รีเซต

ศุภชัย เจียรวนนท์ ต้นแบบนักบริหารธุรกิจสะท้อนการเปลี่ยนแปลง สู่แนวทางการฟื้นตัวสู้โควิด-19

ศุภชัย เจียรวนนท์ ต้นแบบนักบริหารธุรกิจสะท้อนการเปลี่ยนแปลง สู่แนวทางการฟื้นตัวสู้โควิด-19
TrueID
17 มิถุนายน 2563 ( 09:45 )
485
ศุภชัย เจียรวนนท์ ต้นแบบนักบริหารธุรกิจสะท้อนการเปลี่ยนแปลง สู่แนวทางการฟื้นตัวสู้โควิด-19

 

“ This is a time we show our children that the very basics of our existence is to help and to take care of each other. ” (นี่เป็นเวลาที่เราจะแสดงให้ลูกหลานของเราเห็นว่า สิ่งที่เป็นรากฐานของการดำรงอยู่ คือ การช่วยเหลือ และดูแลซึ่งกันและกัน) - คุณศุภชัย เจียรวนนท์ 



 

จากในงานประชุมสุดยอดผู้นำด้านความยั่งยืนบนเวทีโลกในงาน UN Global Compact Virtual Leaders Summit 2020 เมื่อวันที่ 15 - 16 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมา ในการประชุมใหญ่ครั้งนี้ได้มี คุณศุภชัย เจียรวนนท์ เป็นประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (Chief Executive Officer CP Group) และเป็นนายกสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย ผู้นำเพียงคนเดียวในภูมิภาคเอเชียได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ระดับโลกถึงเรื่องการบริหารงานในช่วงวิกฤตโควิด-19 ในการตั้งรับกับผลสะท้อนของการเปลี่ยนแปลง และแนวทางสู่การฟื้นตัว ซึ่งการตอบคำถามจากตัวแทนและผู้ชมของ คุณศุภชัย เจียรวนนท์ ได้สะท้อนให้เห็นถึงการทำธุรกิจที่เป็นต้นแบบที่ดีอีกด้วย

 

คุณได้ทำอะไรในฐานะที่เป็นภาคธุรกิจในเอเชีย ช่วยอธิบายหน่อยว่า คุณสู้และรับมือกับไวรัสโควิด-19 ในตอนนี้อย่างไร?

 

สำหรับเราแล้ว สิ่งแรกคือ ในฐานะที่เราเป็นภาคเอกชน เราต้องดูแลรักษาอาชีพ (Maintain Jobs) และคงหน้าที่การงานของผู้คนเอาไว้ อย่างที่สอง เราต้องมองโลกในแง่ดี ในการทำให้ธุรกิจของเราดำเนินต่อไป การปลดพนักงานหรือเลิกจ้าง (Lay off) จะเป็นทางเลือกสุดท้าย การให้ความมั่นคงในหน้าที่การงานกับคนของเรา เป็นสิ่งแรกในแนวคิดริเริ่มของเรา ซึ่งได้ประกาศให้คนใน CP Group ได้ทราบแล้ว และมันยังเป็นไปตามคำแนะนำของรัฐบาล คือ การพยายามที่จะคงหน้าที่การงานของผู้คนไว้ และเรื่องของความต่อเนื่องของธุรกิจ

 

 

เรายังมีความคิดริเริ่มที่จะช่วยเหลือ ซึ่งมาจากจุดแข็งของเราที่เราเป็นบริษัทด้านอาหาร เราได้บริจาคอาหารให้กับโรงพยาบาล 90 แห่งที่ให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด และยังส่งไปถึงคุณหมอ พยาบาล รวมถึงครอบครัวของพวกเขาด้วย เพราะพวกเขาเหล่านั้นจะต้องอยู่ห่างจากครอบครัว มันจึงเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากสำหรับพวกเขา เราจึงอยากจะช่วยเหลือ ฮีโร่ของเรา ที่เสียสละ เพื่อสู้กับไวรัสโควิด

 

อย่างที่สอง เราได้ช่วยผู้คนในการผลิตหน้ากากอนามัย เราสร้างโรงงานผลิตหน้ากากในเวลาเพียง 5 สัปดาห์ เพราะเรามีความรู้เกี่ยวกับการสร้างโรงงานด้านอาหาร เราจึงรู้ถึงวิธีการสร้างโรงงานที่มีมาตรฐานสูง และเราได้ทำการบริจาคหน้ากากทั้งหมดที่โรงงานผลิตได้ 3 ล้านชิ้นต่อเดือนให้กับโรงพยาบาล

 

เกี่ยวกับแนวทางสำหรับธุรกิจ ดังเช่น ธุรกิจของคุณ ผู้นำหรือประธานองค์กรสามารถทำอะไร เพื่อสร้างการพัฒนาให้เกิดขึ้น แม้ว่าเรายังคงต้องรับมือกับโรคระบาดอยู่?

 

เราไม่ต้องลืมความจริงที่ว่า ในวันหนึ่ง ไวรัสโควิด-19 จะหายไป เราจะหาทางที่จะจัดการกับมัน ซึ่งเราก็กำลังทำอยู่ในตอนนี้ แต่ในภาพที่ใหญ่กว่า มันยังมีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่จะส่งผลกระทบกับเศรษฐกิจของโลก เช่น ภาวะโลกร้อน ปัญหาขยะ มลพิษทางอากาศ ฯลฯ เหล่านี้เป็นปัญหาที่เราก็ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน และในฐานะที่เราเป็นภาคเอกชน เราต้องพยายามช่วยเหลือตัวเอง ขณะเดียวกันก็ทำงานร่วมกับรัฐบาลด้วย

 

สิ่งที่ผมพูดกับภาคเอกชนด้วยกันเสมอ คือ วิกฤตการณ์ มาพร้อมโอกาสที่ดี และเราสามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจ เปลี่ยนแปลงวัฒนกรรมในองค์กรของเรา เราจะอบรมฝึกฝนผู้นำของเรา ให้มีความคิดริเริ่มมากขึ้น เสียสละมากขึ้น รวมถึงกำลังพลของเราด้วย

 

เราต้องพยายามทำให้ดีที่สุดในสถานการณ์นี้ และเราต้องมีแผนการ เรามองหาว่าเราจะเผชิญหน้ากับวิกฤตการณ์นี้อย่างไร และเตรียมตัวให้พร้อม ยกตัวอย่าง เช่น ตัดงบประมาณลงมา (Cutting Cost) ขณะเดียวกันก็ยังคงรักษาหน้าที่การงานของผู้คนเอาไว้ให้ได้มากที่สุด และในเวลาเดียวกัน ก็ไม่หยุดการลงทุน อย่าสูญเสียความมั่นใจไป แม้ว่าพายุจะกระหน่ำเข้ามา 1 ปี หรือ 2 ปี แต่ท้ายที่สุดแล้ว มันจะจบสิ้นลง

 

ความตกต่ำของเศรษฐกิจ นั้นเกิดขึ้น ก็เพราะผู้คนหรือ ภาคเอกชนเสียความมั่นใจในการลงทุน ดังนั้นเราต้องมองสิ่งต่างๆ ในระยะกลาง หรือระยะยาว สำหรับเรา เราวางแผนธุรกิจของเราอย่างที่เคยเป็นมา คือ เราต้องกล้าหาญมากขึ้นในตอนนี้ เพื่อที่เราจะได้รวบรวมและระดมพลในทรัพยากรของเรา

 

คำถามจากผู้ชม : เกี่ยวกับกฎเกณฑ์, เราต้องปรับปรุงขอบเขตของกฎเกณฑ์เพื่อปกป้อง กฎเกณฑ์เป็นกลไกการป้องกันของสาธารณชน รวมถึงบริษัทที่ใส่ใจหรือให้ความสำคัญกับกฎเกณฑ์น้อย นั่นคือการบอกว่า พวกเขาใส่ใจกับการป้องกันของสาธารณชนน้อย ดังนั้นการปรับปรุงขอบเขตของกฎเกณฑ์ขึ้นใหม่ คือ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม คุณคิดว่า กฎเกณฑ์ จะช่วยพวกเราได้ สำหรับการพัฒนาใน 10 ปีต่อจากนี้หรือไม่?

 

นี่เป็นโอกาสอันดี ในการสร้างการเปลี่ยนแปลงสำหรับหลายสิ่งหลายอย่าง ถ้าไม่เกิดวิกฤตการณ์ของโรคระบาดครั้งนี้กับพวกเรา ภาคเอกชนและภาครัฐบาลคงไม่ได้มองเห็นในเรื่องนี้

 

พูดถึงเรื่องของกฎเกณฑ์ กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ช่วยในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ สร้างอาชีพให้คนว่างงาน และพูดถึงเรื่องของโอกาส การศึกษา กำลังพลในอนาคต การเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้ สามารถเกิดขึ้นได้ในตอนนี้เลย รัฐบาลควรใช้โอกาสนี้ในการผลักดันไปสู่การเปลี่ยนแปลง นี่เป็นเวลาที่ทุกหน่วยงานรวมถึงผู้คนต่างเปิดใจที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก รวมทั้งภาคเอกชนในทุกๆ อุตสาหกรรมเลย ดังนั้นผมจึงคิดว่า นี่เป็นเวลาที่ดีจริงๆ ในการที่จะผลักดันไปสู่การเปลี่ยนแปลงทุกอย่าง

 

ผมเชื่อในความรัก และความเห็นอกเห็นใจ ผมให้ความสำคัญในเรื่องการศึกษา และสร้างการตระหนักรู้ ตามหลักการ ผมคิดว่าภาคเอกชนทุกภาคส่วน ควรรายงานเป้าหมายของพวกเขาในเรื่อง การทำให้ขยะเป็นศูนย์ ปริมาณการแพร่กระจายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ สิทธิมนุษยชน ฯลฯ ผมเห็นด้วยกับเรื่องนั้น และมันควรจะเป็นรายงานในเชิงบวก ซึ่งมันสามารถใช้เพื่อสอนเด็กๆ เนื่องจากเราสามารถอธิบายตรรกะด้วยเหตุและผล ผมเห็นด้วยกับหลักการ พวกเขาควรสร้างการรับรู้ให้กับทุกคนในเรื่องของความยั่งยืน ให้เหมือนกับที่ให้ความสำคัญในเรื่องของการกำกับดูแล

 

เกี่ยวกับเศรษฐกิจนอกระบบ และแรงงานรายวัน พวกเขาจะสามารถมีรายได้ที่ยั่งยืนได้อย่างไร

 

ในฐานะ CEO ของบริษัท สิ่งแรกคือ คุณต้องเข้าใจในภาพที่ใหญ่กว่า รู้ว่าคือต้นทุนของธุรกิจของคุณ ไม่ใช่แค่ต้นทุนโดยตรงคุณสามารถมองเห็นมันได้ แต่รวมถึงต้นทุนที่มาจากสังคม มาจากภาวะทางการเมือง และมาจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ดังนั้นคุณต้องรับผิดชอบถึงความปลอดภัยของงานด้วย

 

ในความจริงแล้ว ผมคิดว่า การทำให้ภาคเอกชนตระหนักรู้ในส่วนของความรับผิดชอบนี้ต่อสังคม มันคือการที่ภาคเอกชนให้การอบรมพนักงานต่อไปอย่างไร เพิ่มพูนทักษะต่างๆ ให้กับพนักงาน และไม่เพียงเท่านั้น ไม่ใช่แค่การปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ แต่ต้องทำมากกว่านั้น พวกเขาชดเชยให้กับพนักงานอย่างไร ถ้าพวกเขาออกจากบริษัทไป

 

ในความเป็นจริงแล้ว ภาคเอกชนที่ทำการเลิกจ้างงาน ควรมีความรับผิดชอบในการสอดส่องดูว่า คนกลุ่มนั้นสามารถหางานใหม่ที่เหมาะกับความถนัด และทักษะของพวกเขาได้หรือไม่ ภาคเอกชนควรเป็นสถาบันในเวลาเดียวกัน เป็นสถานที่ที่ให้ความรู้และให้การศึกษา แล้วให้พนักงานเป็นเหมือนนักเรียน ฝึกสอนให้พวกเขาได้รู้และสามารถหางานใหม่ของเขาได้

 

ในเวลา 30 วินาที ซึ่งโดยปกติแล้วก็คือ 1 ประโยค ช่วยบอกหน่อยว่า ในเวลานี้ คุณจะนำทางอย่างไร เพื่ออยู่ในเส้นทางของ SCGs สำหรับธุรกิจของคุณ แต่ยังคงก้าวไปข้างหน้า เพื่อไปยังทุกที่ที่ต้องการ

 

"นี่เป็นเวลาที่เราจะแสดงให้ลูกหลานของเราเห็นว่า สิ่งที่เป็นรากฐานของการดำรงอยู่ คือ การช่วยเหลือ และดูแลซึ่งกันและกัน" นี่คือวิธีการที่เราควรใช้นำทาง ซึ่งรวมถึงการนำไปใช้ในบริษัทด้วยเช่นกัน

 

การทำธุรกิจไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อเจอกับเหตุการณ์โรคระบาดที่ทำให้เศรษฐกิจตกต่ำ การปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญ และต้องอย่าลืมใส่ใจพนักงานและปัจจัยอื่น ๆ ที่มีด้วย และเมื่อธุรกิจดำเนินไปได้ดีแล้ว การตอบแทนพัฒนาเพื่อสังคมก็ไม่ควรมองข้าม เพราะการช่วยเหลือ การดูแลซึ่งกันและกันเป็นพื้นฐานสำคัญของมนุษย์ สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นต้นแบบในการทำธุรกิจที่ดี และพัฒนาต่อไปในภายภาคหน้า

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง