รีเซต

เรือบรรทุกเครื่องบินสัญลักษณ์อำนาจทางการทหาร

เรือบรรทุกเครื่องบินสัญลักษณ์อำนาจทางการทหาร
TNN ช่อง16
26 มิถุนายน 2565 ( 01:04 )
207
เรือบรรทุกเครื่องบินสัญลักษณ์อำนาจทางการทหาร

เรือบรรทุกเครื่องบินหนึ่งในสัญลักษณ์อำนาจด้านการทหารของประเทศมหาอำนาจของโลก โดยมีกองเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐอเมริกาที่มีขนาดใหญ่มากที่สุด ประวัติศาสตร์การรบในสงครามหลายครั้งที่ผ่านมายืนยันความสำคัญของเรือบรรทุกเครื่องบินได้เป็นอย่างดี 


เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz-Class กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา


เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz-Class ประกอบด้วยเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่ทั้งหมด 10 ลำ กระจายอยู่บริเวณฐานทัพต่าง ๆ ทั่วโลก เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นใช้พลังงานนิวเคลียร์ประจำการครั้งแรกในปี 1975 จนถึงปัจจุบัน ความยาวของตัวเรือประมาณ 332.8 เมตร ระวางขับน้ำ 101,600–106,300 ตัน ความเร็ว 30 นอต จำนวนเครื่องบิน 85–90 ลำ ทั้งนี้จำนวนเครื่องบินและรายละเอียดอื่น ๆ ของเรือทั้ง 10 ลำ อาจแตกต่างกันเล็กน้อย


เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Gerald R. Ford class กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา


เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Gerald R. Ford class เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์ยุคใหม่ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้งานทดแทนเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz-Class จำนวนเรือบรรทุกเครื่องบิน 1 ลำ (แผน 10 ลำ) โครงสร้างของเรือมีความยาว  333 เมตร ระวางขับน้ำ 100,000 ตัน ความเร็ว 30 นอต จำนวนเครื่องบิน 75 ลำ นอกจากประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเรือบรรทุกเครื่องบินในชั้น Gerald R. Ford class ได้มีการนำเครื่องปล่อยเครื่องบินพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้งานจากเดิมที่ใช้ระบบไอน้ำซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพในการรบเพิ่มมากขึ้น


เรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning Type 001 และ Shandong Type 002 กองทัพเรือจีน


เรือบรรทุกเครื่องบินทั้ง 2 ลำ ของกองทัพเรือจีน เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานน้ำมัน ใช้เนินสกีจัมป์ (Ski-Jump) ในการปล่อยเครื่องบินขึ้นสู่อากาศ โครงสร้างของเรือมีความยาว  305 เมตร ระวางขับน้ำ 60,000–70,000 ตัน ความเร็ว 31 นอต จำนวนเครื่องบิน 36 ลำ ทั้งนี้เรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning Type 001 และ Shandong Type 002 มีรายละเอียดที่แตกต่างกันแม้โครงสร้างภายนอกจะมีความคล้ายกัน


เรือบรรทุกเครื่องบิน Fujian Type 003 กองทัพเรือจีน


เรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ล่าสุดของกองทัพเรือจีนที่เพิ่งปล่อยลงน้ำไปในช่วงเดือนมิถุนายน เรือบรรทุกเครื่องบินรุ่นนี้ยังใช้พลังงานน้ำมันอยู่แต่มีการเครื่องปล่อยเครื่องบินพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้ามาใช้งาน เช่น เดียวกับเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Gerald R. Ford class ของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา โครงสร้างของเรือมีความยาว 300 เมตร ระวางขับน้ำ 80,000 ตัน ความเร็ว - นอต จำนวนเครื่องบินกองทัพเรือจีนยังไม่เปิดเผยตัวเลข


เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Queen Elizabeth-class กองทัพเรือสหราชอาณาจักร


เรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนี้มีเรือบรรทุกเครื่องบิน 2 ลำ คือ เรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Queen Elizabeth (R08) และ เรือบรรทุกเครื่องบิน HMS Prince of Wales (R09) ใช้เนินสกีจัมป์ (Ski-Jump) ในการปล่อยเครื่องบินขึ้นสู่อากาศ โครงสร้างตัวเรือความยาว 280 เมตร ระวางขับน้ำ 65,000-72,000 ตัน ความเร็ว 25 นอต จำนวนเครื่องบิน 40 ลำ แม้จะเป็นเรือฝาแฝดกันแต่เรือทั้ง 2 ลำมีรายละเอียดต่างกันเล็กน้อย


เรือบรรทุกเครื่องบิน Admiral Kuznetsov กองทัพเรือรัสเซีย


ปัจจุบันในกองทัพรัสเซียมีเรือบรรทุกเครื่องบินชั้นนี้ประจำการเพียง 1 ลำ จากเดิมที่มีหลายลำในยุคสหภาพโซเวียต ใช้เนินสกีจัมป์ (Ski-Jump) ในการปล่อยเครื่องบินขึ้นสู่อากาศ ความยาว 305 เมตร ระวางขับน้ำ 58,600 ตัน ความเร็ว 29 นอต จำนวนเครื่องบิน 30 ลำ


เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikramaditya กองทัพเรืออินเดีย


เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikramaditya กองทัพเรืออินเดียใช้วิธีการจัดซื้อต่อมือสองจากกองทัพเรือรัสเซีย ชื่อเดิมของเรือบรรทุกเครื่องบินลำนี้ คือ  Admiral Gorshkov เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานน้ำมันใช้เนินสกีจัมป์ (Ski-Jump) ในการปล่อยเครื่องบินขึ้นสู่อากาศ โครงสร้างตัวเรือความยาว   284 เมตร ระวางขับน้ำ 45,400 ตัน ความเร็ว 30 นอต จำนวนเครื่องบิน 36 ลำ


เรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle กองทัพเรือฝรั่งเศส


เรือบรรทุกเครื่องบินลำเดียวของกองทัพเรือฝรั่งเศสและเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำเดียวที่ไม่ใช่กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่ใช้เครื่องสร้างแรงดันไอน้ำปล่อยเครื่องบินขึ้นสู่ท้องฟ้า ระบบขับเคลื่อนใช้พลังงานน้ำมัน โครงสร้างตัวเรือความยาว 261.5 เมตร ระวางขับน้ำ 42,500 ตัน ความเร็ว 27 นอต จำนวนเครื่องบิน 30-40 ลำ ชื่อของเรือตั้งเพื่อเป็นเกียรติให้กับนายพลชาร์ล เดอ โกล ผู้นำการต่อสู้เพื่อฝรั่งเศสในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

 

ที่มาของข้อมูล news.cgtn.com 

ที่มาของรูปภาพ Wikipedia.org

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง