รีเซต

เช้านี้จับตายานอวกาศชนดาวเคราะห์น้อย การทดสอบภารกิจปกป้องโลก "DART"

เช้านี้จับตายานอวกาศชนดาวเคราะห์น้อย การทดสอบภารกิจปกป้องโลก "DART"
TNN ช่อง16
26 กันยายน 2565 ( 23:19 )
101

ในวันที่ 26 กันยายน 2022 เวลา 2 ทุ่ม 14 นาที ตามเวลาสหรัฐอเมริกา หรือช่วงเช้าของวันที่ 27 กันยายน 2022 เวลา 6 โมง 14 นาที  ยานอวกาศดาร์ท (DART) ของภารกิจดาร์ท (DART Mission) จะชนเข้ากับดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอส (Dimorphos) ดาวเคราะห์น้อยบริวารโคจรคู่กับดาวเคราะห์น้อยดิดิมอส (Didymos) ซึ่งจะมีการถ่ายทอดสดให้ชมผ่านนาซาดอททีวี (NASA.TV) 

การเดินทางของยานอวกาศดาร์ท 

โดยยานอวกาศดาร์ทได้รับการส่งขึ้นสู่อวกาศด้วยจรวดฟัลคอน 9 (Falcon 9) ของบริษัท สเปซเอ็กซ์ (SpaceX) เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2021 เพื่อทดสอบการใช้ยานอวกาศกระแทกวัตถุเป้าหมายด้วยความเร็วประมาณ 14,760 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือประมาณ 23,760 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดการเปลี่ยนวงโคจรของดาวเคราะห์น้อย อันเป็นการทดสอบการป้องกันดาวเคราะห์ครั้งแรกในลักษณะเดียวกัน


"ไดมอร์ฟอส" ดาวเคราะห์น้อยเป้าหมาย 

สำหรับดาวเคราะห์น้อยไดมอร์ฟอส ซึ่งเป็นดาวเคราะห์น้อยเป้าหมาย มีความกว้างประมาณ 560 ฟุต หรือประมาณ 170 เมตร  มีคาบการโคจรรอบดาวเคราะห์น้อยแม่ดิดิมอสที่ 11 ชั่วโมง 55 นาที อยู่ห่างจากโลกของเราประมาณ 7 ล้านไมล์ หรือประมาณ 9.6 ล้านกิโลเมตร ซึ่งไม่มีความเสี่ยงที่จะชนกับโลก และอยู่ในระยะที่ไม่ใกล้และไม่ไกลกับโลกจนเกินไป จึงถูกเลือกให้เป็นเป้าหมายสำหรับการทดลองพุ่งชนดาวเคราะห์น้อยด้วยยานอวกาศ เพราะหากเราทดลองให้ยานอวกาศพุ่งชนกับวัตถุที่อยู่ใกล้โลก เช่น ดวงจันทร์ (สมมุติ) เมื่อเกิดผลลัพธ์ข้างเคียงที่เราไม่ต้องการ อย่างการที่วัตถุเป้าหมายแตกออกเป็นเสี่ยง ๆ ผลที่ตามมา คือ เศษเสี้ยวบางส่วนเหล่านั้นจะถูกแรงโน้มถ่วงของโลกดึงดูดเข้ามาที่พื้นผิวโลก ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินบนโลกได้ 


โดยการทดลองให้ยานอวกาศพุ่งชนดาวเคราะห์น้อย เป็นไปเพื่อนำวิธีการเดียวกันนี้มาใช้ปกป้องโลกจากการถูกพุ่งชนของวัตถุขนาดใหญ่ในอวกาศ อย่างดาวเคราะห์น้อย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต


“จากการวางแผนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 25 กันยายน ที่ผ่านมา (26 กันยายน ตามเวลาประเทศไทย) ประมาณ 24 ชั่วโมงก่อนการชน ทีมนำทางจะทราบตำแหน่งของเป้าหมายไดมอร์ฟอสที่ 2 กิโลเมตร ซึ่งหลังจากจุดนั้น ยานอวกาศจะเดินทางด้วยตัวเองไปสู่การชนกับดาวเคราะห์น้อย” - แถลงการณ์จากนาซา (NASA)


ข้อมูลและภาพจาก www.space.com

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง