รีเซต

“ฝังเข็ม” ศาสตร์แพทย์แผนจีน ช่วยรักษาโรคโควิด-19 ได้หรือไม่

“ฝังเข็ม” ศาสตร์แพทย์แผนจีน ช่วยรักษาโรคโควิด-19 ได้หรือไม่
Ingonn
9 สิงหาคม 2564 ( 13:36 )
405

 

หลายคนคงรู้จัก การฝังเข็ม กันมาบ้างแล้ว โดยคนที่ชื่นชอบการผ่อนคลายด้วยการฝังเข็ม จะรู้ว่า ประโยชน์ของการฝังเข็มมากมาย ทั้งช่วยลดโรคร้าย สร้างภูมิคุ้มกัน ปรับอารมณ์ รวมถึงยังช่วยบำบัดความเครียด รักษาโรคซึมเศร้าได้ดีอีกด้วย ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รับรองแล้วว่า การฝังเข็มช่วยรักษาโรคได้จริง แต่สามารถรักษาโควิด-19 ได้ด้วยหรือไม่???

 

 

ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา คนไทยนิยมการไปฝังเข็มช่วงโควิด-19 เป้นจำนวนมาก เพื่อรักษาโรคต่างๆ รวมถึงแก้อาการปวดเมื่อย คลายความเครียดจากสถานการณ์โควิด-19 และการทำงานที่บ้าน หรือ work from home ที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังจากท่านั่งทำงานที่ไม่สะดวก

 

 

 

รู้จักการฝังเข็ม จากจีนสู่ไทย


การฝังเข็ม คือ ศาสตร์หนึ่งในแพทย์แผนจีน ซึ่งชาวจีนใช้กันมานานกว่า 4,000 ปี โดยมีหลักการคือ การใช้เข็มขนาดเล็กมาก ฝังตามจุดฝังเข็มบนร่างกาย ซึ่งเป็นจุดที่มีพลังงานมากกว่าจุดอื่นๆ เพื่อทำให้พลังงาน และอวัยวะต่างๆของร่างกายที่เสียสมดุลไป กลับมาอยู่ในภาวะสมดุล 

 

 

การใช้เข็มปักลงไปบนจุดฝังเข็มตามร่างกายเป็นการฝังเข็มเผยแพร่ไปทั่วโลก ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ให้การรับรองและระบุโรคที่สามารถรักษาได้ด้วยการฝังเข็ม รวมทั้งล่าสุดยังมีหลายงานวิจัยพบว่า โรคบางโรค เช่น กรดไหลย้อน ปวดหัว ปวดศีรษะไมเกรน การรักษาด้วยการฝังเข็มให้ผลการรักษาดีเทียบเท่า หรือ มากกว่าการใช้ยา โดยปลอดภัย และไม่ต้องเสี่ยงต่อผลข้างเคียงจากยาอีกด้วย 

 

 


เข็มที่ใช้ฝัง ปลอดภัยไหม


เข็มที่ใช้ฝัง เป็นเหล็กสแตนเลส ไม่เป็นสนิม มีขนาดเล็กและบางมาก ปลายเข็มไม่ตัด ไม่กลวงไม่มีรู ได้รับการทำความสะอาดจนปลอดเชื้อ และบรรจุแผงจากโรงงาน ใช้เพียงครั้งเดียวแล้วทิ้งเลยไม่นำกลับมาใช้อีก ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบและโรคเอดส์

 

 


การฝังเข็ม รักษาโรคอะไรได้บ้าง


1.กลุ่มอาการปวดและโรคทางระบบกล้ามเนื้อ

เช่น Office syndrome ปวดหลัง ปวดต้นคอ  ปวดไหล่ ปวดเข่า ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน

 


2.กลุ่มโรคระบบประสาท

เช่น ชาปลายมือ ปลายเท้า อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคอัมพาตใบหน้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง 

 


3.กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจ

เช่น ภูมิแพ้ หวัดเรื้อรังและหอบหืด

 


4.กลุ่มโรคระบบต่อมไร้ท่อ

เช่น เบาหวาน  ความดันโลหิตสูง ความดันต่ำ

 


5.กลุ่มโรคระบบทางเดินอาหารและลำไส้

เช่น กรดไหลย้อน ท้องผูก อาหารไม่ย่อย

 


6.กลุ่มโรคทางนรีเวช

เช่น ปรับสมดุล ปรับฮอร์โมน ประจำเดือนมาไม่ปกติ เข้าสู่วัยทอง ทั้งบุรุษและสตรี และเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

 


7.กลุ่มโรคอื่นๆ

เช่น การฝังเข็มเพื่อเสริมสุขภาพ เช่น เครียด กังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ

 

 


การฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร


แพทย์แผนปัจจุบันพบว่า การฝังเข็มมีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ  ซึ่งควบคุมการทำงานของอวัยวะต่างๆ และมีผลต่อการหลั่งสารหลายชนิดในร่างกาย ซึ่งช่วยระงับอาการปวดและลดอาการอักเสบได้ดี โดยในปัจจุบันมีการใช้เครื่องอบความร้อนและเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อช่วยเสริมประสิทธิภาพในการฝังเข็ม จึงมีฤทธิ์ในการรักษาโรค 4 ประการ ได้แก่

 

1.แก้ไขการไหลเวียนของเลือดลมปราณที่ติดขัด

 


2.ปรับสภาพความสมดุลการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้อยู่ในสมดุล

 


3.กระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย เพื่อกำจัดเหตุปัจจัยที่เป็นอันตรายออกไปจากร่างกาย

 


4.ช่วยบรรเทาความเจ็บปวด และช่วยในการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ

 

 


การฝังเข็ม เป็นการรักษาอาการปวด โดยไม่ต้องใช้ยาเพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสในการแพ้ยา ผลข้างเคียงจากยาและปัญหาการติดยาแก้ปวด รวมทั้งเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่เคยรักษาอาการปวดด้วยวิธีอื่นๆแล้วไม่ได้ผล

 

 


ใครไม่ควรฝังเข็ม


1.สตรีที่อยู่ระหว่างการตั้งครรภ์

 


2.ผู้ป่วยโรคมะเร็ง (ที่ยังไม่ได้รับการรักษา)

 


3.ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดที่มีความผิดปกติของระบบแข็งตัวของเลือด

 


4.ผู้ป่วยโรคที่ต้องการรักษาด้วยการผ่าตัดอย่างแน่นอน

 

5.ผู้ป่วยที่มีโรคที่ยังไม่ทราบการวินิจฉัยแน่นอน

 


6.ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ใส่เครื่องกระตุ้นการเต้นหัวใจ (Pacemaker)

 

 

 

การฝังเข็มรักษาโควิด-19 ได้หรือไม่


คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว ระบุว่า การฝังเข็มและการรมยาสามารถปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีสรรพคุณต้านการอักเสบ ต้านการติดเชื้อ ค่อนข้างได้ผลดีในการป้องกันและรักษาโรคติดต่อ  เมื่อต้องเผชิญกับโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน แต่ไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าทำให้โรคโควิด-19 หายได้ 

 

 

ขณะที่สถาบันสาธารณสุขแห่งชาติของสหรัฐฯ กล่าวว่าการแพทย์แผนจีนอาจช่วยบรรเทาอาการลงได้ แต่ยังไม่อาจสรุปได้ว่ามีประสิทธิผลในการรักษา เนื่องจากไม่มีหลักฐานที่หนักแน่นพอ ดังนั้นการใช้การแพทย์แผนโบราณของจีน จึงไม่เพียงยังไม่ผ่านการรับรองเท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายอีกด้วย

 

 

 

ข้อแนะนำในการฝังเข็ม


1.ขณะฝังเข็ม ควรอยู่ในท่าที่แพทย์กำหนด โดยไม่ขยับร่างกาย ไม่เครียดจนเกินไป หรือตามคำแนะนำของแพทย์

 


2.ขณะรับการฝังเข็ม อาจมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดมากขึ้น หน้ามืดใจสั่นเป็นลม ต้องรีบแจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลทราบทันที

 


3.หลังจากที่ฝังเข็มและปักเข็มไว้แล้ว ควรนั่งพักหรืออยู่ในท่านั้นๆ เป็นระยะเวลาประมาณ 25-30 นาที หรือตามที่แพทย์กำหนด ไม่ควรขยับเขยื้อนแขนขา หรือบริเวณที่ฝังเข็มไว้ จนครบเวลา

 

 


ข้อมูลจาก หน่วยแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลรามาธิบดี , คลินิกการแพทย์แผนจีนหัวเฉียว , BBC

 

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง