รีเซต

เที่ยวป้อมพระจุลฯ แวะจิบกาแฟที่ Premio Coffee คาเฟ่บรรยากาศริมน้ำ

เที่ยวป้อมพระจุลฯ แวะจิบกาแฟที่ Premio Coffee คาเฟ่บรรยากาศริมน้ำ
TNN ช่อง16
6 พฤศจิกายน 2564 ( 15:27 )
230
เที่ยวป้อมพระจุลฯ แวะจิบกาแฟที่ Premio Coffee คาเฟ่บรรยากาศริมน้ำ

สถานที่เที่ยวใกล้กรุงเทพฯ มีมากมายหลายแห่ง วันหยุดนี้ TNN ONLINE พามาเที่ยว "ป้อมพระจุลจอมเกล้า" ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไม่ถึง 40 กม. และพาไปจิบกาแฟที่คาเฟ่บรรยากาศดีริมน้ำ "Premio Coffee" ใกล้ป้อมพระจุลฯ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น ติดตามได้เลย

8 ที่เที่ยว "ป้อมพระจุลจอมเกล้า" สมุทรปราการ

ป้อมพระจุลจอมเกล้า สถานที่เที่ยวใกล้กรุงเทพฯ ที่หลายคนมักจะแวะมาสักการะพระบรมราชานุเสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 แต่รู้หรือไม่ว่าภายในป้อมพระจุลฯ นั้น ยังมีสถานที่เที่ยวอีกหลายที่ ดังนี้

1.ศาลพระนเรศ - นารายณ์ หรืออีกนามหนึ่งคือ พระวิษณุ

ถือเป็นเทพทางศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูการสักการะศาล พระนเรศ - นารายณ์ เพื่อเป็นสิริมงคลแด่ผู้ที่เข้าเยี่ยมชม ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำป้อมพระจุลจอมเกล้า สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำป้อมพระจุลจอมเกล้า ศาลนี้ขาดว่าสร้างคู่มาพร้อมกับการสร้างป้อมพระจุลจอมเกล้า ในปี พ.ศ.2427

2.พระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5

สักการะพร้อมกับวิทยากรบรรยายประวัติความเป็นมาในการสร้างขึ้นเพื่อเป็นราชานุสรณ์ และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กองทัพเรือได้ร่วมกับภาคเอกชนจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นราชานุสรณ์เเละรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ 19 มกราคม 2536 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิด พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ป้อมพระจุลจอมเกล้า


3.ห้องนิทรรศการป้อมพระจุลจอมเกล้า

เป็นห้องเเสดงนิทรรศการประวัติความเป็นมาของป้อมพระจุลจอมเกล้า ที่มีโอกาศรับใช้ชาติสามารถปฏิบัติภารกิจได้อย่างเต็มที่ เเละสมเกียรติในวิกฤตการณ์ ร.ศ.112 เมื่อ 23 ตุลาคม 2544 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องนิทรรศการ

4.ป้อมปืนเสือหมอบ

เป็นป้อมปืนใหญ่โดยมีลักษณะเป็นหลุมจำนวน 7 หลุม ถือเป็นปืนใหญ่บรรจุท้ายรุ่นแรกที่มีใช้ในกองทัพเรือที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2427 เพื่อสกัดกั้นการรุกล้ำของเรือรบต่างชาติ ปืนใหญ่อาร์มสตอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อจัดซื้อปืนใหญ่ จำนวน 10 กระบอก ติดตั้งไว้ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า จำนวน 7 กระบอก เเละป้อมผีเสื้อสมุทร จำนวน 3 กระบอก ติดตั้งเมื่อปี พ.ศ.2436

ต่อมา วันที่ 10 เม.ย.2436 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินด้วยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เพื่อทอดพระเนตรป้อม เเละทดลองยิงปืนด้วยพระองค์เอง เเละทรงพระราชทานนามป้อมเเห่งนี้ว่า "ป้อมพระจุลจอมเกล้า"

5.โรงเรียนศึกษาธรรมชาติป่าชายเลน  

เป็นสะพานเฌอร่าระยะทาง 750 เมตร พร้อมป้ายบอกชื่อพันธุ์พืชและสัตว์น้ำต่าง ๆ ถือเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางวิชาการจากสถานที่จริงในเรื่อง ชีวิตของพันธุ์ไม้ และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลนในพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ.2542 เพื่อเป็นเเหล่งศึกษาหาความรู้ทางวิชาการจากสถานที่จริง เช่น ชีวิตของพันธุ์ไม้เเละสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าชายเลน ในพื้นที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า ประกอบด้วย โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ โพทะเล ลำพู ลำเเพน เหงือกปลาหมอ จาก ปู้ก้ามดาบ กุ้งดีดขัน ปลาตีน เป็นต้น


6.พิพิธภัณฑ์เรือหลวงแม่กลอง

ได้อนุรักษ์จัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์เรือรบกลางแจ้ง เมื่อ 30 ก.ย.39 น้อมเกล้า ฯ ถวายเพื่อเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในวันมหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี เพื่อเป็นประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ การพัฒนาการทางทหาร และการค้นคว้าหาความรู้ ความเพลิดเพลินของประชาชนทั่วไป และเพื่อสนองพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ให้กองทัพเรืออนุรักษ์เรือรบที่มีคุณค่า และมีความสำคัญไว้

7.อุทยานประวัติศาสตร์ทหารเรือเป็นอุทยานกลางแจ้ง (อาวุธปืน)

ทหารเรือได้จัดสร้างเพื่อน้อมเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม พ.ศ.2542 โดยได้จัดหาอาวุธประเภทต่าง ๆ ซึ่งเก็บรักษาไว้นำมา ตกแต่ง ซ่อมทำ และจัดแสดงตามยุคสมัย ในรูปแบบพิพิธภัณฑ์อาวุธกลางแจ้ง เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาวิวัฒนาการทางอาวุธของทหารเรือในการป้องกันประเทศตั้งแต่ในอดีตจนถึงบทบาทในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลในปัจจุบัน

8.สะพานชมภูมิประเทศ

สะพานชมภูมิประเทศป้อมพระจุลจอมเกล้า เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยเป็น 1 ใน 9 โครงการและกอจกรรมเฉลิมพระเกียรติของกองทัพเรือ ก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และได้ทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2550 ตั้งอยู่ริมร้านอาหาร เป็นสพานคอนกรีตเสริมเหล็กยาว 110 เมตร ที่ปลายสะพานที่ยื่นออกไปเป็นศาลา เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวสามารถชมพระอาทิตย์ตก หรือชมบรรยากาศริมทะเล ดูเรือบรรทุกสินค้าเข้าออกแม่น้ำเจ้าพระยา


พิกัด : https://goo.gl/maps/HBwRbmnPcmfVkxas9

เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน เวลา 08.00-20.00 น.

ค่าเข้าชม : ไม่เสียค่าเข้าชม

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ : 02-453-7222


จิบกาแฟที่ "Premio Coffee" คาเฟ่ริมน้ำ บรรยากาศดี

นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชม "ป้อมพระจุลจอมเกล้า" เสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น มักจะมาแวะนั่งจิบกาแฟริมน้ำบรรยากาศเพลิดเพลินอารมณ์กันที่ Premio Coffee อยู่ตรงทางเข้าป้อมพระจุลฯ 

Premio Coffee แห่งนี้ มีจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร นั่นก็คือ ตั้งอยู่ริมน้ำคลองลัดนาเกลือ ใกล้กับ "ท่าเรือคลองยายหลี" โดยลูกค้าที่นี่ช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ตอนเช้าจะเป็นกลุ่มนักปั่นจักรยาน ที่มาออกกำลังกายและแวะจิบกาแฟที่นี่



ขณะที่ ช่วงกลางวันจะเป็นกลุ่มเพื่อน ครอบครัว คู่รัก มาแวะดื่มเครื่องดื่มคลายร้อนและเสพบรรยากาศรับลมเย็นริมน้ำ หลังจากไปเที่ยวป้อมพระจุลฯ หรือวัดขุนสมุทรจีน มาแล้ว ซึ่งบางคนมาจากการเปิดกูเกิ้ลแมพหาร้าน หรือบางคนมาตามรีวิวก็มี


ปักหมุดเมนูขายดิบขายดีตลอดกาล

- เอสเปรสโซเย็น

- คาปูชิโน

- ชาไทย

- ชาเขียว

- มัคคิอาโต คาราเมลไวท์ช็อก

เมนูแนะนำ

- คาราเมลมัคคิอาโต

- มิ้นท์มะนาวโซดา

- สตรอเบอรี่เฟรปเป้

- น้ำผึ้งมะนาว

- มิ้นท์ลาเต้

- มิ้นท์อเมริกาโน

- มอคค่ามิ้นท์

- โกโก้มิ้นท์

- โมฮิโตคอฟฟี่ เป็นกาแฟผสมโซดา

- เค้กรสชาติต่างๆ

- ขนมปังปิ้งที่ร้านใช้เนยอย่างดี ไม่ใช่มาการีน มีหน้าต่างๆ หน้ายอดฮิตเป็นเนยนม เนยน้ำตาล นูเทลล่า





พิกัด : https://goo.gl/maps/eZSUVnsmEdFWypKy9

FACEBOOK : @premiocoffeeofficial 

เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน เวลา 07.30-19.30 น.

เบอร์โทรศัพท์ : Giff Premio 097-176-6921



ข้อมูลจาก กองบังคับการป้อมพระจุลจอมเกล้า , TNN ONLINE

ภาพจาก TNN ONLINE

ข่าวที่เกี่ยวข้อง