รีเซต

จีนเผยใช้เทคโนโลยี "สมองกล​" ใช้ความคิดควบคุมอวัยวะเทียมสำเร็จครั้งแรกของโลก

จีนเผยใช้เทคโนโลยี "สมองกล​" ใช้ความคิดควบคุมอวัยวะเทียมสำเร็จครั้งแรกของโลก
TNN ช่อง16
27 พฤษภาคม 2566 ( 10:40 )
70
จีนเผยใช้เทคโนโลยี "สมองกล​" ใช้ความคิดควบคุมอวัยวะเทียมสำเร็จครั้งแรกของโลก

สำหรับเทคโนโลยี BCI นั้นย่อมาจาก "Brain-Computer Interfaces" หรือความสัมพันธ์ระหว่างสมองหรือคลื่นสมองของมนุษย์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ในกรณีของหนังสงคราม ที่ทหารสูญเสียแขนหรือขาไป แล้วถูกทดแทนด้วยแขนกลหรือขาที่ทรงพลังกว่าเดิม โดยขยับได้เหมือนขาและแขนจริง ๆ นั่นคือต้นแบบของระบบ BCI 


ซึ่งในปัจจุบัน เทคโนโลยี BCI ทำได้เพียงแค่การควบคุมสิ่งของชิ้นเล็ก และทำได้ไม่นานนักเพราะอาจส่งผลต่อคลื่นไฟฟ้าในสมองของมนุษย์ ซึ่งขั้นตอนการพัฒนาของจีน แสดงถึงความก้าวหน้าด้านการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สมองและการประยุกต์ ล่าสุด หม่า หยงเจี่ย (Ma Yongjie) ศัลยแพทย์ระบบประสาทแห่งโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยฉวนหยู่ (Xuanyu) ในกรุงปักกิ่งกล่าวถึงการทดลองล่าสุด ที่เชื่อมต่อสมองของลิง (Primate) ให้สั่งการทำงานของแขนกลสำเร็จเป็นครั้งแรก


BCI 3 รูปแบบ


เทคโนโลยี BCI ในสาขาชีววิทยาศาสตร์ 3 รายการหลักที่กำลังอยู่ในขั้นตอนระหว่างการวิจัยและพัฒนา (R&D) นี้ ได้แก่


1. BCI แบบแทรกแซง (Interventional BCI) 

2. BCI แบบเปิด (invasive BCI) 

3. BCI แบบปิด (non-invasive BCI) 


โดยเทคโนโลยี BCI แบบเปิดจะใช้การตรวจวัดด้วยค่า EEG (Electroencephalography) หรือค่าการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าสมองทางการแพทย์ โดยเป็นการตรวจการทำงานของเซลล์ประสาทสมอง ตรวจวัดจากการเปลี่ยนแปลงทางไฟฟ้า


โดยทั่วไปแล้ว เทคโนโลยี BCI แบบเปิดใช้การผ่าตัดเปิดกะโหลกเพื่อวางอิเล็กโทรดทั่วบริเวณเปลือกสมอง ทำให้ได้สัญญาณ EEG ที่แม่นยำที่สุดในสามวิธี แต่การผ่าตัดในลักษณะที่รุกรานดังกล่าวจะก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ และอาจส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองและร่างกายต่อต้านต่ออุปกรณ์ ในขณะที่เทคโนโลยี BCI แบบอื่น ๆ เช่น เทคโนโลยี  BCI แบบปิด มีความปลอดภัยมากกว่าแต่มีข้อเสียตรงที่ได้รับสัญญาณอิเล็กโทรเอ็นเซฟาโลกราฟ (EEG) ที่แม่นยำน้อยกว่า อย่างไรก็ตามเทคโนโลยี BCI แบบแทรกแซงจะยังไม่พร้อมสำหรับการใช้งานทางคลินิกเป็นเวลา 5 ปีหรือมากกว่า 


หยงเจี่ยยังกล่าวว่า ปัจจุบัน "บางฉากจากนิยายวิทยาศาสตร์เริ่มเป็นไปได้ เช่น การฉายภาพในจิตใจของมนุษย์โดยตรง และการขับขี่ยานพาหนะโดยใช้ความคิดควบคุม แต่จะต้องใช้เวลานานกว่าที่เทคโนโลยีนี้จะทำงานได้ดีจนถึงขั้นใช้งานได้จริง"


ที่มาของรูปภาพ Robina Weermeijer 


ส่วนเทคโนโลยี BCI แบบแทรกแซง (Interventional BCI) จะเชื่อมต่อสมองกับคอมพิวเตอร์ โดยการผ่าตัดที่มีการเปิดช่องกะโหลกเพื่อเชื่อมต่อไปยังสมองน้อยที่สุด เสมือนกับการใส่ขดลวดในหัวใจ และเป็นอันตรายต่อร่างกายของผู้ป่วยน้อยกว่าเทคโนโลยี BCI แบบเปิด ในขณะที่ให้คุณภาพสัญญาณอิเล็กโทรเอนฟาโลกราฟ (EEG) ที่ดีกว่าเทคโนโลยี BCI แบบปิด


ทีมนักวิจัยชาวจีน ยังได้ทำการตรวจจับ และรวบรวมสัญญาณอิเล็กโทรเอ็นเซฟาโลกราฟ (EEG) โดยใช้การผ่าตัดแบบแทรกแซง หลังจากนั้นวางอิเล็กโทรเอ็นเซฟาโลกราฟตรวจจับคลื่นสมองแบบสอดใส่บนผนังหลอดเลือดสมองของลิง โดยสัญญาณกระตุ้นจากสมองเหล่านี้จะถูกส่งไปเปิดใช้งานคำสั่งที่กำหนดไว้ของแขนหุ่นยนต์ นักวิทยาศาสตร์อ้างว่า ลิงสามารถควบคุมแขนของหุ่นยนต์ด้วยความคิดในสมองของลิงได้


ขณะที่ข้อสรุปที่ประสบความสำเร็จของการทดลองนี้ บ่งบอกถึงการพัฒนาแบบก้าวกระโดดด้านเทคโนโลยีสัญญาณ EEG ของจีน โดยรายงานในวิจัยดังกล่าวระบุว่า "แขนกลเปลี่ยนจากตอบสนองแบบเชื่องช้า ไปสู่ความสามารถในการควบคุมอย่างแข็งแรง" 


หยงเจี่ยยังระบุว่า เทคโนโลยีการเชื่อมต่อระหว่างสมองกับคอมพิวเตอร์จะแปลงสัญญาณไฟฟ้าเป็นคำสั่ง ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการเคลื่อนไหว สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม ทั้งยังปรับปรุงคุณภาพชีวิตของพวกเขาได้


ที่มาของรูปภาพ Robina Weermeijer 


ก่อนหน้านี้ในปี 2020 นักวิทยาศาสตร์จีนประสบความสำเร็จในการเชื่อมต่อระบบประสาทส่วนกลางของเขาเข้ากับแขนกล ด้วยการใส่ไมโครอิเล็กโทรด 2 ตัวเข้าไปในสมองของผู้ป่วยชายวัย 72 ปีที่ร่างกายเป็นอัมพาตตั้งแต่คอลงไป 


รายงานระบุว่า หลังจากทำหัตถการแล้ว เขาถูกอ้างว่าสามารถขยับแขนกลได้โดยใช้แรงกระตุ้นของสมองตามปกติ นับเป็นขั้นตอนการทำ BCI ของจีนกับผู้ป่วยที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก


“สหรัฐฯ ซึ่งมีตัวแทนเป็นบริษัทเทคโนโลยี นิวรัลลิงค์ (Neuralink) ที่ก่อตั้งโดยอีลอน มัสก์ (Elon Musk) ซีอีโอของเทสลา Tesla มีความได้เปรียบที่ชัดเจนในเทคโนโลยี BCI แบบ Invasive อย่างไรก็ตาม จีนเป็นเลิศในด้านเทคโนโลยีแบบ Non-Invasive เนื่องจากจีนเป็นผู้บุกเบิกในการถอดรหัสและการประยุกต์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงกับสมอง” ผู้จัดการบริษัทอุปกรณ์ BCI ของจีนกล่าวกับสำนักข่าวโกลบอล ไทม์ (Global Time)ความคืบหน้าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า จีนกำลังอยู่เบื้องหน้าของสงครามเทคโนโลยีระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่กำลังร้อนแรงยิ่งขึ้น


ทั้งนี้ การทดลอง BCI แบบปิดเป็นครั้งแรกในประเทศจีนกับลิงไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์ อาจเป็นก้าวสำคัญในด้านวิทยาศาสตร์สมองและการประยุกต์ใช้ที่มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพของมนุษย์อีกด้วย


ที่มาของข้อมูล interestingengineering

ที่มาของรูปภาพ MART Production


ข่าวที่เกี่ยวข้อง