รีเซต

"โคลนนิง" ชุบชีวิตสัตว์เลี้ยงแสนรัก เทรนด์ธุรกิจโลกที่เผยแพร่มาถึงประเทศไทย

"โคลนนิง" ชุบชีวิตสัตว์เลี้ยงแสนรัก เทรนด์ธุรกิจโลกที่เผยแพร่มาถึงประเทศไทย
TNN ช่อง16
27 มีนาคม 2568 ( 11:04 )
12

จากกรณีนักธุรกิจไทย จ.ราชบุรี ใช้เงิน 6 ล้านบาท โคลนนิงสุนัขแสนรักกลับมามีชีวิตใหม่ หลังมันตายเมื่อปี 2566 ถือเป็นคนไทยคนแรก ๆ ที่โคลนนิงสุนัข และกลายเป็นข่าวใหญ่ในสังคมออนไลน์ 

อันที่จริง การโคลนนิงสุนัขไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะก่อนหน้านี้ TNN Online เคยเล่าถึงกรณีสุนัขตัวหนึ่ง ชื่อ เจ้าเดซี มันตายไปแล้ว

เจ้าของคือ ทอม รูบีทอน รักมันมาก และทนการจากไปของมันไม่ได้ เขาเลยใช้บริการห้องแลปให้เกาหลีใต้ เพื่อโคลนนิงเจ้าเดซี ด้วยเงิน 1.7 ล้านบาท 

การโคลนนิงนั้น กระบวนการก็เหมือนกับนักธุรกิจไทยที่เป็นข่าว และให้กำเนิดสุนัขที่มีพันธุกรรมเดียวกับเจ้าเดซีทุกประการ 2 ตัว คือ เจ้าไมร์ตี และมาเบล รวมสุนัข 2 ตัว เป็นเงิน 3.4 ล้านบาท

อันที่จริง บริการโคลนนิงสัตว์เลี้ยงแสนรัก ตอนนี้ กระจายไปถึงสหราชอาณาจักรแล้ว กับบริษัท เจมิไน เจเนติกส์ ที่ใช้กระบวนการโคลนนิงแบบเดียวกับในเกาหลีใต้ สร้างเพื่อนรักสี่ขา ดีเอ็นเอเดียวกับเดซี

กระบวนการนั้นคือ เมื่อสุนัขตายไป ภายใน 5 วัน เจ้าของต้องเก็บดีเอ็นเอของมันไว้ นั่นคือ ชิ้นส่วนผิวหนังขนาด 6 มิลลิเมตร

จากนั้น ทางบริษัทก็จะแช่แข็งเศษผิวหนังนั้นที่อุณหภูมิ ติดลบ 196 องศาเซลเซียส ถึงจุดนี้ ลูกค้ามีโอกาสตัดสินใจว่า จะเดินหน้ากระบวนการโคลนนิงต่อหรือไม่

แต่มันไม่ได้เป็นการโคลนแบบในหนังที่เหมือนเป๊ะ ๆ แต่เป็นการนำเซลล์ของสุนัขที่ตาย ใส่ไปในแม่สุนัขอุ้มบุญ แล้วใช้การกระตุ้นไฟฟ้า เพื่อทำให้เซลลนั้นขยายตัวกลายเป็นตัวอ่อนเอ็มบริโอ 

แต่กระบวนการนี้ ต้องไปทำที่สหรัฐฯ เพราะกฎหมายในอังกฤษยังไม่รองรับ

และใช่ สัตว์เลี้ยงตัวใหม่ที่เกิดจากกระบวนการนี้ ไม่ได้เหมือนตัวเดิมแบบ 100% แม้มันจะมีดีเอ็นเอแบบเดียวกัน 

เพราะสภาพแวดล้อมการมีชีวิต จะเป็นตัวพัฒนาพฤติกรรมและสิ่งต่าง ๆ 

สำหรับการโคลนนิงสัตว์นั้นมีมานานแล้ว ตัวแรกคือ เจ้าแกะดอลลี่ เมื่อปี 1996 โดยนักวิทยาศาสตร์ในเอดินบะระของสกอตแลนด์ แต่แล้ว สหราชอาณาจักรก็ออกกฎหมายห้ามการโคลนนิง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการโคลนนิงมนุษย์ 

แต่หลายประเทศในโลก อนุญาตกระบวนการโคลนนิงลักษณะนี้ และเป็นที่นิยมมากในการโคลนม้าสายพันธุ์ดี เพื่อการแข่งขัน 

กิจการของเจมิไน เจเนติกส์ ในอังกฤษ ถือว่าไปได้ดีทีเดียว ทางบริษัทเก็บตัวอย่างดีเอ็นเอสัตว์เลี้ยงไว้แล้วหลายพันตัว และได้โคลนนิงในลักษณะนี้แล้ว ราว 200 ตัว

แล้วมันคุ้มค่าไหม อย่างน้อย ทอม รูบีทอน เชื่อว่า แม้จะเสียเงินไปหลายล้านบาท แต่ก็คุ้มค่าที่ได้สัตว์เลี้ยงคล้ายคลึงกับเพื่อนรักสี่ขาที่จากไป แม้จะไม่เหมือนเดิม 100% ก็ตาม

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง