รีเซต

กกร.หั่นGDP ปี64 ลง1.5% - 3.5%

กกร.หั่นGDP ปี64 ลง1.5% - 3.5%
TNN ช่อง16
6 มกราคม 2564 ( 14:21 )
178
กกร.หั่นGDP ปี64 ลง1.5% - 3.5%

วันนี้(6ม.ค.64)นายกลินท์  สารสิน  ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน ( กกร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กกร.คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2564 จะขยายตัวได้ในกรอบ 1.5% ถึง 3.5% หากควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19รอบใหม่ได้ภายใน 3 เดือน ลดลงจากประมาณการเดิมที่คาดว่าขยายตัวได้ 2.0% ถึง 4.0% เช่นเดียวกับประมาณการการส่งออกในปี 2564 ที่คาดว่าจะขยายตัวเพียง 3.0% ถึง 5.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 0.8% ถึง 1.0% 

โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยหยุดชะงัก การท่องเที่ยวในประเทศซึ่งเป็นเครื่องยนต์หลักของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจตลอดครึ่งหลังของปี 2563 ไม่สามารถเดินต่อได้ชั่วคราว หลังจากมีมาตรการเข้มงวดจำกัด การเดินทางในหลายจังหวัดที่มีประชากรมากหรือเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวในประเทศ คาดว่าจะใช้เวลา 2-3 เดือน และยังส่งผลลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน


นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย  กล่าวว่า ส่วนความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิดรอบใหม่ ธนาคารพาณิชย์ ยังดูแลลูกหนี้ด้วยการปรับโครงสร้างหนี้ต่อเนื่อง ตามกลไกลของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อประคองลูกหนี้ไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน  รวมถึงการปล่อยสินเชื่อซอฟท์โลนช่วยเหลือผู้ประกอบการ 

นอกจากนี้ ที่ประชุมกกร. ยังไม่ได้ประเมินมูลค่าความเสียหายจากการแพร่ระบาดรอบใหม่ เพราะยังไม่เห็นผลชัดเจน  แต่ยอมรับมีความเป็นห่วง คนตกงานเพิ่มขึ้น 

อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนเสนอให้ภาครัฐควรเร่งหามาตรการ ควบคุมโรคระบาดและช่วยเหลือผู้ประกอบการและแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ประการแรก ต้องเร่งควบคุมการแพร่ระบาดและบังคับใช้มาตรการต่างๆที่ประกาศออกมาอย่างเคร่งครัด ควรแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด ถึงต้นตอการแพร่กระจาย ทั้งนี้ขอให้ควบคุมดูแลที่อยู่ของคนงานต่างด้าวให้เหมาะสมเพื่อระงับการแพร่ระบาด ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดกฎหมายโดยเฉพาะการนำแรงงานต่างด้าวเข้าประเทศผิดกฎหมาย  //เร่งดำเนินการเรื่องงบประมาณช่วยเหลือ 2 แสนล้านบาท อย่างมีประสิทธิภาพและควรขยายเวลาโครงการ“คนละครึ่ง” และเพิ่มวงเงินการใช้จ่ายต่อบุคคลเป็น 5,000 บาท  ,ลดค่าไฟ 5% ให้กับผู้ประกอบการและประชาชน รวมถึงการใช้เครื่องมือทางการเงินอย่าง Asset Warehousing และ บสย. อย่างมีประสิทธิภาพ //เร่งรัดการนำเข้าวัคซีนให้เพียงพอรวมถึงการบริหารรจัดการให้ทั่วถึงและประสิทธิภาพ // และเร่งรัดการใช้และการเจรจาการค้าทวิภาคี รวมถึงการให้สัตยาบันลงนามข้อตกลง RCEP ในการประชุมรัฐสภา เพื่อให้ข้อตกลงที่ลงนามไปเมื่อเดือน พ.ย. 63 มีผลบังคับใช้กลางปีนี้ เพื่อให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีแรงส่งเพิ่มในช่วงครึ่งปีหลัง 

เกาะติดข่าวที่นี่

website: www.TNNTHAILAND.com 
facebook : TNNONLINE
facebook live : TNN Live 
twitter : TNNONLINE 
Line : @TNNONLINE
Youtube Official : TNNONLINE 
Instagram : TNN_ONLINE 
TIKTOK : @TNNONLINE



ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง