รีเซต

10 สุดยอดเทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2022

10 สุดยอดเทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2022
TNN ช่อง16
13 เมษายน 2565 ( 11:35 )
216
10 สุดยอดเทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2022

ในศตวรรษที่ 21 เทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาความรู้และทำความเข้าใจในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นสิ่งสำคัญแม้ว่าจะไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำอยู่โดยตรงแต่อาจมีส่วนเกี่ยวข้องทางใดทางหนึ่งพร้อมที่จะถูกนำมาใช้งานได้ตลอดเวลา 10 สุดยอดเทคโนโลยีที่น่าจับตามองในปี 2022 รวมเทคโนโลยีที่กำลังกลายเป็นประเทศประเด็นร้อนแรงและอยู่ในความสนใจของคนจำนวนมาก


ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)


ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในการเพิ่มขีดความสามารถของหุ่นยนต์ เครื่องจักรและการตอบสนองการทำงานของคอมพิวเตอร์กับมนุษย์ แม้แนวคิดจะฟังดูซับซ้อนแต่เชื่อหรือไม่หลายคนได้เคยใช้งานปัญญาประดิษฐ์มาแล้ว เช่น การใช้งาน Google Assistant, Siri, Cortana และ Alexa ล้วนแล้วแต่มีการนำปัญญาประดิษฐ์เข้ามาร่วมใช้ประมวลผล


หุ่นยนต์อัตโนมัติ Robotic Process Automation (RPA) 


หุ่นยนต์อัตโนมัติเริ่มเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ การเชื่อมต่อหุ่นยนต์เข้ากับฐานข้อมูล  ทำให้สามารถตรวจสอบข้อมูลที่มีความแม่นยำสูง ลดข้อผิดพลาดของมนุษย์ การใช้งานหุ่นยนต์อัตโนมัติมักถูกใช้งานในงานที่ต้องมีการทำซ้ำ ๆ ระบบการทำงานของหุ่นยนต์ถูกตั้งโปรแกรมเอาไว้ในเคลื่อนไหวและทำงานตามความต้องการของมนุษย์


อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง Internet of Things (IoT)


อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) ระบบการเชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์เข้ากับระบบต่าง ๆ รวมไปถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้มีการประมวลผล ส่งข้อมูลที่รวดเร็วและถูกนำมาใช้งานในด้านต่าง ๆ เช่น บ้านอัจฉริยะ นาฬิกาอัจฉริยะ ระบบติดตามสุขภาพ


แอปพลิเคชันฉิจฉริยะ (Intelligent Apps)


แอปพลิเคชันฉิจฉริยะช่วยในการทำงานและใช้ชีวิตได้ง่ายมากขึ้นสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้โดยตรงใช้แหล่งข้อมูลออนไลน์ รวมไปถึงสามารถให้คำแนะนำที่มีประโยชน์กับผู้ใช้งาน เชื่อมต่อข้อมูลเข้าด้วยกัน เช่น ระบบ Machine Learning หรือระบบที่สามารถเรียนรู้ได้จากตัวอย่างด้วยตนเอง, หุ่นยนต์, ข่าวกรองทั่วไป, ระบบผู้เชี่ยวชาญ


เทคโนโลยี 5G


การติดต่อสื่อสารความเร็วสูงแบบบรอดแบนด์เจนเนอเรชันที่ 5 การส่งข้อมูลมีความรวดเร็ว เสถียรและปลอดภัย ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก 4G แต่มีความเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่า 20 เท่า รองรับการส่งข้อมูลที่มีปริมาณสูง เช่น วิดีโอความคมชัด 8K การแสดงผลแบบ 3 มิติ นอกจากประโยชน์ในด้านความบันเทิงยังรวมไปถึงประโยชน์ในด้านการจัดเก็บข้อมูลและประสิทธิภาพในการสื่อสารรูปแบบอื่น ๆ


ระบบคอมพิวเตอร์ทำการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (Machine Learning)


การสอนให้คอมพิวเตอร์ทำการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ข้อมูลในระบบ ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ชุดคำสั่งอัลกอริทึมที่ทำงานค้นหารูปแบบที่เหมาะสมอัตโนมัติ เช่น การคัดเลือก Content บนโซเชียลมีเดียเพื่อนำเสนอให้ตรงกับความต้องการผู้ใช้ การประมวลผลและทำนายตัวเลขต่าง ๆ เพื่องานวิจัยทางวิทยาศาสตร์


เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain)


เทคโนโลยีบล็อกเชนใช้การจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายไปยังเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ทั่วโลกแบบไร้ศูนย์กลางตรงกับแนวคิดการกระจายอำนาจ (Decentralized) 


การเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายคล้ายโซ่ (Chain) เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลเพื่อร่วมในการตรวจสอบข้อมูล ซึ่งตรงกับแนวคิดการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน (Bottom-up Design) และการตรวจสอบ (Consensus) ทำให้เครือข่ายบล็อกเชนมีความแข็งแกร่ง ปลอดภัยยากต่อการทำลายหรือปลอมแปลงข้อมูล  


Cognitive Computing


การทำงานร่วมกันของแนวคิดปัญญาประดิษฐ์ (AI) การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) การเรียนรู้ของเครื่อง (ML) ระบบสนทนากับผู้ใช้อัตโนมัติ ระบบวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการความรู้ที่มีบริบทเกี่ยวข้อง (Cognitive knowledge) ระบบการทำงานที่มีความซับซ้อนของ Cognitive Computing ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ตอบคำถามของมนุษย์ที่มีความซับซ้อนสูง จำเป็นต้องใช้อัลกอริทึมของระบบที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เข้าถึงแหล่งข้อมูล ตัดสินใจและจัดลำดับความสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เทคโนโลยีเสมือนจริง Augmented Reality/Virtual Reality


เทคโนโลยีแสดงภาพเสริมความจริง (AR) และโลกเสมือนจริง (VR) เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้นโดยเฉพาะในวงการบันเทิง เกม เปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการเล่นเกมหรือควบคุมตัวละครไปจากเดิม รวมไปถึงความพยายามนำโลกเสมือนจริง (VR) มาใช้ในวงการโซเชียลเน็ตเวิร์กสร้างโลกเสมือนจริง Metaverse โดยบริษัท Meta ผู้พัฒนา Facebook


การพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับองค์กร (DevOps)


เทคโนโลยีตัวสุดท้ายเป็นไปในเชิงของรูปแบบวิธีการทำงาน การพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับองค์กร การสนับสนุนการทำงานร่วมกัน การสื่อสาร ระบบอัตโนมัติ และการบูรณาการระหว่างทีมปฏิบัติการด้านไอทีและนักพัฒนา เพื่อปรับปรุงคุณภาพและความเร็วในการส่งมอบซอฟต์แวร์ โดยกระบวนการทำงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนี้จะส่งผลให้องค์กรขนาดใหญ่สามารถให้บริการลูกค้าที่มีจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ ท่ามกลางการแข่งขันในตลาดเทคโนโลยี


ที่มาของข้อมูล intellipaat.com

ที่มาของภาพ pixabay.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง