สภาวะ “หมดไฟ” ภัยเงียบคนทำงาน…ผู้หญิงยิ่งเสี่ยง
วันนี้ ( 30 ก.ย. 64 )McKinsey & Company บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการ และ LeanIn.org องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่ทำงานด้านการสนับสนุนผู้หญิง จัดทำรายงานประจำปี ‘Women in the Workplace’ ประจำปี 2021 ปีนี้เป็นปีที่ 7 ของการศึกษานั้นตรวจสอบข้อมูลจากบริษัทใหญ่ในสหรัฐฯ 423 บริษัท สำรวจพนักงานมากกว่า 65,000 คน เกี่ยวกับภาวะหมดไฟในการทำงาน
จากการศึกษาเกี่ยวกับภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) พบว่าเกิดในพนักงานหญิง มากกว่าพนักงานชาย โดยปีที่แล้ว (2020) มีพนักงานหญิงร้อยละ 32 และพนักงานชายร้อยละ 28 ที่มีภาวะดังกล่าว แต่ปีนี้ (2021) สัดส่วนของพนักงานหญิงและพนักงานชายที่มีภาวะดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42 และร้อยละ 35 ตามลำดับ นั่นหมายความว่าสัดส่วนของพนักงานหญิงที่มีภาวะนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 10 และช่องว่างระหว่างสัดส่วนของพนักงานหญิงและพนักงานชายที่มีภาวะดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4 เมื่อปีที่แล้ว กลายเป็นร้อยละ 7 ในปีนี้
องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดเป็นโรคใหม่จากเครียดเรื้อรังในที่ทำงาน
-มี 5 ระยะ ถ้าปล่อยให้อาการหนัก เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าได้
-ภาวะหมดไฟ ไม่ใช่ "โรคซึมเศร้า"
-ภาวะหมดไฟ เป็นการเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
-สัญญาณเตือนระวัง : ด้านอารมณ์ ความคิด พฤติกรรม
ภาวะ"หมดไฟ" ฟื้นฟูได้ก่อนสายเกินแก้
-สังเกตตัวเอง
-ปรับสมดุลชีวิต
-ปรับอารมณ์
-ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที
-หากิจกรรมผ่อนคลาย
-เลี่ยง/ลดเสพสื่อสังคมออนไลน์
-เลี่ยงงานทำร้ายใจ ทำให้เกิดภาวะหมดไฟ เช่น งานเร่ง งานไร้ระบบ
ข้อมูลจาก : ผู้สื่อข่าว TNN
ภาพจาก : GETTY IMAGE