รีเซต

ประวัติ วันผู้ลี้ภัยโลก (World Refugee Day)

ประวัติ วันผู้ลี้ภัยโลก (World Refugee Day)
TeaC
20 มิถุนายน 2564 ( 08:29 )
355
ประวัติ วันผู้ลี้ภัยโลก (World Refugee Day)

ประวัติวันผู้ลี้ภัยโลก หรือ world refugee day ตรงกับวันที่ 20 มิถุนายนของทุกปี เป็นวันที่สหประชาชาติได้ประกาศให้เป็น “วันผู้ลี้ภัยโลก” ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2001 ก่อนหน้าที่จะเริ่มมีวันผู้ลี้ภัยโลกนี้ แต่ละประเทศจะมีวันผู้ลี้ภัยโลกเป็นของตนเอง เช่น Africa Refugee Day

 

ผู้ลี้ภัย ผู้ผลัดถิ่น หรือที่เรียกว่าผู้ที่ถูกบังคับให้พลัดถิ่น ซึ่งพวกเขามักต้องเผชิญกับความยากลำบากในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์เมื่อเจ็บป่วย ในวันที่ต้องอยู่ไกลจากบ้าน การหาโรงเรียนให้เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาอย่างเหมาะสมก็เป็นเรื่องที่ยากลำบาก หรือแม้แต่การหาพื้นที่ให้พวกเขาสามารถวิ่งเล่นและทำกิจกรรมเสริมทักษะได้อย่างปลอดภัย

 

จากข้อมูลสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ณ เดือนพฤษภาคม 2562 ประเทศไทยมีผู้ลี้ภัย 95,644 คน ส่วนมากเป็นชนกลุ่มน้อยชาวกะเหรี่ยงและกะเหรี่ยงแดง (กะยา) แนวโน้มอัตราส่วนของประชากรลี้ภัย ผู้ขอลี้ภัย หรือผู้ผลัดถิ่นภายในประเทศต่อเพื่อนมนุษย์ทั้วโลกคือ 1 ใน 108 

 

และจากปี 2561 มีผู้ขอลี้ภัยกลุ่มใหม่ที่มีจำนวนมากที่สุด จากประเทศเวเนซุเอลา 341,800 คน อีกทั้ง สัดส่วนของผู้ลี้ภัย 4 ใน 5 คน ต้องผลัดถิ่นเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี โดย 1 ใน 5 นั้น ต้องพลัดถิ่นเป็นเวลาถึง 20 ปี หรือมากกว่านั้น ทั้งนี้ 80% ของจำนวนผู้ลี้ภัยอาศัยอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดกับประเทศภูมิลำเนาของตน ขณะที่ ประเทศที่มีรายได้สูง รองรับผู้ลี้ภัยได้เฉลี่ย 2.7 คนต่อประชากรในประเทศ 1,000 คน ส่วนประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ำ รองรับผู้ลี้ภัยโดยเฉลี่ย 5.8 และประเทศที่ยากจน รองรับผู้ลี้ภัย 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ลี้ภัยทั้งหมดทั่วโลก

 

สิ่งที่น่าตกใจคือ ปี 2561 มีผู้ลี้ภัยเด็กเพิ่มขึ้นทุก ๆ วินาที และ 111,000 คน เป็นเด็กกำพร้าและอยู่อย่างไร้ครอบครัว โดยประเทสยูกันดารายงานว่า มีเด็กผู้ลี้ภัยอายุต่ำกว่า 5 ปี จำนวน 2,8000 ต้องอยู่ลำพังหรืออยู่แยกกับครอบครัว

 

นี่คือข้อมูลที่คงสะท้อนให้คนทั้งโลกได้เห็น พร้อมร่วมกันตระหนักถึงความเข้มแข็ง ความอดทนของผู้ลี้ภัยทุกคนที่ถูกบังคับให้ต้องหลบหนีออกจากบ้านเกิดของตัวเอง

 

ข้อมูล : UNHCR, thestandard

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง