รีเซต

เช็กเงื่อนไข “ล็อกดาวน์” งดเดินทางข้ามจังหวัดและห้ามเดินทางนอกเคหสถาน

เช็กเงื่อนไข “ล็อกดาวน์” งดเดินทางข้ามจังหวัดและห้ามเดินทางนอกเคหสถาน
Ingonn
12 กรกฎาคม 2564 ( 11:35 )
5K
เช็กเงื่อนไข “ล็อกดาวน์” งดเดินทางข้ามจังหวัดและห้ามเดินทางนอกเคหสถาน

 

เริ่มแล้ววันนี้! งดเดินทางข้ามจังหวัดและห้ามเดินทางนอกเคหสถาน หลัง ศบค. ประกาศ “ล็อกดาวน์” 10 จังหวัดพื้นที่พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึง 04.00 น. หากฝ่าฝืนให้มีบทลงโทษตามแห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558

 

 

เนื่องจากยังคงมีบางกลุ่มอาชีพ สามารถเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ ในช่วงเวลาล “ล็อกดาวน์” ได้ TrueID จึงพามาเช็กเงื่อนไขการเดินทางข้ามจังหวัดและการเดินทางนอกเคหสถาน ว่าใครสามารถทำได้บ้าง พร้อมขั้นตอนการขอเอกสารขอเดินทางอย่างถูกกฎหมาย สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางช่วงล็อกดาวน์

 

 

 

ศบค. ยกระดับมาตรการควบคุมโควิด-19 (ระยะเวลา 14 วัน)

 

พื้นที่ 10 จังหวัดตามกฎหมายกำหนด

 

1.กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล ได้แก่ จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร

 

 

2.จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา

 

 

 

มาตรการห้ามเดินทางนอกเคหสถาน

 

การห้ามออกนอกเคหสถาน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้นตามข้อ 4 ห้ามบุคคลใดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลได้แก่ จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาครและจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลาออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา 21.00 - 04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น ต่อเนื่องเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วันนับแต่วันที่ข้อกำหนดฉบับนี้ใช้บังคับ

 

 

ด้านหน่วยงานด้านความมั่นคงจัดตั้งจุดตรวจจุดสกัด และชุดลาดตระเวน เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติอย่างเข้มงวด ทั้งนี้ผู้ใดฝ่าฝืนให้มีบทลงโทษตามแห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 และ พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558

 

 

 

กลุ่มยกเว้น ออกนอกเคหสถานในพื้นที่ 10 จังหวัดตามกฎหมาย

 

1.สาธารณสุข

 

   - ผู้ป่วยที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อรักษา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานด้านสาธารสุข

 

 

2.ขนส่งสินค้าเพื่อประชาชน

 

   - ผู้ขนส่งอาหาร ยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ สินค้าอุปโภคบริโภค ผลผลิตทางการเกษตร น้ำมันเชื้อเพลิง ไปรษณีย์ พัสดุภัณฑ์ สิ่งพิมพ์ สินค้าเพื่อส่งออกหรือนำเข้า

 

 

3.ขนส่งหรือขนย้ายประชาชน

 

   - ผู้ปฏิบัติงานขนส่งสาธารณะ

 

   - ผู้ขนส่งและผู้เดินทางมาจากหรือไปยังท่าอากาศยานหรือสถานีขนส่ง   

 

  -  ผู้ขนส่งและประชาชนที่เดินทางไปยังที่เอกเทศตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ศูนย์พักคอยรอการส่งตัวหรือระบบแยกกักเพื่อรองรับการให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อในชั้นแรก

 

  -ผู้โดยสารและผู้เกี่ยวข้องที่จำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัดในเวลานั้น

 

 

4.บริการหรืออำนวยประโยชน์แก่ประชาชน

 

   - ผู้ให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ คนไร้ที่พึ่ง หรือผู้ประสบภัย

 

   - ผู้ให้บริการขนส่งสินค้าและอาหาร

 

   - ผู้บริการตรวจสอบหรือซ่อมบำรุงระบบสาธารณูปโภค ระบบระบายน้ำ ระบบท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

 

   - ผู้จัดเก็บและกำจัดขยะมูลฝอย

 

   - ผู้บริการซ่อมแซมและปรับปรุงโครงข่ายและอุปกรณ์ในการสื่อสารโทรคมนาคม

 

   - ผู้บริการงานช่วยเหลือกู้ภัย การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ภัยพิบัติ

 

   - ผู้บริการด้านธนาคาร ตลาดทุน การประกันภัย

 

   - ผู้จำเป็นต้องดำเนินงานกรณีเกิดอุบัติเหตุ หรือต้องติดต่อราชการกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง พนักงานสอบสวน หรือพนักงานเจ้าหน้าที่

 

 

5.การประกอบอาชีพที่จำเป็น

 

 - ผู้ทำงานตามรอบเวลา กะ หรือการทำงานตามผลัดเปลี่ยนเวรยาม หรือตามเวลาที่กำหนดไว้ตามปกติของทางราชการและเอกชน

 

 - การทำงานในโรงงาน งานก่อสร้าง งานบำรุงรักษาหรืองานเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินงานได้

 

 - งานดูแลรักษาความปลอดภัย งานด้านเกษตรกรรม ประมง ปศุสัตว์ การตรวจรักษาสัตว์

 

 

6.กรณีจำเป็นอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตเป็นการเฉพาะรายจากพนักงานเจ้าหน้าที่ให้บุคคลที่มีความจำเป็นตาม (1) ถึง (5)

แสดงบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรแสดงตนอย่างอื่น และเอกสารรับรองความจำเป็น เอกสารเกี่ยวกับสินค้า บริการ การเดินทางหรือหลักฐานอื่น ๆ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคที่ทางราชการกำหนดอย่างเคร่งครัด ให้บุคคลที่มีความจำเป็นตาม (6) แสดงเหตุจำเป็นพร้อมหลักฐานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ผู้อำนวยการเขต หัวหน้าสถานีตำรวจ หรือผู้ได้รับแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เพื่ออนุญาต

 

 

 

กรณียกเว้นเพิ่มเติม การห้ามออกนอกเคหสถานเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอผ่านศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) เพื่อให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาอนุญาต

 

 

 

จุดตรวจสกัดโควิด

 

ศปม. ตั้งจุดตรวจ 147 จุดเพื่อบังคับใช้มาตรการห้ามออกนอกเคหสถาน เวลา 21.00 – 04.00 น. ตรวจการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรค และตรวจคัดกรองการเดินทางเข้าออกจังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ได้แก่

 

- กรุงเทพฯ 88 จุดตรวจ

 

- จังหวัดปริมณฑล 5 จังหวัด 20 จุดตรวจ

 

- จังหวัดชายแดนภาคใต้ 4 จังหวัด 39 จุดตรวจ

 

 

 

ถ้าต้องเดินทาง จะขอเอกสารอนุญาตอย่างไร

 

ไฟล์เอกสารรับรองความจำเป็นสำหรับการออกนอกเคหสถานในระหว่างเวลา 21.00 - 04.00 น. (ไฟล์นี้เป็นตัวอย่างสำหรับหน่วยงานไปประยุกต์ใช้) ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล (นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) และจังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา) 

 

 

สำหรับหน่วยงาน หรือบริษัท หรือสถานประกอบการต้นสังกัดออกให้บุคคลที่ได้รับการยกเว้นฯ ตามข้อกำหนด ออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 ก.ค. 64 ได้แก่ การสาธารณสุข การขนส่งสินค้าเพื่อประโยชน์ของประชาชน การขนส่งหรือขนย้ายประชาชน การให้บริการหรืออำนวยประโยชน์ หรือความสะดวกแก่ประชาชน และการประกอบอาชีพที่จำเป็น”

 

 

(ดาวน์โหลดได้ที่ลิงก์นี้ https://bit.ly/3xyiaNY)

 

 

นอกเหนือจากบุคคลที่ได้รับการยกเว้น ให้ขอเอกสารรับรองความจำเป็นฯ ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายอำเภอ ผู้อำนวยการเขต หัวหน้าสถานีตำรวจ

 

 

รูปแบบเอกสาร

 

 

 

 

มาตรการการเดินทางข้ามจังหวัด

 

การเดินทางข้ามจังหวัดให้ประชาชนหลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัดในช่วงระยะเวลานี้โดยไม่มีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ส่วนรวม กรณีที่จำเป็นต้องเดินทางข้ามเขตพื้นที่อาจไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทางและอาจต้องใช้ระยะเวลามากกว่าปกติ

 

 

ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เพิ่มความเข้มงวดในการปฏิบัติงานตรวจคัดกรองการเดินทางในเส้นทางคมนาคมเข้าออกกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล จังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการเดินทางเข้าออกจังหวัดอื่น 1 เพื่อควบคุมการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงาน และคัดกรองการเดินทางของประชาชนทั่วไป ตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ลงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564 และตามแนวปฏิบัติที่ ศปก.ศบค. กำหนด

 

 

ให้กระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่รับผิดชอบตรวจสอบและกำกับดูแลการให้บริการของผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะ สำหรับการขนส่งคนโดยสารระหว่างจังหวัดซึ่งมีพื้นที่ต้นทางจากกรุงเทพมหานคร จังหวัดปริมณฑล หรือพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามข้อกำหนดนี้โดยเพิ่มความเข้มงวดเพื่อให้ผู้ประกอบการปฏิบัติ รวมทั้งการตรวจคัดกรองการเดินทาง การจัดระบบและระเบียบให้เป็นไปตามมาตรการป้องกันโรคและแนวปฏิบัติที่ ศปก.ศบค. กำหนด เพื่อมุ่งผลสัมฤทธิ์ในการลดหรือจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทางของบุคคลในห้วงเวลานี้

 

 

สำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างจังหวัด ให้กระทรวงคมนาคมจัดระเบียบหรือแนวปฏิบัติเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เหมาะสมและลดผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ

 

 

 

 

ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19

 

 

 

 

-------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง