รีเซต

โรงพยาบาลสนาม อีกทางเลือกสถานที่กักตัวโควิด-19

โรงพยาบาลสนาม อีกทางเลือกสถานที่กักตัวโควิด-19
Ingonn
13 เมษายน 2564 ( 16:24 )
1.4K
โรงพยาบาลสนาม อีกทางเลือกสถานที่กักตัวโควิด-19

หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อทุกจังหวัดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีมาตรการการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นเป็นจำนวนมากทั่วประเทศไทย เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและอาการดีขึ้นจากโรค

 

 

วันนี้ True ID จึงพาทุกคนมารู้จักโรงพยาบาลสนาม สถานที่กักตัวอีกรูปแบบหนึ่งที่ย่อมาจากโรงพยาบาลใหญ่ เพื่อเป็นที่รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19

 


โรงพยาบาลสนามคืออะไร 


การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งอาจจัดตั้งขึ้นในบริเวณที่เป็นโรงพยาบาล หรือ สถานที่ที่ไม่ได้เป็น หน่วยงานด้านสาธารณสุขมาก่อน เช่น วัด โรงเรียน โรงยิม หรือ หอประชุมขนาดใหญ่ เป็นต้น โดยจะเน้นการดูแลและประคับประคองผู้ป่วยโควิด-19 ในสภาวการณ์ที่มีการระบาด ทั้งนี้ผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการ คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 

 

 

โรงพยาบาลสนามเหมาะกับใคร


ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรง หรือ ผู้ป่วยอาการปานกลาง

 


 
ระหว่างสถานการณ์การระบาดในวงกว้าง การคัดกรองและคัดแยกผู้ป่วย อาจดำเนินการใน โรงพยาบาลสนามเพื่อลดภาระของห้องฉุกเฉิน คลินิก และแพทย์ โดยจะต้องรณรงค์ให้ชุมชนมี ความเข้าใจ และตระหนักในบทบาทหน้าที่/ขอบเขตของการทำงานของโรงพยาบาลสนามเสียก่อน 

 


กทม.เตรียมความพร้อมโรงพยาบาลสนาม


1. ขยายศักยภาพโรงพยาบาลใน กทม. ให้เป็นลักษณะกึ่งโรงพยาบาลสนามอย่างเช่นโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน สามารถขยายศักยภาพให้รองรับผู้ป่วยได้ 500 เตียง

 

2. เตรียมโรงแรมไว้รองรับให้ผู้ป่วยรักษาตัวในโรงแรมที่เราจัดหาไว้ให้ หรือเรียกว่า Hospitel ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการติดต่อกับโรงแรมที่จะเข้ามาเป็นเครือข่ายกับโรงพยาบาลของ กทม.

 

3. จัดตั้งโรงพยาบาลสนาม เช่น โรงพยาบาลสนามศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา เขตบางบอนแห่งนี้ โดยใช้ชื่อว่าโรงพยาบาลเอราวัณ 1 สามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 200 เตียง โรงพยาบาลสนามแห่งนี้เป็นอีกจุดหนึ่งที่จะรองรับผู้ติดเชื้อโควิด เพื่อสังเกตอาการผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย หรือที่เรียกว่าผู้ป่วยโควิดเขียว และดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น โดยจัดรูปแบบผู้ป่วยในเป็นกลุ่มเฝ้าระวังโรคโควิด-19 อำนวยความสะดวกและดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด ขณะนี้ได้เตรียมความพร้อมในหลายๆ ด้าน อาทิ ด้านการจัดที่พัก ที่นอน หมอน อาหาร น้ำดื่ม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชน เช่น SCG และ CPF รวมทั้งการเตรียมบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ที่จะมาดูแลผู้ป่วย รวมถึงการดูแลความสะดวกด้านอื่นๆ เช่น ด้านความปลอดภัย รวมถึงจะเร่งดำเนินการให้โรงพยาบาลสนามทุกแห่งมีความพร้อมสมบูรณ์ให้มากที่สุด 

 

 

ทั้งนี้ ในภาพรวมของการจัดเตรียมโรงพยาบาลทั้ง 3 ส่วน ขณะนี้ กทม. สามารถรองรับผู้ป่วยได้ จำนวน 1,250 เตียง ขณะเดียวกันยังมีโรงพยาบาลเครือข่ายโรงพยาบาลอื่นๆ ใน กทม. ที่เชื่อมโยงกันส่งต่อผู้ป่วยให้กันและกัน การบริหารเตียงและการส่งต่อก็ดำเนินการร่วมกัน โดยมีการบูรณาการความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมอบหมายให้ศูนย์เอราวัณ กทม. เป็นผู้บริหารเตียงในการจัดส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลต่างๆ โดยหากรวมจำนวนเตียงของ กทม. แล้ว สามารถรองรับผู้ป่วยได้ประมาณ 5,000 เตียง 

 

 

นอกจากนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขยังได้ให้ทุกจังหวัดเตรียมจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นมารองรับผู้ป่วยโควิด-19 รวมถึงจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นในหน่วยทหาร จำนวน 24 แห่ง  5,341 เตียง โดยมีศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.กองทัพไทย) เป็นหน่วยประสานกับส่วนราชการต่างๆ 

 

 

โดยนายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อแนะนำสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรงให้ใช้บริการ รพ.สนาม โดยเตรียมอุปกรณ์พกติดตัวไปด้วย

 

 

อุปกรณ์ที่แนะนำพกติดตัวไปเพิ่ม (ส่วนใหญ่รพ.สนามจะมีอุปกรณ์เบื้องต้นอยู่แล้ว) มีอะไรบ้างนั้นมาดูกันเลย
1. ปลั๊กไฟ
2. ของใช้ส่วนตัว
3. แบตสำรอง
4. ทิชชู เปียก
5. สิ่งให้ความบันเทิง
6. หมอน ผ้าห่ม ที่รองนอน
7. ที่ปิดตานอน
8. อาหารเสริม
9. กาน้ำร้อน
10. ขนมต่างๆแบบพกพา
11. ชุดชั้นใน กางเกงใน

 

หากต้องการโรงพยาบาลสนามเพื่อรักษาตัว หรือต้องการติดต่อหน่วยงานเพื่อทราบข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 สามารถติดต่อได้ดังนี้

 

สายด่วนสำคัญช่วงโควิด

  • สายด่วน 1330 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
    โดยสอบถามเรื่องสิทธิบัตรทองและประสานหาเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ได้

 

  • สายด่วน 1442 กรมควบคุมโรค
    สามารถขอคำแนะนำและการช่วยเหลือเกี่ยวกับโควิด-19 ได้

 

  • สายด่วน 1668 กรมการแพทย์
    ประสานหาเตียงผู้ป่วยโควิด-19 ได้

 

  • สายด่วน 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
    บริการแพทย์ฉุกเฉิน

 

  • สายด่วน 1646 ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกทม. (ศูนย์เอราวัณ)

 

  • สายด่วน 1323 กรมสุขภาพจิต 
    สามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตที่เกี่ยวกับโควิด-19 ได้

 

 

 

ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19, กรมควบคุมโรค, เพจ หมอตี๋ สาธิต ปิตุเตชะ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง