รีเซต

เลือกตั้งผู้ว่า 2565 : เลือกตั้งผู้ว่า กทม.เมื่อไหร่?

เลือกตั้งผู้ว่า 2565 : เลือกตั้งผู้ว่า กทม.เมื่อไหร่?
TeaC
18 พฤษภาคม 2565 ( 10:44 )
35.7K

ข่าววันนี้ เลือกตั้งผู้ว่า 2565 เมื่อไหร่? หลังจากที่มีผลโพลจากหลายสำนักสำรวจความคิดเห็นว่า อยากได้ใครเป็น "ผู้ว่าฯ กทม." ครั้งที่ 7 ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงมหาดไทยได้มีการเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมากรณีเลือกตั้งท้องถิ่น โดยรัฐบาลได้ปลดล็อคเลือกตั้งระดับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทั่วประเทศ ให้มีการจัดการเลือกตั้งในวันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2564 

จากนั้นเว้น 120 วันเข้าสู่การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) คาดว่าอยู่ในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.2565 ส่วนการหาเสียงและการลงคะแนนเลือกตั้งใช้รูปแบบเดียวกันกับการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และการเลือกตั้งเทศบาลที่มีมาตรการป้องกันโควิด-19

 

ล่าสุด หลังจากการเลือกตั้งซ่อมหลักสี่-จตุจักร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ "สุรชาติ เทียนทอง" ผู้สมัครจากพรรเพื่อไทย คว้าเก้าอี้ ส.ส.แทนตำแหน่งที่ว่างลงไปครอง และดูเหมือนว่าการเลือกตั้งดังกล่าวมีประชาชนออกมาใช้สิทธิลงคะแนนอย่างคึกคัก 

 

ไทม์ไลม์เบื้องต้น เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. 

ส่งแรงกระเพือมให้การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ดูชัดเจนมากขึ้น หลังนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 1 ก.พ.ที่ผ่านมา วันนี้จะพามาดูไทม์ไลน์เบื้องต้นที่คงต้องจับตากันต่อว่า จะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2565 ตามที่หลายฝ่ายออกมาคาดการณ์หรือไม่? 

 

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.) แจ้งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบกำหนดการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. จะมีการเสนอช่วงต้นเดือนมีนาคม 2565

 

ต้นเดือนมีนาคม 2565 

  • กระทรวงมหาดไทยเสนอ ครม. เรื่อง "เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม." อย่างเป็นทางการ
  • เมื่อคณะรัฐมนตรี เห็นชอบถือว่า เข้าเกณฑ์ทางกฎหมาย เริ่มนับหนึ่ง กันต่อ

 

ปลายเดือนมีนาคม 2565

คาดว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ประกาศวันรับสมัคร และวันเลือกตั้ง

 

ภายในเดือนพฤษภาคม 2565

คาดกาบัตร วันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยอาจเป็นไปได้ว่าจะพร้อมเลือกตั้ง ส.ก. ล่าสุด คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เคาะวันหย่อนบัตรเลือกผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก.-นายกเมืองพัทยา 22 พ.ค. นี้

 

 

ย้อนการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.ในอดีต

สำหรับการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.มีขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 สืบเนื่องจากมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ขึ้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2518 ซึ่งกำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มาจากการเลือกตั้ง และอยู่ในตำแหน่งตามวาระ 4 ปี 

 

ทั้งนี้การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานครนั้น เกิดขึ้นจำนวน 10 ครั้งด้วยกัน ตั้งแต่ปี 2518 - 2556 วันนี้ TrueID จะพาย้อนว่าเกิดการเลือกตั้งเมื่อไหร่ ใครได้นั่งเก้าอี้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหาครกันบ้าง ตามมาดูเลย

 

พ.ศ. 2518

จากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ทำให้การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ในครั้งนั้น นายธรรมนูญ เทียนเงิน จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับการเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จากการเลือกตั้งคนแรก ด้วยคะแนนเสียง 99,247 คะแนน โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง เพียงร้อยละ 13.86

การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้สมัครที่น่าสนใจคือ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ หัวหน้ากองวิชาการ ก.พ. ที่เพิ่งลาออกมาเข้าสู่ วงการเมือง เป็นครั้งแรกในนาม พรรคพลังใหม่ และในการเลือกตั้งครั้งนี้ ได้รับคะแนนเสียงในเขตกรุงเทพฯ ชั้นในเป็นจำนวนมาก แต่พ่ายแพ้คะแนนในเขตชั้นนอก เช่น หนองแขม มีนบุรี ซึ่งมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์โดยรวมสูงถึง 80% ทำให้ นายธรรมนูญ เทียนเงิน ชนะเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งครั้งนั้น นายธรรมนูญ ไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จนครบวาระ 4 ปี เนื่องจากเกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงทั้งในฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ จนไม่สามารถปฏิบัติงานได้ ทำให้ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ตัดสินใจใช้อำนาจตามมาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2519 ปลดนายธรรมนูญออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2520 และให้กลับไปใช้รูปแบบการแต่งตั้งเช่นเดิม

 

พ.ศ. 2528 เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งแรก

นับจากเหตุการณ์ปลดนายธรรมนูญ เมื่อ พ.ศ. 2520 กรุงเทพมหานครมีผู้ว่าราชการจากการแต่งตั้งอีก 4 คน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติให้ความเห็นชอบ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เกิดการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งที่ 2 ขึ้นในปี พ.ศ. 2528 นี้เอง

 

และในครั้งนั้น พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ในนาม "กลุ่มรวมพลัง" ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครด้วยคะแนนเสียง 408,237 คะแนน วันที่ 14 พฤศจิกายน 2528 ร้อยละ 34.65 โดยคะแนนเสียงเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละรายเท่าที่สืบค้นได้มีดังนี้

 

  1. จำลอง ศรีเมือง สังกัดกลุ่มรวมพลัง คะแนน 408,233 เสียง
  2. ชนะ รุ่งแสง สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ คะแนน 241,002 เสียง
  3. หม่อมราชวงศ์เจตจันทร์ ประวิตร สังกัดพรรคประชากรไทย คะแนน 140,190 เสียง
  4. มงคล สิมะโรจน์ สังกัดพรรคก้าวหน้า คะแนน 63,557 เสียง
  5. ชิงชัย ต่อประดิษฐ์ สังกัดพรรคมวลชน คะแนน 12,042 เสียง

 

พ.ศ. 2533 เลือกตั้งครั้งที่ 2

ในการเลือกตั้งครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2533 พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ซึ่งลงสมัครในนาม พรรคพลังธรรม ได้รับเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่ง ด้วยคะแนนเสียง 703,672 คะแนน วันที่ 7 มกราคม 2533 ร้อยละ 35.85 ในครั้งนั้น

 

มีผู้สมัครอิสระคือ นายวรัญชัย โชคชนะ นักเคลื่อนไหว ที่ได้รับคะแนนสูงกว่า 1 หมื่นคะแนน

  1. จำลอง ศรีเมือง สังกัดพรรคพลังธรรม คะแนน 703,672 เสียง
  2. เดโช สวนานนท์ สังกัดพรรคประชากรไทย คะแนน 283,895 เสียง
  3. ประวิทย์ รุจิรวงศ์ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ คะแนน 60,947 เสียง
  4. นิยม ปุราคำ สังกัดพรรคมวลชน คะแนน 25,729 เสียง
  5. วรัญชัย โชคชนะ สังกัดพรรคอิสระ คะแนน 13,143 เสียง

 

พ.ศ. 2535 ครั้งที่ 3

การเลือกตั้งครั้งต่อมามีขึ้นเมื่อวันที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2535 เนื่องจาก พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ลาออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ลงสมัครโดยไม่สังกัดกลุ่มใด แต่อยู่ภายใต้การสนับสนุน ของ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 363,668 คะแนน การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ไปใช้สิทธิเพียงร้อยละ 23.02

 

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ ดร.พิจิตต รัตตกุล ลงสมัครรับเลือกตั้งด้วยในนาม พรรคประชาธิปัตย์ ได้หมายเลข 3 แต่ต้องพ่ายแพ้ให้แก่ ร.อ. กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา และลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งใน 4 ปีต่อมา จึงประสบความสำเร็จได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

 

