รีเซต

ประวัติ มณเฑียร เจริญผล ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

ประวัติ มณเฑียร เจริญผล ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
TNN ช่อง16
5 เมษายน 2568 ( 20:53 )
15

เปิดประวัติ มณเฑียร เจริญผล ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้มีบทบาทสำคัญในการตรวจสอบงบประมาณรัฐ ท่ามกลางกระแสสังคมจากเหตุอาคาร สตง. ถล่ม

ประวัติ มณเฑียร เจริญผล ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ท่ามกลางความเงียบหลังเหตุถล่ม

นายมณเฑียร เจริญผล ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน คนปัจจุบัน เป็นหนึ่งในข้าราชการระดับสูงที่สังคมกำลังจับตามอง โดยเฉพาะหลังเกิดเหตุอาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่มเมื่อ 8 วันที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย หลายฝ่ายต่างรอฟังคำชี้แจงหรือแม้แต่ถ้อยแถลงจากผู้ว่าการ สตง. ซึ่งยังไม่มีออกมาในขณะนี้

แม้จะยังไม่มีการปรากฏตัวต่อสาธารณะในฐานะผู้นำองค์กรในช่วงวิกฤติ แต่นายมณเฑียรถือเป็นบุคคลที่มีบทบาทต่อการตรวจสอบการใช้งบประมาณภาครัฐ และมีประวัติการทำงานในหน่วยงานสำคัญมาอย่างยาวนาน

การศึกษาและหลักสูตรผู้บริหาร

นายมณเฑียรมีพื้นฐานทางวิชาการและผ่านหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงจำนวนมาก ได้แก่

 • บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

 • นิติศาสตรบัณฑิต และนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

 • รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 • ประกาศนียบัตรกฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 • หลักสูตร วปอ., บยส., ปปร., วบส., วพน. และอื่น ๆ รวมถึงการดูงานด้านศาลบัญชีในประเทศฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป

เส้นทางข้าราชการสายตรวจเงินแผ่นดิน

ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี นายมณเฑียรเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ

 • ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

 • ผู้ตรวจเงินแผ่นดิน 1

 • รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

 • อนุกรรมการ ป.ป.ช., ปปง., คตส., ยกร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ

 • ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร

 • กรรมการด้านพัสดุ การเงิน การจัดสรรงบประมาณ และการประเมินองค์กร

นอกจากนี้ ยังดำรงตำแหน่งผู้บริหารด้านเทคโนโลยีและข้อมูลของ สตง. ได้แก่ Chief Information Officer (CIO) และ Chief Data Officer (CDO)

เกียรติประวัติและเครื่องราชอิสริยาภรณ์

นายมณเฑียรได้รับเกียรติคุณและรางวัลหลายรายการ เช่น

 • ข้าราชการพลเรือนดีเด่น (ปี 2544)

 • เหรียญเชิดชูเกียรติจากสถาบันพระปกเกล้า (ปี 2552, 2556)

 • รางวัลกัลยาณมิตร กรมบัญชีกลาง (ปี 2559)

 • นักศึกษาเก่าดีเด่นจากนิด้า (ปี 2561)

 • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง ได้แก่ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก และ มหาวชิรมงกุฎ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง