น้ำบนโลกมาจากไหน? หินอุกกาบาตในช่วงยุคแรกอาจจะมีคำตอบ
TNN ช่อง16
12 มกราคม 2564 ( 13:36 )
486
เชื่อว่าหลายคนคงเคยสงสัยว่าโลกของเราเกิดมาได้อย่างไร? หรือน้ำที่อยู่บนโลกมากมายมหาศาลนี้มาจากไหน? การศึกษาทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับหินอุกกาบาตอาจจะให้คำตอบเราได้มากกว่าที่คิด
มีการรายงานข่าวจากสื่อ Gizmodo ว่านักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาอุกกาบาตที่เก่าแก่ที่สุดที่รู้จักกันดีบางตัว และได้ค้นพบหลักฐานจาก carbonaceous chondrites หรือกลุ่มอุกกาบาตคาร์บอนที่มีสีคล้ำ ซึ่งเป็นกลุ่มของอุกกาบาตจากการก่อตัวของระบบสุริยะ (ประมาณ 4.5 พันล้านปีในอดีต) มีการกักเก็บน้ำไว้จนกระทั่งเพียงไม่กี่แสนปีก่อน และอาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของน้ำบนโลกก็เป็นได้ โดยนักวิทยาศาสตร์ค้นพบช่วงเวลาของการไหลของน้ำในหิน ผ่านการใช้คอมโบยูเรเนียม - ทอเรียม (uranium-thorium combo) เนื่องจากยูเรเนียมเคลื่อนที่ได้ดีในของเหลว ในขณะที่ทอเรียมค่อนข้างคงที่นักวิทยาศาสตร์จึงสามารถบอกได้ว่าเมื่อใดที่น้ำไหลผ่านอุกกาบาตเป็นครั้งสุดท้าย และปกติร่องรอยนั้นจะค่อย ๆ หายไปตามกาลเวลา ดังนั้นรอยที่มีอยู่จึงสามารถบอกได้ว่ามันเคยมีน้ำมาก่อนจนถึงเมื่อใด
น้ำไม่ใช่สิ่งที่หายากในบรรดาวัตถุในระบบสุริยะ ตัวอย่างเช่นดาวเคราะห์น้อยเบ็นนู (Asteroid Bennu) ก็ยังมีน้ำอยู่ในบางส่วน และอย่างดาวหางเอง โดยธรรมชาติแล้วพวกมันก็กำลังพ่นน้ำแข็งที่ละลายจึงเกิดเป็นเหมือนประกายหางยาว ดังนั้นการค้นพบล่าสุดนี้จึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าน้ำสามารถเกาะอยู่ได้นานแค่ไหน และชี้ให้เห็นว่าอุกกบาบาตบางส่วนบนโลกอาจยังคงมีน้ำแข็งอยู่ก็ได้ แม้จะเคยกระแทกกับโลกไปแรงแค่ไหนก็ตาม
ขอบคุณข้อมูลจาก
เกาะติดข่าวที่นี่
website: www.TNNThailand.com
facebook : TNNThailand
facebook live : TNN Live
twitter : @TNNThailand
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNThailand
Instagram : @tnn_online
TIKTOK : @tnnonline