  1. กฤษฎา อรุณวงษ์ สังกัดพรรคพลังธรรม คะแนน 363,668 เสียง
  2. พิจิตต รัตตกุล สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ คะแนน 305,740 เสียง
  3. สมมต สุนทรเวช สังกัดพรรคประชากรไทย คะแนน 70,058 เสียง
  4. มติ ตั้งพานิช สังกัดพรรคความหวังใหม่ คะแนน 3,685 เสียง
  5. บุญเทียม เขมาภิรัตน์ สังกัดพรรคอิสระ คะแนน 2,943 เสียง

 

พ.ศ. 2539 เลือกตั้งผู้ว่า กทม. ครั้งที่ 4

เมื่อ ร.อ.กฤษฎา อรุณวงศ์ ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งครบ 4 ปี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ คนใหม่เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 โดย ดร.พิจิตต รัตตกุล ผู้สมัครในนาม กลุ่มมดงาน ได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 768,994 คะแนน (49.47%) โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง คิดเป็นร้อยละ 43.53 ของผู้มีสิทธิทั้งหมด

 

ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 29 คน โดยมีอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2 คน ลงสมัครด้วยคือ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง และ ร.อ.กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา ได้คะแนนเป็นอันดับ 2 และ 3 ตามลำดับ

 

ในครั้งนี้ ดร.พิจิตต ที่เคยพ่ายแพ้ในการลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งก่อน ได้คะแนนมากกว่า พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ถึงกว่า 2 แสนคะแนน และมากกว่า ร.อ.กฤษฎา ผู้ชนะการเลือกตั้งสมัยก่อนหน้าถึงกว่า 5 แสนคะแนน ซึ่งอาจวิเคราะห์ได้ว่า พล.ต.จำลอง และ ร.อ.กฤษฎา ลงแข่งตัดคะแนนกันเอง ทำให้ ดร.พิจิตต สามารถชนะการเลือกตั้งได้อย่างไม่ยากนัก


ผู้สมัครแต่ละรายได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเรียงจากมากไปน้อยดังนี้

  1. พิจิตต รัตตกุล สังกัดพรรคอิสระ คะแนน 768,994 เสียง เฉลี่ย 49.47%
  2. จำลอง ศรีเมือง สังกัดพรรคพลังธรรม คะแนน 514,401 เสียง เฉลี่ย 33.09%
  3. กฤษฎา อรุณวงษ์ สังกัดพรรคประชากรไทย คะแนน 244,002 เสียง เฉลี่ย 15.70%
  4. อากร ฮุนตระกูล สังกัดพรรคอิสระ คะแนน 20,985 เสียง เฉลี่ย 1.35%
  5. วรัญชัย โชคชนะ สังกัดพรรคอิสระ เฉลี่ย 1,011 0.07%
  6. สมิตร สมิทธินันท์ เฉลี่ย 616 0.04%
  7. ดำริ รินวงษ์ เฉลี่ย 581 0.04%
  8. สุธี สุทธิศิริ เฉลี่ย 522 0.03%
  9. บุญสิฐ สอนชัด เฉลี่ย 504 0.03%
  10. กำพล ยุทธสาร เฉลี่ย 390 0.03%
  11. รัก พจนะไพบูลย์ เฉลี่ย 295 0.02%
  12. มานิต ทวิมล เฉลี่ย 280 0.02%
  13. สุวัจน์ ดาราฤกษ์ เฉลี่ย 224 0.01%
  14. สัญชัย เตียงพาณิชย์ เฉลี่ย 207 0.01%
  15. ศุภชัย สิทธิเลิศ เฉลี่ย 176 0.01%
  16. สุขุม พันธุ์เพ็ง เฉลี่ย 148 0.01%
  17. วาริน สินสูงสุด เฉลี่ย 144 0.01%
  18. สถิต พุทธจักรวาล เฉลี่ย 134 0.01%
  19. เกียรติ ไม้ไทย เฉลี่ย 133 0.01%
  20. ทอดชน ถนอมวงศ์ เฉลี่ย 101 0.01%
  21. บุญช่วย วัฒนาวงศ์ เฉลี่ย 96 0.01%
  22. นิตยจักร จักรพันธุ์ เฉลี่ย 87 0.01%
  23. ณัฐวิคม สิริอุไรกุล เฉลี่ย 66 0.00%
  24. ศิลป วรรณปักษ์ เฉลี่ย 65 0.00%
  25. สุชาติ เกิดผล เฉลี่ย 64 0.00%
  26. ชูศักดิ์ วรัคกุล เฉลี่ย 59 0.00%
  27. ไอศูรย์ มั่นรักเรียน เฉลี่ย 57 0.00%
  28. สอ เชื้อโพธิ์ เฉลี่ย 51 0.00%
  29. พินิจ สกุลพราหมณ์ เฉลี่ย 40 0.00%

 

พ.ศ. 2543 เลือกตั้งครั้งที่ 5

เมื่อ ด.ร.พิจิตต รัตตกุล ดำรงตำแหน่งครบ 4 ปี จึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ คนใหม่เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 นายสมัคร สุนทรเวช อดีตหัวหน้าพรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียง 1,016,096 คะแนน (45.85%) โดยมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งถึงร้อยละ 58.87


ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งจำนวน 23 คน โดยผู้สมัครแต่ละรายได้รับคะแนนเสียงเรียงจากมากไปน้อยดังนี้

  1. สมัคร สุนทรเวช ประชากรไทย 1,016,096 45.85%
  2. สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ไทยรักไทย 521,184 23.52%
  3. ธวัชชัย สัจกุล ประชาธิปัตย์ 247,650 11.17%
  4. วินัย สมพงษ์ อิสระ 145,641 6.57%
  5. กัลยา โสภณพนิช อิสระ 132,608 5.98%
  6. ปวีณา หงสกุล ชาติพัฒนา 116,750 5.27%
  7. วิวัฒน์ ศัลยกำธร อิสระ 13,659 0.62%
  8. ประจักษ์ สว่างจิตร อิสระ 10,321 0.47%
  9. จิตติพร อภิบาล อิสระ 2,278 0.10%
  10. มณฑล ชาติสุวรรณ อิสระ 2,008 0.09%
  11. กานต์ เทียนแก้ว ประชาชน 1,613 0.07%
  12. สมิตร สมิทธินันท์ อิสระ 1,312 0.06%
  13. ดำริ รินวงษ์ อิสระ 1,174 0.05%
  14. ชัยพร เวศยา อิสระ 916 0.04%
  15. ทรงพล สุวรรณกูฎ อิสระ 677 0.03%
  16. กิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ อิสระ 578 0.03%
  17. ชัยรัตน์ รัตนุ่ม อิสระ 410 0.02%
  18. อุดม วิบูลชาติ อิสระ 408 0.02%
  19. วรัญชัย โชคชนะ อิสระ 383 0.02%
  20. สุชาติ เกิดผล อิสระ 263 0.01%
  21. กุลภัทร กูรโรหิต อิสระ 183 0.01%
  22. ณัฐวัฒน์ เรือนเรือง พรรคไท 165 0.01%
  23. ขจร ชูแก้ว อิสระ 84 0.00%

 

พ.ศ. 2547 

เมื่อนายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งครบ 4 ปีจึงมีการเลือกตั้งผู้ว่าฯ คนใหม่เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ด้วยคะแนนเสียง 911,441 คะแนน (38.20%)

 

ในการเลือกตั้งครั้งนี้ นายสมัคร สุนทรเวช อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนก่อนไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เพื่อดำรงตำแหน่งต่อ โดยเบนเข็มไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ว. กรุงเทพมหานคร และให้การสนับสนุน ดร.กอบศักดิ์ ชุติกุล อดีตเอกอัครราชทูตหลายประเทศและข้าราชการประจำกระทรวงการต่างประเทศ และมี ดร.พิจิตต รัตตกุล อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ จากการเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 ลงสมัครแข่งขันแต่ได้คะแนนเสียงเพียงประมาณ 1 แสนคะแนนจากที่เคยได้สูงถึงกว่า 7 แสนคะแนน

 

ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงเป็นอันดับ 2 ในครั้งนี้คือ นางปวีณา หงสกุล ที่เคยลงสมัครรับเลือกตั้งในสมัยที่แล้ว ได้คะแนนเสียงเป็น อันดับที่ 6 เพียงประมาณ 1 แสนคะแนนเศษ แต่สำหรับครั้งนี้ นางปวีณา ที่ลาออกจากพรรคชาติพัฒนา ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2547 และลงสมัครในนามผู้สมัครอิสระ ได้รับคะแนนเสียงถึงกว่า 6 แสนคะแนน ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีกระแสข่าวว่าพรรคไทยรักไทย ให้การสนับสนุนนางปวีณา อย่างไม่เป็นทางการ กรณีดังกล่าวนางปวีณาและพรรคไทยรักไทยได้ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง

 

คุณหญิงณฐนนท ทวีสิน ปลัดกรุงเทพมหานคร ในขณะนั้น สรุปผลการเลือกตั้งว่า จากจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งสิ้น 3,955,855 คน มีผู้มาใช้สิทธิ์รวม 2,472,486 คน คิดเป็น 62.5% ไม่ประสงค์ลงคะแนน 26,763 ราย บัตรเสีย 59,765 ใบ คิดเป็น 2.42% เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิ์มากที่สุดคือ เขตทวีวัฒนา 68.42% เขตที่มีผู้มาใช้สิทธิ์น้อยที่สุดคือ เขตคลองเตย 52.26% โดยการการนับคะแนนและประมวลผลการเลือกตั้ง เสร็จสิ้นสมบูรณ์ เมื่อเวลา 03.18 น. ของวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2547

 

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2547 มีผู้สมัครทั้งสิ้น 22 คน ได้รับคะแนนเลือกตั้งเรียงตามลำดับดังนี้

 

  1. อภิรักษ์ โกษะโยธิน ประชาธิปัตย์ 911,441 38.20%
  2. ปวีณา หงสกุล อิสระ 619,039 25.95%
  3. ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ อิสระ 334,168 14.01%
  4. เฉลิม อยู่บำรุง อิสระ 165,761 6.95%
  5. นิติภูมิ นวรัตน์ อิสระ 135,369 5.67%
  6. พิจิตต รัตตกุล มดงาน 101,220 4.24%
  7. มานะ มหาชัย อิสระ 84,147 3.53%
  8. การุญ จันทราง อิสระ 11,070 0.46%
  9. วุฒิพงษ์ จริยวัฒน์ อิสระ 10,243 0.46%
  10. กอบศักดิ์ ชุติกุล อิสระ 3,196 0.13%
  11. พีระพงศ์ ถนอมพงษ์ คนรักกรุงเทพ 2,377 0.10%
  12. เมตตา เต็มชำนาญ เมตตาธรรม 1,965 0.08%
  13. สุชาติ เกิดผล อิสระ 1,298 0.05%
  14. วรัญชัย โชคชนะ อิสระ 1,087 0.05%
  15. วิทยา จังกอบ อิสระ 811 0.03%
  16. สุเมธ ตันธนา กรุงเทพพัฒนา 709 0.03%
  17. นายกิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ อิสระ 572 0.02%
  18. อุดม วิบูลชาติ อิสระ 478 0.02%
  19. วรา บัณฑุนาค อิสระ 387 0.02%
  20. โชคชัย เลาหชิน อิสระ 381 0.02%
  21. วีระศักดิ์ อุปถัมภ์ ประชากรไทย 239 0.01%
  22. ลีน่า จังจรรจา อิสระ ถอดถอน 0.01%

 

การเลือกตั้งครั้งนี้จัดขึ้นตาม พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 ที่เพิ่งออกใหม่ และมีข้อกำหนดแตกต่างจากการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาหลายประการ เช่น

  1. คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) จะเข้าไปมีบทบาทดูแลการเลือกตั้ง ทั้ง กกต.กลาง และ กกต.กทม. จากเดิมเป็นหน้าที่ของปลัดกรุงเทพมหานคร
  2. ผู้สมัครต้องจ่ายเงินค่าสมัครเพิ่มขึ้นจากเดิม 5,000 บาท เป็น 50,000 บาท
  3. คุณสมบัติผู้สมัคร จากที่เคยกำหนดให้มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพฯไม่น้อยกว่า 180 วัน เพิ่มเป็นต้องมีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯไม่น้อยกว่า 1 ปี
  4. หน่วยเลือกตั้งจะมีเพิ่มขึ้นจากเดิม 5,869 หน่วย ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น
  5. ห้ามผู้สมัครกระทำ จัดทำ ให้ โฆษณา จัดเลี้ยง หลอกลวง ก่อน กกต. ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน หากพบว่
  6. ผู้สมัครมีการฝ่าฝืน กกต. จะให้ใบแดง แต่หากตรวจหลักฐานคลุมเครือ และมีเหตุอันน่าเชื่อถือจะให้ใบเหลือง
  7. การเลือกตั้งครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่มีการแจกใบเหลือง ใบแดง จึงอาจมีการเลือกตั้งซ่อมได้
  8. การนับคะแนน จากที่เคยนับที่หน่วยเลือกตั้ง และส่งคะแนนให้ศาลาว่าการ กทม.ประกาศผล ก็เปลี่ยนเป็นนับรวมที่เขตปกครอง แล้วนำผลแต่ละเขตมารวมที่ศาลาว่าการ กทม. เพื่อประกาศผลนับคะแนน จากนั้นจึงส่งผลการนับคะแนนให้ กกต. ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ
  9. การประกาศผลการเลือกตั้ง จากเดิมเป็นหน้าที่ปลัดกรุงเทพมหานคร ต้องให้ กกต.กลางประกาศผลอย่างเป็นทางการ
  10. ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครแต่ละคน เดิมประเมินให้คนละไม่เกิน 21 ล้านบาท แต่ครั้งนี้คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 37 ล้านบาทต่อคน

 

พ.ศ. 2551 


ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551

 

  1.  นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พรรคประชาธิปัตย์ 991,018 45.93%
  2. นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ 340,616 15.79%
  3. ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ผู้สมัครอิสระ 260,051 12.05%
  4. นางลีนา จังจรรจา ผู้สมัครอิสระ 6,267 0.29%
  5. นายวิทยา จังกอบพัฒนา ผู้สมัครอิสระ 3,759 0.17%
  6. นายวราวุธ ฐานังกรณ์ ผู้สมัครอิสระ 2,771 0.13%
  7. ร้อยเอกเมตตา เต็มชำนาญ กลุ่มเมตตาธรรม 2,105 0.10%
  8. นายกิตติศักดิ์ ถิรวิศิษฎ์ ผู้สมัครอิสระ 2,102 0.10%
  9. นางสาววชิราภรณ์ อายุยืน พรรคสาธารณชน 1,140 0.05%
  10. นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล ทีมกรุงเทพ ฯ พัฒนา 1,079 0.05%
  11. นางธรณี ฤทธีธรรมรงค์ ผู้สมัครอิสระ 852 0.04%
  12. นายภพศักดิ์ ปานสีทอง ผู้สมัครอิสระ 811 0.04%
  13. นายอุดม วิบูลเทพาชาติ ผู้สมัครอิสระ 617 0.03%
  14. นายสมชาย ไพบูลย์ ผู้สมัครอิสระ 503 0.02%
  15. ว่าที่ พ.ต.นิพนธ์ ซิ้มประยูร ผู้สมัครอิสระ 421 0.02%

 

พ.ศ. 2552 


ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 11 มกราคม พ.ศ. 2552

  1. พรรคประชาธิปัตย์ (2) หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร 934,602 45.41
  2. พรรคเพื่อไทย (10) นายยุรนันท์ ภมรมนตรี 611,669 29.72
  3. อิสระ (8) หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล 334,846 16.27
  4. กลุ่มกรุงเทพฯ ใหม่ (12) (สนับสนุนโดย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง) นายแก้วสรร อติโพธิ 144,779 7.03
  5. อิสระ (3) นางลีนา จังจรรจา 9,043 0.439
  6. ทีมกรุงเทพฯ พัฒนา (1) นายสุเมธ ตันธนาศิริกุล 6,017 0.292
  7. พรรคสุวรรณภูมิ (14) (สนับสนุนโดย ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์) นายเอธัส มนต์เสรีนุสรณ์ 4,117 0.200
  8. อิสระ (9) นายวิทยา จังกอบพัฒนา 3,640 0.177
  9. อิสระ (5) นายกงจักร ใจดี 2,400 0.117
  10. อิสระ (11) นายธรรณม์ชัย รุ่งจิรโรจน์ 2,222 0.108
  11. อิสระ (4) นางธรณี ฤทธีธรรมรงค์ 1,875 0.091
  12. กลุ่มเมตตาธรรม (6) ร.อ.เมตตา เต็มชำนาญ 1,431 0.070
  13. อิสระ (7) นายอิสระ อมรเวช 922 0.045
  14. อิสระ (13) นายอุดม วิบูลเทพาชาติ 656 0.032

 

พ.ศ. 2556

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

  1. ประชาธิปัตย์ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร (16) 1,256,349 47.75 +2.34
  2. เพื่อไทย พล.ต.อ. พงศพัศ พงษ์เจริญ (9) 1,077,899 40.97 +11.25
  3. อิสระ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (11) 166,582 6.33 +6.33
  4. อิสระ สุหฤท สยามวาลา (17) 78,825 3.00 +3.00
  5. อิสระ โฆสิต สุวินิจจิต (10) 28,640 1.09 +1.09
  6. พรรคยางพาราไทย สุขุม วงประสิทธิ (19) 2,730 0.104 +0.104
  7. พรรคไทยพอเพียง จำรัส อินทุมาร (15) 2,594 0.099 +0.099
  8. อิสระ* สุเมธ ตันธนาศิริกุล (8) 2,537 0.096 −0.196
  9. อิสระ** สัณหพจน์ สุขศรีเมือง (6) 2,089 0.079 +0.079
  10. อิสระ ณัฏฐ์ดนัย ภูเบศอรรถวิชญ์ (7) 1,341 0.051 +0.051
  11. อิสระ วิละ อุดม (1) 1,314 0.050 +0.050
  12. อิสระ ร.อ. เมตตา เต็มชำนาญ (3) 1,301 0.049 −0.021
  13. อิสระ ประทีป วัชรโชคเกษม (14) 1,250 0.047 +0.047
  14. อิสระ ศ.ดร. จงจิตร์ หิรัญลาภ (12) 1,194 0.045 +0.045
  15. อิสระ โสภณ พรโชคชัย (4) 1,128 0.043 +0.043
  16. อิสระ ธรณี ฤทธีธรรมรงค์ (21) 922 0.035 −0.056
  17. อิสระ สมิตร สมิทธินันท์ (5) 697 0.026 +0.026
  18. อิสระ วศิน ภิรมย์ (13) 650 0.025 +0.025
  19. อิสระ วรัญชัย โชคชนะ (2) 638 0.024 +0.024
  20. อิสระ นันท์นภัส โกไศยกานนท์ (18) 634 0.024 +0.024
  21. อิสระ ศุภชัย เขษมวงศ์ (22) 464 0.018 +0.018
  22. อิสระ พ.ต.อ. ขจรศักดิ์ โกษะโยธิน (25) 461 0.018 +0.018
  23. อิสระ กฤษณ์ สุริยผล (20) 273 0.010 +0.010
  24. อิสระ วิทยา จังกอบพัฒนา (24) 266 0.010 −0.167
  25. อิสระ รวิวรรณ สุทธวิรีสรรค์ (23) 112 0.004 +0.004

 

พ.ศ.2565 เลือกตั้งผู้ว่าฯ เมื่อไหร่?

มีการคาดการณ์ว่าจะเกิดขึ้นในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ จากผลสำรวจนิด้าโพล ที่ออกมาสำรวจความคิดเห็นจากประชาชน เลือก ผู้ว่าฯกทม.คนใหม่ โดย 5 อันดับแรก ได้แก่

 

  1. อันดับ 1 ร้อยละ 27.71 ระบุว่าเป็น ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
  2. อันดับ 2 ร้อยละ 24.60 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ
  3. อันดับ 3 ร้อยละ 15.49 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ตัดสินใจไม่ลงสมัคร)
  4. อันดับ 4 ร้อยละ 9.57 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกทม.คนปัจจุบัน
  5. อันดับ 5 ร้อยละ 5.24 ระบุว่าเป็น ผู้สมัครจากคณะก้าวหน้า หรือ พรรคก้าวไกล

 

อำนาจหน้าที่ของ ผู้ว่าฯ กรุงเทพ คือ?


ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528[4] ในมาตรา 49 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. กำหนดนโยบาย บริหารราชการของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมาย
  2. สั่ง อนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
  3. แต่งตั้งและถอดถอน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการ เพื่อปฏิบัติราชการใดๆ
  4. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
  5. วางระเบียบ เพื่อให้งานของกรุงเทพมหานคร เป็นไปโดยเรียบร้อย
  6. รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
  7. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (เช่น การเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการ และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 50 การเสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 98 เป็นต้น)และตามที่กฎหมายอื่นกำหนดไว้ (เช่น อำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี ตามมาตรา 50 เป็นต้น)

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง