รีเซต

เยี่ยมชมสถานีอวกาศเทียนกง ผ่านเว็บไซต์แบบจำลองเสมือนจริง

เยี่ยมชมสถานีอวกาศเทียนกง ผ่านเว็บไซต์แบบจำลองเสมือนจริง
TNN ช่อง16
10 มิถุนายน 2565 ( 00:45 )
364
เยี่ยมชมสถานีอวกาศเทียนกง ผ่านเว็บไซต์แบบจำลองเสมือนจริง

สถานีอวกาศเทียนกง (Tiangong space station) หนึ่งในความภูมิใจสูงสุดของวงการอวกาศจีนที่มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอวกาศอย่างต่อเนื่องแบบก้าวกระโดด ปัจจุบันมีเพียง 3 ประเทศในโลกเท่านั้นที่สามารถสร้างสถานีอวกาศได้ด้วยตัวเอง คือ สหรัฐอเมริกา รัสเซียและจีน 


สถานีอวกาศเทียนกงถูกออกแบบให้รองรับมีลักษณะเป็นห้องทดลองและพื้นที่อยู่อาศัยของนักบินอวกาศประมาณ 3 คน โครงสร้างมีลักษณะเป็นโมดูลเชื่อมต่อกัน โครงสร้างหลักประกอบด้วยโมดูลหลักเทียนเหอ (Tianhe) ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศในเดือนเมษายนปี 2021 ส่วนอีก 2 โมดูล คือ เหวินเทียน (Wentian) และเหมิงเทียน (Mengtian) มีกำหนดการเดินทางขึ้นจากโลกในเดือนกรกฎาคมและตุลาคมปี 2022 


นอกจากนี้ยังมียานบริการขนสัมภาระแบบไม่มีนักบินอวกาศเทียนโจว (Tianzhou) อีก 2 ลำ ทำหน้าที่ขนส่งสัมภาระขึ้นไปจากโลก ปัจจุบันยานบริการ 2 ที่เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศเทียนกง คือ เทียนโจว 3 (Tianzhou 3) และ เทียนโจว 3 (Tianzhou 3) ส่วนยานอวกาศที่ทำหน้าที่ขนส่งนักบินอวกาศของจีนจะใช้ยานอวกาศเสินโจว (Shenzhou) 


สำหรับภารกิจล่าสุดของจีนได้ทำการส่งนักบินอวกาศ 3 คน ขึ้นประจำการบนสถานีอวกาศเทียนกง โดยใช้ยานอวกาศเสินโจว 14 (Shenzhou 14) ประกอบด้วยผู้บัญชาการเฉินตง (Chen Dong), นักบินอวกาศหลิวหยาง (Liu Yang) และนักบินอวกาศไค ซูเจ (Cai Xuzhe) ซึ่งนักบินอวกาศทั้งหมดจะปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศนาน 6 เดือน เพื่อก่อสร้างสถานีอวกาศเทียนกองในส่วนที่เหลือ


เว็บไซต์แบบจำลองเสมือนจริงสถานีอวกาศเทียนกง https://roam.cdstm.cn/roam/?scene_id=90184741 พัฒนาขึ้นโดยพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัลแห่งประเทศจีน (China Digital Science and Technology Museum) เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจศึกษาข้อมูลสถานีอวกาศจีนได้ทำความเข้าใจโครงสร้างต่าง ๆ ของสถานีอวกาศเทียนกงมากขึ้น


ที่มาของข้อมูล roam.cdstm.cn 

ที่มาของรูปภาพ China Manned Space Program

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง