รีเซต

Microflier หุ่นยนต์บินขนาดเล็กที่สุดในโลกเลียนแบบเมล็ดพืช

Microflier หุ่นยนต์บินขนาดเล็กที่สุดในโลกเลียนแบบเมล็ดพืช
TNN ช่อง16
28 กันยายน 2564 ( 23:40 )
72
Microflier หุ่นยนต์บินขนาดเล็กที่สุดในโลกเลียนแบบเมล็ดพืช

ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น ประเทศสหรัฐอเมริกาวิจัยพัฒนาไมโครฟลิเออร์ (Microflier) หุ่นยนต์บินขนาดเล็กที่สุดในโลก สิ่งประดิษฐ์บินได้ที่เล็กที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างขึ้นมาที่สามารถบินได้ความท้าทายทางด้านวิศวกรรมการบินครั้งสำคัญในการพัฒนาหุ่นยนต์บินได้ที่มีขนาดเล็กระดับมิลลิเมตรติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทีมงานได้ตีพิมพ์รายงานการวิจัยพัฒนาดังกล่าวในวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ Nature ฉบับวันที่ 23 กันยายนที่ผ่านมา


หุ่นยนต์ไมโครฟลิเออร์ (Microflier) มีขนาดเล็กประมาณ 1 ใน 3 ของมดหรือแมลงขนาดเล็ก การออกแบบโครงสร้างมีลักษณะคล้ายกับเมล็ดใบพัดของต้นเมเปิล บริเวณตรงกลางตรงของหุ่นยนต์มีลักษณะเป็นวงกลมติดตั้งไมโครชิฟวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ด้านนอกติดตั้งใบพัดขนาด 3 ชิ้นเพื่อช่วยในการหมุนและทรงตัวกลางอากาศ การออกแบบทั้งหมดของหุ่นยนต์เป็นไปตามหลักอากาศพลศาสตร์เลียนแบบการร่วงหล่นของเมล็ดของต้นเมเปิลจากลำต้นที่สูงค่อย ๆ ร่อนไปในอากาศกระจายเป็นวงกว้างสู่พื้นดินด้านล่าง


เป้าหมายของการพัฒนาหุ่นยนต์ไมโครฟลิเออร์ (Microflier) ทีมงานวิจัยต้องการพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์บินติดตั้งระบบอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กเพื่อใช้ในการตรวจสอบสภาพอากาศ เชื้อโรคในอากาศหรือติดตามการระบาดของโรคในสถานที่ต่าง ๆ รวมไปถึงการวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถบินรวมกันเป็นฝูงขนาดใหญ่เลียนแบบการบินของแมลงในธรรมชาติหนึ่งในสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่สามารถบินได้บนโลก


เนื่องจากหุ่นยนต์มีขนาดเล็กทำให้ส่วนประกอบที่เป็นไมโครชิฟวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เซ็นเซอร์ แบตเตอรี่ ระบบการติดต่อสื่อสารจะต้องได้รับการปรับแต่งให้มีขนาดเล็กกว่าปกติ ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์นได้รับความร่วมมือจากห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยอิลินอยส์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการทดสอบลักษณะการบินของหุ่นยนต์ นอกจากขนาดที่เล็กของหุ่นยนต์ทีมนักวิจัยยังพยายามพัฒนาโครงสร้างของหุ่นยนต์ที่สร้างจากสารชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ


หากผลการวิจัยพัฒนาหุ่นยนต์ไมโครฟลิเออร์ (Microflier) ได้รับการพัฒนาต่อยอดอาจสามารถสร้างหุ่นยนต์บินขนาดเล็กจำนวนมากที่สามารถทำภารกิจร่วมกันเป็นกลุ่มใหญ่ เช่น การปล่อยหุ่นยนต์จากเครื่องบินเพื่อสำรวจพื้นที่ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ เทคโนโลยีไมโครชิฟอิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ระบบการสื่อสารเพื่อใช้งานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งสามารถลดข้อจำของอุปกรณ์การสำรวจที่มีขนาดใหญ่และเก็บข้อมูลได้ในปริมาณที่มากกว่า




แหล่งที่มา  scitechdaily.com  , nature.com  

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง