รีเซต

'สายควัน' รอลุ้นภาษีบุหรี่ เคาะสิ้นปีนี้ เล็งใช้ 'อี-แสตมป์' สกัดของเถื่อนทะลัก

'สายควัน' รอลุ้นภาษีบุหรี่ เคาะสิ้นปีนี้ เล็งใช้ 'อี-แสตมป์' สกัดของเถื่อนทะลัก
มติชน
14 ธันวาคม 2563 ( 08:29 )
83

เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม นายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต กล่าวถึงความคืบหน้าของการศึกษาการปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. ว่า จะมีความชัดเจนของโครงสร้างภาษีบุหรี่ภายในสิ้นปี 2563 ในปัจจุบันใช้โครงสร้างภาษีบุหรี่เดิมที่จะต่ออายุปีต่อปี ซึ่งต่ออายุมาแล้ว 2 ครั้ง ซึ่งโครงสร้างภาษีบุหรี่ที่ทำการปรับปรุงครั้งนี้ จะต้องตอบโจทย์ในเรื่องรายได้ของกรม เรื่องรายได้ของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ เรื่องสาธารณสุขที่ต้องไม่เอื้อให้มีผู้สูบบุหรี่มากขึ้น และเรื่องการแข่งขันในตลาด อัตราภาษีที่สูงส่งผลราคาแพงเกินไปจนทำให้เกิดการลักลอบนำเข้าบุหรี่ผิดกฎหมาย (บุหรี่เถื่อน) รวมทั้งกลยุทธ์การกำหนดราคาก็เป็นส่วนสำคัญ หากราคาแพงขึ้นเพียง 3 หรือ 5 บาท ก็กลายเป็นเรื่องใหญ่สำหรับตลาดและผู้สูบบุหรี่ได้ ส่วนลักษณะโครงสร้างภาษีจะเป็นแบบอัตราเดียวหรือ 2 อัตรานั้น เป็นเรื่องกำลังศึกษาอยู่เช่นกัน

 

นายลวรณ กล่าวว่า การจัดกับปัญหาบุหรี่เถื่อน ทางกรมกำลังพัฒนาการจัดการเรื่องนี้ด้วยเทคโนโลยี อี-แสตมป์ (E-stamp) ควบคู่กับการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อใช้ตรวจสอบแสตมป์ที่อยู่บนบุหรี่ ไม่ให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษี การใช้แสตมป์ซ้ำ และเป็นการติดตามการขนส่งบุหรี่ เป็นการดำเนินยนโยบายภายใต้กรอบกรอบอนุสัญญาการควบคุมการบริโภคยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO)

 

นายลวรณ กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาสูบยาอีกเรื่องสำคัญ คือ ปัญหาการรับซื้อผลผลิตของการยาสูบที่น้อยลง ทำให้พื้นที่ปลูกยาสูบลดลง โดยเฉลี่ยลดปีละ 3.8 หมื่นไร่ จึงต้องหาพืชชนิดอื่นมาปลูกทดแแทนเพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกร เรื่องนี้ต้องการความชัดเจนโดยเร็ว เนื่องจากจะเริ่มการเพาะปลูกในเดือนมกราคมนี้ โดยจากการประชุมเบื้องต้น คาดว่าพืชทดแทนหลักคือ ข้าวโพดหลังนา เนื่องจากเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมทั้งมีรัฐบาลมีมาตรการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหลังนาอยู่ แต่การปลูกพืชทดแทนนั้นปลูกได้หลายชนิด ทำให้รายได้ไม่เท่ากัน รัฐบาลต้องจัดการในเรื่องการรายได้ชดเชยส่วนต่างที่เกษตรกรเคยได้ด้วย นอกจากนี้ได้เตรียมการหาตลาดที่จะรองรับผลผลิต โดยมอบหมายให้ทางกระทรวงพาณิชย์ดูแลในเรื่องนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง