | 3.36 แสนโดส | 1.68 แสนโดส | |
สุราษฎร์ธานี | 6.52 หมื่นโดส | 8.8 หมื่นโดส | 4.27 แสนโดส | 2.21 แสนโดส | |
ประจวบคีรีขันธ์ | 2.23 หมื่นโดส | 2.7 หมื่นโดส | 9.9 หมื่นโดส | 5.7 หมื่นโดส | 1.99 แสนโดส |
10 จังหวัดได้รับจัดสรรวัคซีนสูงสุด มิ.ย. – ก.ย.
ทั้งนี้ หากดูข้อมูล 10 จังหวัดได้รับจัดสรรวัคซีนสูงสุด มิ.ย. – ก.ย. (แผนวันที่ 17 พ.ค. 64) จะพบว่า
อันดับ 1 กรุงเทพมหานคร
ประชากรทั้งหมด 7,699,174 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 5,389,422 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 369,631 คน
รอวัคซีน 5,019,791 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 5,020,000 โดส
อันดับ 2 จ.นครราชสีมา
ประชากรทั้งหมด 2,692,889 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,885,023 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 42,040 คน
รอวัคซีน 1,842,983 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,842,000 โดส
อันดับที่ 3 จ.ชลบุรี
ประชากรทั้งหมด 2,047,621 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,433,335 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 76,550 คน
รอวัคซีน 1,356,785 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,356,000 โดส
อันดับ 4 จ.สมุทรปราการ
ประชากรทั้งหมด 1,931,726 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,352,208 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 36,600 คน
รอวัคซีน 1,315,608 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,316,000 โดส
อันดับ 5 จ.ขอนแก่น
ประชากรทั้งหมด 1,837,004 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,285,903 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 30,780 คน
รอวัคซีน 1,255,123 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,255,000 โดส
อันดับ 6 จ.อุบลราชธานี
ประชากรทั้งหมด 1,799,873 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,259,911 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 23,980 คน
รอวัคซีน 1,235,931 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,236,000 โดส
อันดับ 7 จ.เชียงใหม่
ประชากรทั้งหมด 1,729,353 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,210,547 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 77,670 คน
รอวัคซีน 1,132,878 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,133,000 โดส
อันดับ 8 จ.นครศรีธรรมราช
ประชากรทั้งหมด 1,575,117 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,102,582 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 23,280 คน
รอวัคซีน 1,079,302 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,080,000 โดส
อันดับ 9 จ.นนทบุรี
ประชากรทั้งหมด 1,609,191 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,126,434 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 52,205 คน
รอวัคซีน 1,074,229 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,074,000 โดส
อันดับ 10 จ.อุดรธานี
ประชากรทั้งหมด 1,565,739 คน
ครอบคลุม 70% จำนวน 1,096,018 คน
ได้รับวัคซีนแล้ว มี.ค.-พ.ค. 25,430 คน
รอวัคซีน 1,070,588 คน
ได้รับการจัดสรรวัคซีน 1,071,000 โดส
จำนวนจุดฉีดวัคซีนและศักยภาพการฉีดวัคซีน (76 จังหวัด ไม่รวม กทม.)
จุดฉีดวัคซีนในโรงพยาบาล 993 แห่ง จำนวนที่ฉีดได้ 489,503 คน
โรงพยาบาลสนาม 261 แห่ง จำนวนที่ฉีดได้ 160,387 คน
จำนวนจุดให้บริการ On-site Registration 221 แห่ง จำนวนที่ฉีดได้ 129,978 คน
รวมศักยภาพในการฉีดวัคซีน 779,868 คน
ข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 20 พ.ค.64 , กรุงเทพธุรกิจ , กรมควบคุมโรค , Hfocus
--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- รวม มี โรงพยาบาล เอกชน ที่ไหนบ้าง? เปิดขั้นตอนจองคิวฉีดวัคซีนโควิด
- วิธีลงทะเบียน 'ไทยร่วมใจ กรุงเทพฯ ปลอดภัย' ทำง่าย ไม่ยาก!
- อัพเดท! เปิดสถานที่ตรวจ "โควิด-19 ฟรี" เช็คเลย!
- รวมบริจาคช่วยคลัสเตอร์โรงงานแคลคอมพ์ และโรงพยาบาลสนาม ม.ศิลปากร และโรงพยาบาลอื่นๆ สู้วิกฤตโควิด-19 (อัปเดต 24 พ.ค.)
- เจาะ! แผนบริหารวัคซีนโควิด-19 ก่อนฉีดจริงทั่วประเทศ