รีเซต

รู้จัก! สกาลา โรงหนังที่เหลือแต่ซาก แต่อยู่ในความทรงจำ

รู้จัก! สกาลา โรงหนังที่เหลือแต่ซาก แต่อยู่ในความทรงจำ
TeaC
2 พฤศจิกายน 2564 ( 15:26 )
1.1K

ปิดตำนานธุรกิจโรงภาพยนตร์สแตนด์อโลนขนาด 1,000 ที่นั่ง สำหรับ "โรงภาพยนตร์สกาลา" (SCALA) ที่ถูกปิดฉากทุบทิ้งเหลือแต่ซากไปแล้วเมื่อวันที่ 1 พ.ย.64 ที่ผ่านมา ซึ่งต้องยกให้เป็นโรงหนังที่มีเอกลักษณ์ มีเสน่ห์เฉพาะและความบันเทิงที่อยู่คู่กับสยามสแควร์มาอย่างยาวนานเกือบ 70 ปีเลยทีเดียว วันนี้ TreuID จะพาย้อนความทรงจำและทำความรู้จักโรงหนังที่ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น "ราชาแห่งโรงหนังสยาม" 

 

โรงหนังสกาลา เป็นหนึ่งในกลุ่มโรงภาพยนตร์เครือเอเพ็กซ์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สยามสแควร์ เชื่อว่าหลายคนต้องคุ้นเคยและอาจเติบโตมาพร้อมความรุ่งเรืองกันดี อาทิ โรงภาพยนต์ศาลาเฉลิมไทย โรงภาพยนต์สยาม โรงภาพยนต์ลิโด้ เป็นต้น โดยโรงภาพยนต์เครือเอเฟ็กซื จดทะเบียนธุรกิจในนาม "สยามมหรสพ" มีทุนจดทะเบียนร่วม 20 ล้านบาท จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2511 โดยปัจจุบันโรงภาพยนตร์ทั้ง 4 แห่งปิดตัวทั้งหมดแล้ว

 

โรงภาพยนตร์ 4 แห่งปิดตัวลง

  1. โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย ถูกทุบทิ้งใน พ.ศ. 2532
  2. โรงภาพยนตร์สยาม ถูกวางเพลิงจนเสียหายหมดทั้งอาคารจากการชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่ปี พ.ศ. 2553 และแปลงสภาพเป็นสยามสแควร์วันในเวลาต่อมา
  3. โรงภาพยนตร์ลิโด ที่ปิดตัวเพราะหมดสัญญาเช่ากับทางจุฬาฯ ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
  4. โรงภาพยนตร์สกาล่า ที่เป็นโรงภาพยนตร์แห่งสุดท้ายได้ปิดตัวลงในวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เนื่องจากการระบาดทั่วประเทศของโควิด-19 และต้นทุนที่สูงขึ้น แม้ว่าสัญญาเช่าพื้นที่จะสิ้นสุดใน พ.ศ. 2564 ก็ตาม ก่อนที่จะถูกรื้อถอนเมื่อ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

 

เสนห์และเอกลักษณ์ของ "สกาล่า"

สกาลา ถูกออกแบบโดย พันเอกจิระ ศิลป์กนก ชื่อโรงภาพยนตร์ตั้งชื่อตามโรงอุปรากร Teatro alla Scala แห่งเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี โดยคำว่า Scala มีความหมายว่า บันได ในภาษาอิตาลี โรงภาพยนตร์ออกแบบในศิลปะอาร์ตเดโค ภายในมีเสาคอนกรีตโค้ง การผสมผสานกันระหว่างวัฒนธรรมตะวันออกกับตะวันตก และโคมฟ้าระย้าทรงหยดนํ้าค้างแข็ง 5 ชั้นขนาดยักษ์ที่สั่งตรงจากอิตาลี ในปี 2555 สกาล่าได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรมดีเด่น พ.ศ. 2555 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ บริเวณหน้าทางเข้าโรงหนังมีปูนปั้นลอยตัวที่แสดงถึงความบันเทิงของเอเชีย ซึ่งมีทั้งบาหลี ญี่ปุ่น จีน อินเดีย ไทย รวมอยู่บนผนัง

 

และนี่คืออีกหนึ่งตำนานที่เป็นนความทรงจำปนความเสียดายตอประวัติศาตร์ ทั้งแง่มุมธุรกิจโรงภาพยนตร์ รวมทั้งแง่มุมความทรงจำของแฟนภาพยนต์มากมายที่มาใช้บริการจากสถานที่แห่งนี้ ถือว่าเป็นสถานที่ที่ต้องยกให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่เติบโตมาด้วยกัน เมื่อวันนี้แม้จะไม่มี "สกาลา" แต่เชื่อว่าภาพซุ้มโค้ง เสา บันได โคมไฟ ทุกอย่างล้วนอยู่ในความทรงจำต่อไป 

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

ภาพ : ข่าวสด

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ข่าวที่เกี่ยวข้อง