รีเซต

NASA เปิดรับแนวคิดนักเรียนมัธยมทดสอบโดยบอลลูนและพัฒนาจรวดลงจอด

NASA เปิดรับแนวคิดนักเรียนมัธยมทดสอบโดยบอลลูนและพัฒนาจรวดลงจอด
TNN ช่อง16
25 สิงหาคม 2566 ( 09:12 )
95

โรงเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลายในสหรัฐอเมริกาที่เข้าร่วมโครงการนี้ได้ทั้งจากโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน รวมถึงโรงเรียนที่อยู่ในเขตปกครองของสหรัฐฯ นำเสนอการทดลองทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้การออกแบบน้ำหนักบรรทุกและขั้นตอนการทดสอบการบินใต้วงโคจรตามรายละเอียดที่นาซากำหนด โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับการสำรวจอวกาศ การสังเกตโลก การเข้ารหัส และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และคุณค่าของข้อมูลการทดสอบ ให้กับเด็กนักเรียนมัธยมที่เข้าร่วมโครงการ

การแข่งขันของนักเรียนมัธยมต้นและมัธยมปลาย 

ทีมของนักเรียนที่จะสมัครเข้าร่วมโครงการต้องมีสมาชิก 4 คน ขึ้นไป ในระดับเกรด 6 ถึง 12 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะมีด้วยกันทั้งหมด 60 ทีม เพื่อพัฒนาแนวคิดการทดลองวิทยาศาสตร์ให้สามารถทำได้จริงและถูกใส่ในกล่องทดลองที่สร้างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อส่งขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศของโลกด้วยบอลลูน สำรหับทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัล 1,500 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ 53,100 บาท 


ทดสอบผลงานด้วยบอลลูนและจรวด 

สำหรับบอลลูนที่ใช้ในการนำผลงานการทดสอบของนักเรียนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศจะใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 4 ชั่วโมง ลอยขึ้นไปในระดับความสูง 21 กิโลเมตร พัฒนาโดยบริษัทเทคโนโลยีด้านการปล่อยบอลลูนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ World View of Tucson ในรัฐแอริโซนา ส่วนจรวดลงจอดใช้การบินขึ้นในระดับความสูงประมาณ 25 เมตร ก่อนลงจอดบนสนามการทดสอบที่จำลองพื้นผิวดวงจันทร์ ซึ่งนาซาได้ร่วมมือกับสองบริษัทด้านเทคโนโลยีอวกาศ คือ บริษัท Suborbital Xodiac และบริษัท Astrobotic ในเมืองพิตต์สเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนีย ทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับทดสอบลงจอด รวมไปถึงให้คำปรึกษากับทีมนักเรียนที่ผ่านเข้ารอบ


โรงเรียนมัธยมในระดับเกรด 6 ถึง 12 ที่สนใจสามารถส่งแนวคิดการทดสอบได้ภายในวันที่ 20 ตุลาคมนี้ โดยนาซาจะประกาศทีมที่ได้รับการคัดเลือกในเดือนมกราคม 2024 ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะต้องพัฒนาต้นแบบการทดลองในระหว่างเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ส่วนการทดสอบปล่อยบอลลูนขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศและจรวดลงจอดซึ่งเป็นการทดสอบขั้นสุดท้ายคาดว่าจะมีขึ้นในช่วงฤดูร้อนของปี 2024 นับเป็นอีกครั้งที่นาซาให้ความสำคัญกับเยาวชนในการพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของบุคลากรด้านเทคโนโลยีอวกาศในอนาคต


ข้อมูลและภาพจาก NASA

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง