จีนเปิดตัวดาวเทียมควาฟู่ 1 เพื่อศึกษาดวงอาทิตย์และสภาพอากาศในอวกาศ
เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2022 ที่ผ่านมา ประเทศจีนได้ส่งดาวเทียมเอเอสโอเอส (ASO-S หรือ Advanced Space-based Solar Observatory) ที่มีชื่อเล่นว่า ดาวเทียมควาฟู่ 1 (Kuafu 1) ขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดลองมาร์ช 2ดี (Long March 2D) จากศูนย์ปล่อยดาวเทียมจิ่วเฉฺวียน (Jiuquan Satellite Launch Center) ในมองโกเลีย
ประเทศจีนส่งดาวเทียมควาฟู่ 1 สำเร็จ
โดยตามการรายงานของสถาบันวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences หรือ CAS) ดาวเทียมควาฟู่ 1 เป็นดาวเทียมที่ถูกตั้งชื่อตามยักษ์ที่ไล่ตามดวงอาทิตย์ในตำนานโบราณของประเทศจีน ได้รับการเสนอให้จัดสร้างโดยชุมชนฮีลิโอฟิสิกส์ในประเทศจีน มาตั้งแต่ปี 2011 ซึ่งถูกพัฒนาเพื่อส่งไปโคจรสำรวจดวงอาทิตย์ที่ความสูงเหนือพื้นโลก 450 ไมล์ หรือประมาณ 720 กิโลเมตร
แนวคิดการออกแบบ 1 แม่เหล็ก 2 พายุ
เป้าหมายของดาวเทียมควาฟู่ 1 ถูกออกแบบโดยอ้างอิงจาก “1 แม่เหล็ก 2 พายุ” ซึ่ง 1 แม่เหล็ก หมายถึงสนามแม่เหล็กสุริยะ และ 2 พายุ หมายถึงการระเบิดที่รุนแรงที่สุดสองครั้งบนดวงอาทิตย์
สำหรับดาวเทียมควาฟู่ 1 เป็นดาวเทียมที่มีน้ำหนัก 1,960 ปอนด์ หรือ 888 กิโลกรัม จะใช้เครื่องมือ 3 ชิ้น เพื่อศึกษาสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์, เปลวสุริยะ และการปล่อยมวลโคโรนา (CMEs) ซึ่งเป็นการระเบิดขนาดใหญ่ของพลาสมาที่มีความร้อนสูงยิ่งยวดและพุ่งออกจากดวงอาทิตย์ด้วยความเร็วหลายล้านไมล์ต่อชั่วโมง
โดยดาวเทียมควาฟู่ 1 มีเป้าหมายเพื่อทำความเข้าใจการเชื่อมต่อและกลไกการก่อตัวของปรากฎการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ นอกจากนี้ดาวเทียมจะศึกษาด้วยว่าพลังงานถูกส่งผ่านชั้นบรรยากาศต่าง ๆ ของดวงอาทิตย์อย่างไร และผลกระทบของเปลวไฟและวิวัฒนาการของการปลดปล่อยมวลโคโรนาได้รับผลกระทบจากสนามแม่เหล็กสุริยะอย่างไร
ซึ่งดาวเทียมควาฟู่ 1 ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานได้อย่างน้อย 4 ปี และสร้างข้อมูลได้ประมาณ 500 กิกะไบต์ต่อวัน
ข้อมูลและภาพจาก www.nssc.cas.cn