รีเซต

เปิด 3 กลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่มโรค ปัญหาฝุ่น PM2.5

เปิด 3 กลุ่มเสี่ยง 4 กลุ่มโรค ปัญหาฝุ่น PM2.5
PakornR
7 มกราคม 2564 ( 09:59 )
440

วันนuh (7 ม.ค.) บางพื้นที่ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และเป็นปัญหาสำคัญที่จะต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ หากได้รับมลพิษจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 เข้าสู่ร่างกาย อาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือมีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงมากกว่าประชาชนทั่วไป

 

3 กลุ่มเสี่ยงจากปัญหา PM2.5

 

เด็กเล็ก 

เด็กส่วนใหญ่มักใช้เวลาทำกิจกรรมอยู่นอกบ้าน/อาคาร มากกว่าผู้ใหญ่ เช่น สนามเด็กเล่น สนามกีฬาลานกิจกรรม ฯลฯ -อีกทั้ง มักมีกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากกว่ากว่าผู้ใหญ่ เช่น การวิ่งเล่น การกระโดด ปีนป่าย ฯลฯ ซึ่งจะมีการหายใจเอาปริมาตรอากาศเข้าสู่ร่างกาย (ปริมาตรอากาศต่อน้ำหนักตัว) สูงกว่าผู้ใหญ่

 

มื่อเด็กได้รับฝุ่นละอองในปริมาณเกินมาตรฐานมาก หรือเป็นเวลานานจะสะสมในเนื้อเยื่อปอด ประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวนในช่วงนี้ ทำให้การทำงานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลง ทำให้หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด เยื่อบุหลอดลมร่วมกับภาวะผิดปกติที่หลอดลมไวต่อสิ่งกระตุ้นต่างๆ ซึ่งมลพิษทางอากาศก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดโรคนี้ได้

 

ผู้สูงอายุ 

ผลจากการศึกษาในต่างประเทศ มีการประมาณค่าการตายของกลุ่มผู้สูงอายุที่เกิดจากการรับสัมผัสกับมลพิษ ทางอากาศหรือฝุ่น มีอัตราประมาณ 10:1,000 ในแต่ละปีโดยในกลุ่มผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของปอด และปัญหาโรคหัวใจ ทำให้มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสกับฝุ่นมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของระบบป้องกันของปอดจะลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น

 

หญิงตั้งครรภ์

 

แม้จะผลการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบปัญหาหมอกควันฝุ่นละอองต่อหญิงตั้งครรภ์จะมีไม่มาก แต่พบว่าองค์ประกอบของควันไฟป่า ที่เป็นต้นเหตุหนึ่งของฝุ่น PM2.5 มีหลายชนิด ที่คล้ายกับองค์ประกอบของบุหรี่ ซึ่งมีผลวิจัยจำนวนมากยืนยันตรงกันว่า ควันบุหรี่มีผลกระทบอย่างมีนัยยะสำคัญต่อหญิงตั้งครรภ์ 

 

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลอีกหลายๆแหล่ง ที่แสดงให้เห็นว่าการรับสัมผัสกับมลพิษทางอากาศในเมืองใหญ่ๆ มีผลต่อน้ำหนักตัวของเด็กทารกและมักมีการคลอดก่อนกำหนด ดังนั้นจำเป็นต้องพิจารณาให้หญิงตั้งครรภ์เป็นกลุ่มเสี่ยงที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน

 

4 กลุ่มโรคสำคัญที่ต้องเฝ้าระวังและดูแลเป็นพิเศษ

 

1.กลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด

เช่น เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว แน่นหน้าอก  

 

2.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล แสบจมูกและลำคอ  

 

3.กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ

เช่น อาการคันตามร่างกาย มีผื่นแดงตามร่างกาย  

 

4.กลุ่มโรคตาอักเสบ

เช่น อาการแสบหรือคันตา น้ำตาไหล และตาแดง หากสงสัยหรือมีอาการผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว

 

วิธีปฏิบัติให้ปลอดภัยจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5

 

 

นอกจากนี้ กรมควบคุมโรค ได้แนะนำวิธีปฏิบัติให้ปลอดภัยจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 โดยการลดการก่อมลพิษและลดการเพิ่มปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ เช่น

 

  • ลดการใช้รถยนต์ที่มีควันดำ
  • ลดการเผาขยะหรือเผาในที่โล่งแจ้ง
  • ดูแลทำความสะอาดบ้านให้ปลอดฝุ่น โดยการใช้ผ้าชุบน้ำเช็ด และปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิด
  • ไม่ควรออกนอกบ้านหรือทำกิจกรรมนอกบ้าน เช่น ออกกำลังกายหรือทำงานกลางแจ้ง โดยเฉพาะบริเวณหรือเส้นทางที่มีฝุ่นหนาแน่น
  • หากจำเป็นต้องออกนอกบ้านควรป้องกันการสัมผัสฝุ่นให้น้อยที่สุด โดยการสวมหน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก และดื่มน้ำให้เยอะๆ เพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองคอ แสบคอ
  • นอกจากนี้ผู้ที่เดินทางด้วยรถจักรยานยนต์ ควรป้องกันตนเองโดยการสวมหน้ากาก แว่นตา เสื้อแขนยาว เพื่อป้องกันฝุ่น เพราะฝุ่นจะทำให้เกิดการระคายเคืองตาและผิวหนังได้

 

 

ทั้งนี้ ทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ขอให้ประชาชนติดตามข่าวสารจากหน่วยงานราชการและเฝ้าระวังสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็กอย่างใกล้ชิด และตรวจสอบคุณภาพอากาศในพื้นที่ เพื่อประเมินความเสี่ยงในการสัมผัสฝุ่นละอองอย่างเหมาะสม

 

โดยสามารถติดตามสถานการณ์ค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ได้ที่แอปพลิเคชัน Air4Thai ของกรมควบคุมมลพิษ สามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

 

รวมสิทธิส่งเสริมคุณภาพชีวิต เกาะติดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทันเรื่องราวกระแสสังคม

สัมผัสประสบการณ์ข่าวได้ที่ แอปพลิเคชัน ทรูไอดี (ดาวน์โหลดเลยที่นี่!!)

ภาพปก : Image by Mylene2401 from Pixabay 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง