รีเซต

พระยันตระ อมโรภิกขุ คือใคร?

พระยันตระ อมโรภิกขุ คือใคร?
TeaC
21 ตุลาคม 2564 ( 19:09 )
8.2K
พระยันตระ อมโรภิกขุ คือใคร?

 พระยันตระ อมโรภิกขุ คือใคร? หลังโลกออนไลน์มีการแชร์ส่งต่อภาพอดีตพระยันตระกลับไทย เพื่อฉลองวันเกิดครอบอายุ 70 ปี และมีเหล่าบรรดาลูกศิษย์เข้าร่วมงาน พร้อมก้มกราบ จนเกิดประเด็นร้อนแรงสะเทิอนถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งหลายคนอาจสงสัยว่า นักบวชคนนี้คือใคร? วันนี้จะพาไปย้อนประวัติ 

 

ประวัติ อดีตพระยันตระ

 

สำหรับ "อดีตพระยันตระ" หรือ "นายวินัย ละอองสุวรรณ" เคยตกเป็นคดีใหญ่อันโด่งดังเมื่อปี 2537 คดีล่วงละเมิดเมถุน นางจันทิมา กระทั่งมีคำสั่งให้ขาดจากความเป็นพระภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ ก่อนที่เจ้าตัวจะเดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2537 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งพระยันตระ ถือได้ว่าเป็นอดีตภิกษุชื่อดังที่มีผู้เคารพศรัทธามากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศในช่วงหนึ่ง ก่อนจะถูกฟ้องคดีกล่าวหาว่าต้องปาราชิกาธิกรณ์และถูกมติมหาเถรสมาคมลงให้พ้นจากภาวะพระภิกษุ 

 

เมื่อย้อนประวัตพบว่า นายวินัย เป็นชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เกิดเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ เขาได้ปฏิบัติตนเป็นนักพรตฤๅษีอยู่หลายปีจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ต่อมาได้อุปสมบทเป็นภิกษุในธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 ณ พัทธสีมาวัดรัตนาราม อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

เมื่อพระวินัยอุปสมบทมักใช้คำแทนตัวว่า "พระยันตระ" ซึ่งแปลว่าผู้ไกลจากกิเลส ที่เคยใช้มาตั้งแต่ยังเป็นฤๅษียันตระ เมื่อบวชแล้วเป็นที่รู้จักดีทำให้มีผู้ศรัทธาบวชเพื่อเข้าเป็นลูกศิษย์มากมาย ทำให้เขามักแวดล้อมไปด้วยพระสงฆ์คอยอุปัฏฐากอยู่เสมอ ๆ นอกจากนี้ยังมีผู้ศรัทธาสร้างสำนักวัดถวายเขาหลายแห่ง โดยทุกวัดที่สร้างในสำนักเขาจะใช้คำว่า "สุญญตาราม" ประกอบด้วยเสมอ  และสำนักที่เป็นที่รู้จักดีคือ วัดป่าสุญญตาราม กาญจนบุรี และยังมีสำนักวัดป่าสุญญตารามของเขาในต่างประเทศอีกหลายแห่ง เช่นที่ วัดป่าสุญญตาราม เมืองบันดานูน รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น

 

พระยันตระ ถือเป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดในยุคนั้น มีการตีพิมพ์เผยแพร่คำสอนรวมถึงได้รับนิมนต์ไปเทศนายังที่ต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ คำสอนของเขาเน้นแนวทางปฏิบัติกรรมฐานซึ่งได้รับการยอมรับจากนักวิชาการศาสนาว่าถูกต้องกับพระไตรปิฎก

 

พระยันตระ หลบหนีออกนอกประเทศ

 

แต่ในปี พ.ศ. 2537 เขาได้ถูกฟ้องร้องหลายข้อหาและถูกตั้งอธิกรณ์ว่าล่วงละเมิดเมถุนธรรมปาราชิกาบัติ อันเป็นหนึ่งในจตุตถปาราชิกาบัติที่ทำให้ขาดจากความเป็นพระภิกษุตามพระวินัยบัญญัติ โดยมีการต่อสู้ด้วยพยานหลักฐานมากมายตามสื่อต่าง ๆ เป็นข่าวโด่งดังในสมัยนั้นอย่างมาก

 

ภาพสีกากลุ่มหนึ่งยื่นหนังสือร้องเรียน ต่อสมเด็จพระสังฆราชฯ และอธิบดีกรมการศาสนาว่า นายวินัย ละอองสุวรรณ เดินทางไปเทศนาที่ทวีปยุโรป ระหว่างลงเรือเดินสมุทรไม่สำรวมและมีความไม่เหมาะสมกับสมณเพศต่อสุภาพสตรี กระทั่งสืบสาวราวเรื่องจนในที่สุดเขาได้ถูกมติมหาเถรสมาคมพิจารณาอธิกรณ์ปรับให้เขาพ้นจากความเป็นพระภิกษุ เพราะพิจารณาได้ความว่าเขาต้องอาบัติหนักดังที่ถูกฟ้องร้อง

 

แต่นายวินัยไม่ยอมรับมติสงฆ์ดังกล่าว ด้วยการปฏิญาณตนว่ายังเป็นพระภิกษุและเปลี่ยนสีจีวรเป็นสีเขียว ทำให้ถูกสื่อต่าง ๆ ขนานนามว่า จิ้งเขียว, สมียันดะ, ยันดะ เป็นต้น ก่อนที่นายวินัยจะลักลอบทำหนังสือเดินทางปลอมเพื่อหลบหนีออกจากประเทศไทยไปอยู่ในสหรัฐอเมริกาและได้รับสถานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง ทำให้นายวินัยสามารถหลบหนีคดีความอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้จนถึงปัจจุบัน และเมื่อคดีหมดอายุความ การกลับมาไทยครั้งนี้จึงได้รับความสนใจอย่างมาก

 

ข้อมูล : วิกิพีเดีย

ภาพ : มติชน

 

ข่าวเกี่ยวข้อง :

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง