รีเซต

เช็กที่นี่! "งูกัด" ปฐมพยาบาลอย่างไร ไปหาหมอโรงพยาบาลไหนดี? ที่มี "เซรั่มแก้พิษงู"

เช็กที่นี่! "งูกัด" ปฐมพยาบาลอย่างไร ไปหาหมอโรงพยาบาลไหนดี? ที่มี "เซรั่มแก้พิษงู"
Ingonn
14 ตุลาคม 2564 ( 15:38 )
5.4K
เช็กที่นี่! "งูกัด" ปฐมพยาบาลอย่างไร ไปหาหมอโรงพยาบาลไหนดี? ที่มี "เซรั่มแก้พิษงู"

ในช่วงที่ "ฝนตก" หรือ "น้ำท่วม" แบบนี้ เป็นช่วงที่ "งู" จะชุกชุมมากกว่าปกติ และมักจะเป็นสัตว์มีพิษอันดับต้นๆ ที่เข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเรือนประชาชน จนได้รับบาดเจ็บ เป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ เมื่อ "ถูกงูกัด" ซึ่งเราควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที ก่อนจะนำตัวผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาล ซึ่งบางคนอาจยังคงจำวิธีการช่วยเหลือแบบผิดๆ หรือไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร วันนี้ TrueID จะมาบอกขั้นตอนการปฐมพยาบาล และโรงพยาบาลที่มี "เซรุ่มแก้พิษงู" มาฝากทุกคนกัน

 

ประเภท "งูพิษ"

งูพิษที่พบบ่อย 7 ชนิด ได้แก่ งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา งูแมวเซา งูกะปะ งูเขียวหางไหม้ โดยงูมีพิษ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

 

1.งูที่มีพิษต่อระบบประสาท เช่น งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูทับสมิงคลา ส่งผลทำให้เกิดอัมภาพ จะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง หนังตาตก กลืนลำบาก พูดไม่ชัด และหยุดหายใจ

 

2.งูที่มีพิษต่อระบบเลือด เช่น งูแมวเซา งูกะปะ และงูเขียวหางไหม้ ทำให้เลือดออกผิดปกติ อาเจียนเป็นเลือดเนื่องจากพิษงูทำให้เลือดไม่แข็งตัว จะมีเลือดซึมออกจากแผลรอยเขี้ยว หรือมีจ้ำเลือดที่บริเวณแผล มีเลือดออกตามไรฟัน บางรายอาจทำให้ไตวายได้

 

3.งูที่มีพิษต่อกล้ามเนื้อ เช่น งูทะเล ทำอัตรายต่อกล้ามเนื้อ

 

 

วิธีปฐมพยาบาลเมื่อ"ถูกงูกัด"

1.ตั้งสติ ดูลักษณะของงูหรือถ่ายรูปงูถ้าทำได้ ถ้าเป็นไปได้หากนำซากงูไปด้วย

2.ขอความช่วยเหลือ หรือเรียกรถพยาบาล 1669

3.อย่าเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็นเพื่อชะลอการดูดซึมพิษงูเข้าสู่ท่อน้ำเหลืองและเส้นเลือดดำไหลเวียนเข้าหัวใจ

4.หาไม้ดามบริเวณที่ถูกงูกัดแล้วใช้ผ้าพันให้แน่นพอประมาณเหนือแผลงูกัดประมาณ5-15 ซม. แต่ไม่แนะนำให้ขันชะเนาะ (Tourniquet) เพราะ ไม่สามารถป้องกันการดูดซึมพิษงูได้ และถ้ารัดแน่นเกินไปอาจทำให้เกิดเนื้อเน่าตายได้

5.ถ้าถูกงูเห่าพ่นพิษเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดปริมาณมาก

6.ผู้ป่วยที่ถูกงูระบบประสาทกัด อาจเป็นอัมพาตทั่วตัวคล้ายกับเสียชีวิตแล้ว ไม่ควรหยุดการช่วยเหลือ ให้รีบส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล

7.ควรรีบมาโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด 

 

 

การรักษาเมื่อ "ถูกงูกัด"

แพทย์จะทำการตรวจร่างกายและตรวจเลือด บางรายยังไม่มีอาการของพิษ เมื่อมาถึงโรงพยาบาลจึงต้องสังเกตอาการต่อจนกว่าจะพ้นระยะอันตราย การให้เซรุ่มต้านพิษงูมีประโยชน์ แต่ก็เสี่ยงต่อการแพ้ และบางครั้งงูมีพิษกัดแต่ไม่ปล่อยพิษ ทำให้ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการใด ๆ แพทย์จึเลือกให้เซรุ่มเฉพาะรายตามความเหมาะสมเซมต้านพิษงูจะช่วยเรื่องกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเลือดออกให้ดีขึ้นได้ แม้ผู้ป่วยจะได้เซรุ่มแล้ว บางรายอาจยังเกิดเนื้อเน่าตายหรือไตวายต่อมาภายหลังได้ จึงอาจต้องอาศัยการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การผ่าตัดตัดเนื้อตายออก การให้สารน้ำหรือการล้างไต เพื่อป้องกันและรักษาภาวะไตวาย เป็นต้น

 

 

ความเชื่อผิดๆ ที่ห้ามทำเมื่องูกัด

1.ห้ามใช้เหล้า ยาสีฟัน หรือสิ่งอื่นๆ ทาแผล พอกแผล เนื่องจากอาจทำให้แผลติดเชื้อ

2.ไม่ควรกรีดแผล เนื่องจากจะทำให้พิษงูกระจายเข้าสู่ร่างกายได้เร็วขึ้น

3.ไม่ควรใช้ปากดูดเลือดจากแผลงูกัด เพราะอาจเกิดอันตรายร้ายแรงต่อผู้ดูดได้

4.ห้ามให้ผู้ถูกงูกัดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มผสมกาเฟอีน

 

 

โรงพยาบาลที่มีเซรุ่มแก้พิษงู

  • โรงพยาบาลศิริราช

  • โรงพยาบาลพระมงกุฏ

  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

  • โรงพยาบาลรามาธิบดี

  • สถานเสาวภา สภากาชาดไทย

  • โรงพยาบาลกรุงเทพ

  • โรงพยาบาลพญาไท 2

  • โรงพยาบาลกลาง

  • โรงพยาบาลเจ้าพระยา

  • โรงพยาบาลสำโรง

  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช

  • โรงพยาบาลปากน้ำ สมุทรปราการ

  • โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ พุทธมณฑลสาย 3

  • โรงพยาบาลปทุมเวช

  • โรงพยาบาลปทุมธานี

  • โรงพยาบาลภัทร-ธนบุรี

  • โรงพยาบาลนวนคร

  • โรงพยาบาลแพทย์รังสิต

  • โรงพยาบาลเอกปทุม

  • โรงพยาบาลกรุงสยามเซนต์คาร์ลอล

  • โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์

  • โรงพยาบาลระยอง

  • โรงพยาบาลมาบตาพุตร

  • โรงพยาบาลบ้านฉาง

  • โรงพยาบาลสิริกิตติ์

  • โรงพยาบาลกรุงเทพ-ระยอง

  • โรงพยาบาลมงกุฎระยอง  

  • โรงพยาบาลบ้านค่าย

  • โรงพยาบาลแกลง

 

ข้อมูลจาก blockdit.com , ศ. ดร. นพ.พลภัทร โรจน์นครินทร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย , สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง