รีเซต

ย้อนดู “ล็อกดาวน์” ครั้งแรก หลังนายกฯ ประกาศล็อกดาวน์พรุ่งนี้

ย้อนดู “ล็อกดาวน์” ครั้งแรก หลังนายกฯ ประกาศล็อกดาวน์พรุ่งนี้
Ingonn
9 กรกฎาคม 2564 ( 12:53 )
243
2
ย้อนดู “ล็อกดาวน์” ครั้งแรก หลังนายกฯ ประกาศล็อกดาวน์พรุ่งนี้

 

มติ ศบค. ชุดใหญ่ ประกาศแล้วว่า เริ่มล็อกดาวน์ทั่วประเทศ วันที่ 10 ก.ค. 2564 นี้ เป็นเวลา 14 วัน โดยงดการเดินทางข้ามจังหวัดโดยไม่จำเป็น เพิ่มการ Work Form Home 100% พร้อมกำหนดเป้าหมายลดผู้ป่วยภายใน 2-4 สัปดาห์

 

 

วันนี้ TrueID จึงได้รวบรวมข้อมูลการล็อกดาวน์ครั้งแรกของประเทศไทย หลังเริ่มมีโรคโควิด-19 เข้ามาระบาดในประเทศ ว่าเราเคยทำอย่างไรบ้าง ถึงได้ผล จนลดจำนวนยอดผู้ติดเชื้อและกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ 

 

 


ย้อน “ล็อกดาวน์ครั้งแรก”


เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ออกแถลงการณ์ผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ทรท.) หรือ ทีวีพูล ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ พรก.ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ห้ามเข้าไปในพื้นที่สั่งห้าม ห้ามชุมนุม ห้ามเผยแพร่ข่าวปลอม พร้อมตั้งตั้งศูน์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ในวันที่ 12 มี.ค. 64

 

 

จากนั้นวันที่ 2 เม.ย. 2563 นายกฯ ประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศ ห้ามออกจากเคหสถานยามวิกาล 22.00-04.00 น.ยกเว้นบางอาชีพ โดยมีเอกสารรับรองความจำเป็นหรือเอกสารเกี่ยวกับสินค้าหรือการเดินทาง และมีมาตรการป้องกันโรคตามข้อกำหนด ผู้ใดฝ่าฝืนข้อนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548

 

 

 

“ล็อกดาวน์”-“เคอร์ฟิว” ครั้งแรกทำอะไรบ้าง


- ห้ามออกจากเคหสถานยามวิกาล 22.00-04.00 น.

 


- เลื่อนวันเปิดภาคเรียน

 


- ห้ามจัดงานเทศกาลสงกรานต์ในทุกระดับ

 


- ห้ามเข้าออกจังหวัดพื้นที่เสี่ยง ที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก

 


- ห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 


- ปิดสถานที่ต่างๆ เช่น สนามมวย สนามกีฬา สถาบันการศึกษา ร้านนวดแผนโบราณ สถานบันเทิง ห้างสรรพสินค้า

 


- ห้ามนั่งรับประทานอาหารในร้าน

 


- งดจัดกิจกรรมที่มีคนรวมตัวมาก เช่น คอนเสิร์ต งานแสดงสินค้า กิจกรรมทางศาสนาวัฒนธรรม

 


- ขอให้เหลื่อมเวลาทำงานและทำงานที่บ้าน หรือ Work Form Home

 


- ห้ามชุมนุม ห้ามเผยแพร่ข่าวปลอม

 


- คุมเข้มการเดินทางเข้าออกต่างประเทศ

 

 

 


“ล็อกดาวน์” พื้นที่เสี่ยง ไม่เสี่ยงไม่ล็อก


เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 เว็บไซต์ราชกิจจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) มีคำสั่งปิดสถานที่ก่อสร้าง ห้ามรับประทานอาหารในร้าน รวมกลุ่มสังสรรค์ งานเลี้ยงรื่นเริง และห้างสรรพสินค้าสามารถเปิดได้ถึง 3 ทุ่ม ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

 

 

โดยข้อกำหนดนี้มีผลแค่ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล และพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา ส่วนจังหวัดอื่นๆ สามารถดำเนินกิจการได้ปกติ โดยมีรายละเอียดดังนี้

 

 

1.สั่งปิดแคมป์ก่อสร้าง สั่งหยุดทำงานก่อสร้าง อย่างน้อย 30 วัน และห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นการชั่วคราว

 


2.การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมิวนิตี้มอลล์ โรงแรม ร้านสะดวกซื้อ ตลาดนัด ซูเปอร์มาร์เก็ต ให้เปิดบริการเฉพาะนำกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น

 


3.ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมิวนิตี้มอลล์ ให้เปิดดำเนินการได้ถึง 21.00 น. โดยงดให้บริการโรงมหรสพ โรงภาพยนตร์ สวนน้ำ ศูนย์อาหาร

 


4.โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมหรือที่จัดนิทรรศการ ให้เปิดได้ตามเวลาปกติ แต่ให้งดการจัดประชุม การสัมมนา และจัดเลี้ยง

 


5.ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มที่มีบุคคลจำนวนรวมกันเกินกว่า 20 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานกักกันโรค

 


6.ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ และเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ควบคุมสูงสุด เข้าไปตรวจตราเขตชุมชน ตลาด หรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาด เมื่อพบแหล่งที่มีการระบาดของโรคเป็นกลุ่มก้อน ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจดำเนินการสั่งปิดเขตชุมชน หรือสถานที่ดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราว

 


7.ให้เจ้าหน้าที่จากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ จุดสกัด เพื่อคัดกรองการเดินทาง อย่างน้อย 30 วัน ในเส้นทางคมนาคมเข้าออกชายแดนภาคใต้ และกรุงเทพฯ-ปริมณฑล

 


8. ให้ประชาชนงดกิจกรรมทางสังคมที่มีการรวมกลุ่มในลักษณะการสังสรรค์ งานจัดเลี้ยงรื่นเริงในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เป็นระยะเวลา 30 วัน เว้นแต่เป็นการจัดพิธีการตามประเพณีนิยม

 

 


เมื่อ “ไม่ล็อกดาวน์” ทั่วประเทศ เกิดอะไรขึ้น


ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า โดยพญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวระหว่างรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศ ระบุว่า จากกรณีการเดินทางข้ามพื้นที่ของประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงกลับไปต่างจังหวัด ทำให้มีการกระจายการติดเชื้อไปแล้ว 40 จังหวัด และจากการตรวจพบผู้ป่วยในกทม.และปริมณฑล ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาค่อนข้างมาก จึงคาดได้ว่าผู้ติดเชื้อในต่างจังหวัดก็เป็นสายพันธุ์เดลตาเช่นเดียวกัน 

 

 

ทางแพทยสมาคมมีความเป็นห่วง และประเมินคร่าวๆ ว่า สายพันธุ์นี้สามารถแพร่กระจายได้เร็ว คาดจะมีการเพิ่มจำนวนผู้ติดเชื้อ 2 เท่าภายใน 2 สัปดาห์สัปดาห์หน้า อาจเพิ่มขึ้นได้ถึง 1 หมื่น จึงต้องขอให้ทุกคนเน้นย้ำมาตรการส่วนตัว ลดการเคลื่อนย้าย และเฝ้าระวังผู้สูงอายุ รวมถึงเน้นย้ำการฉีดวัคซีน

 

 

นอกจากนั้นยังมีแพทย์อีกหลายท่านที่ออกมาขอให้รัฐบาลล็อกดาวน์ เพื่อควบคุมสถานการณ์โควิด-19 เพราะเป็นทางออกเดียวที่สามารถลดจำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศได้

 

 

 

ปัจจุบัน กลับมา “ล็อกดาวน์” แล้ว พร้อมสละเงินเดือนช่วยเหลือ


จากมติที่ประชุม ศบค. เห็นชอบล็อกดาวน์ 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 10 ก.ค.เป็นต้นไป ในจังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่สีแดง โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้เน้นย้ำว่าจะมีมาตรการเยียวยา ดูแลทุกภาคส่วนอย่างเหมาะสม และตั้งเป้าลดจำนวนผู้ป่วยให้ได้ภายใน 2-4 สัปดาห์

 

 

ทั้งนี้ นายกฯ ประกาศไม่รับเงินเดือน 3 เดือน เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการแก้สถานการณ์ โควิด-19 ขณะที่นายจุติ ไกรกฤษ์ รัฐมนตรีว่าการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ , นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ , นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการว่ากระทรวงคมนาคม , นายชัยวุฒิ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงว่ากระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคาดว่าจะมีรัฐมนตรีอื่นๆทยอยประกาศไม่รับเงินเดือนเช่นเดียวกัน

 

 


ข้อมูลจาก ThaiPBS , ประชาชาติธุรกิจ , TNN 

 

 

 

-------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง