“ฝนดาวตก” กับ “ดาวหาง” ต่างกันอย่างไร ก่อนฝนดาวตกครั้งถัดไปมาปลายปีนี้ !
“ดาวหางฮัลเลย์” ได้กลายเป็นกระแสในแง่มุมทั้งดนตรีและดาราศาสตร์ แต่ก็ตามมาด้วยความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนว่าสิ่งที่ตกจากท้องฟ้าในช่วง 21-22 ตุลาคมที่ผ่านมาคือ “ดาวหาง” ทั้งที่จริงแล้วคือสิ่งที่เรียกว่า “ฝนดาวตก” ซึ่งมีชื่อว่าฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ด้วยเหตุนี้ TNN Tech จึงได้สรุปข้อแตกต่างที่สำคัญ ระหว่างฝนดาวตก กับดาวหาง เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
“ฝนดาวตก” กับ “ดาวหาง” ต่างกันอย่างไร
“ฝนดาวตก” ครั้งถัดไปที่มองเห็นได้ในไทย
จากข้อมูลของสมาคมดาราศาสตร์ไทย ได้ระบุว่าฝนดาวตกครั้งถัดไปจะเกิดขึ้นในช่วงเช้ามืดของวันที่ 18 เดือนพฤศจิกายน มีชื่อว่าฝนดาวตกสิงโต (Leonids : LEO) และมีอัตราการตกอยู่ที่ 15 ดวงต่อชั่วโมง โดยในช่วงเวลาประมาณ 05.00 น. ผู้สังเกตจะได้พบกับจุดกระจายของฝนดาวตกสิงโต
และหลังจากฝนดาวตกสิงโต ก็ยังมี ฝนดาวตกคนคู่ (Geminids : GEM) ในคืนวันพฤหัสบดีที่ 14 เดือนธันวาคม ด้วยฝนดาวตกกว่า 140 ดวงต่อชั่วโมง เป็นดาวตกจากสะเก็ดดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟทอน (3200 Phaethon) ตั้งแต่ 20.00 น. ไปจนถึงช่วงหลังเที่ยงคืนเล็กน้อย ก่อนที่จะเริ่มตกลงเป็น 100 ดวงต่อชั่วโมง และหายไปในเช้ามืดวันที่ 15 ธันวาคม นับเป็นฝนดาวตกสุดท้ายในปี 2023 นี้
ที่มาข้อมูล สมาคมดาราศาสตร์ไทย, NARIT, Wikipedia, Almanac