รีเซต

เช็ก! ‘วัคซีนโมเดอร์นา’ ที่จองไว้ จะได้ฉีดไหม หลังกระแส ‘สภากาชาดไทย’ ตัดโควต้าวัคซีน?

เช็ก! ‘วัคซีนโมเดอร์นา’ ที่จองไว้ จะได้ฉีดไหม หลังกระแส ‘สภากาชาดไทย’ ตัดโควต้าวัคซีน?
Ingonn
25 กรกฎาคม 2564 ( 10:27 )
625
เช็ก! ‘วัคซีนโมเดอร์นา’ ที่จองไว้ จะได้ฉีดไหม หลังกระแส ‘สภากาชาดไทย’ ตัดโควต้าวัคซีน?

 

กลายเป็นเรื่องราวที่น่าจับตาในโลกออนไลน์อีกครั้ง เกี่ยวกับ “วัคซีนโมเดอร์นา” วัคซีนที่มีเรื่องราวการนำเข้า จัดจำหน่ายหลายประเด็นหลายกระแสมากที่สุด โดยล่าสุดมีโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งโพสต์ผ่านเฟสบุ๊กว่า อาจต้องคืนเงินค่าจองวัคซีนทางเลือก “โมเดอร์นา” เนื่องจากได้รับจัดสรรมาไม่เพียงพอต่อความต้องการจองฉีดวัคซีน ทำให้ชาวเน็ตต่างคอมเมนต์เดือดว่าทำไมถึงมาบอกกันตอนนี้

 

 

วันนี้ TrueID จะมาสรุปปัญหาที่เกิดขึ้นว่า จะมีโอกาสที่ผู้จองวัคซีนโมเดอร์นากับโรงพยาบาลเอกชนจะได้รับเงินคืนและไม่ได้ฉีดวัคซีนที่จองไว้หรือไม่ โดยไล่เรียงไทม์ไลน์จากการสั่งซื้อของสภากาชาดไทย

 

 


จุดเริ่มต้น


วันที่ 24 ก.ค. 64 โรงพยาบาลอินทรารัตน์ ประกาศเรื่อง การคืนเงินค่ามัดจำวัคซีนทางเลือก “โมเดอร์นา” เนื่องจากทางโรงพยาบาลได้รับการจัดสรรควัคซีนจากสมาคมโรงพยาบาลเอกชนไม่ครบตามจำนวนที่สั่งจองไป โดยทางโรงพยาบาลจะคืนค่ามัดจำให้ภายใน 15 วันทำการ หลังจากได้รับหลักฐานครบถ้วนแล้ว 

 

 

ทำให้ผู้ที่สั่งจองวัคซีนโมเดอร์นาไปเข้ามาคอมเมนต์ถึงการประกาศคืนเงินค่ามัดจำนี้ ถึงความล่าช้าในการแจ้งเตือนประชาชนที่สั่งจองไว้ล่วงหน้าหลายเดือน 

 

 

 

ทำให้ทางโรงพยาบาลชี้แจงรายละเอียดว่า


โรงพยาบาลอินทรารัตน์ ก็ได้เข้ามาชี้แจงและขออภัยว่า เนื่องจากทาง ร.พ.ได้รับการจัดสรรวัคซีนโมเดอร์นามาน้อยกว่าจำนวนที่สั่งจองไปกับทางองค์การเภสัชกรรม การจัดสรรวัคซีนโมเดอร์นานี้ทาง ร.พ.ไม่มีสิทธิ์โต้แย้งใดๆ เนื่องจากเป็นมติของสมาคม ร.พ.เอกชน ซึ่งมีหลาย ร.พ.ที่โดนตัดโควตาไป และได้รับจัดสรรมาน้อยกว่าจำนวนที่สั่งจองไปเช่นกัน

 

 

ทาง ร.พ.สั่งจองไป 20,000 โดส พอสำหรับทุกท่าน แต่ได้รับจัดสรรมาเพียง 13,140 โดส จากทางสมาคม ร.พ.เอกชน-ซึ่งเป็นคนตัดสินว่าแต่ละโรงพยาบาลจะได้รับจำนวนวัคซีนเท่าไหร่ (มี 277 ร.พ.ที่เข้าร่วม ทุก ร.พ.ที่มียอดจองเกิน 10,000 โดส โดนตัดจำนวนวัคซีนที่จะได้ลดลงทุก ร.พ. ดังนั้นทาง ร.พ.จึงมีความจำเป็นที่ต้องคืนค่ามัดจำให้กับลูกค้าบางท่าน โดยได้แจ้งท่านที่โดนตัดสิทธิ์ไปทางอีเมล์แล้ว เพื่อให้กรอกและส่งข้อมูลในการรับเงินคืน ซึ่งทาง ร.พ.จะรีบดำเนินการคืนเงินให้เร็วที่สุด

 

 

นอกจากนี้ ร.พ. ยังได้อธิบายต่อว่า “เนื่องจากตอนแรกมียอดจองไป 9.2 ล้านโดส แต่ทางองค์การเภสัชแจ้งว่าจะสามารถนำเข้าวัคซีนมาเดือน ต.ค. ได้เพียง 4.9 ล้านโดส โดยต้องแบ่งให้ทางสภากาชาดไป 1 ล้านโดส เหลือ 3.9 ล้านโดส มาแบ่งกันในร.พ.เอกชน (277 ร.พ.) ทางสมาคมรพเอกชนจึงมีความจำเป็นที่ต้องตัดโควตาของทุก ร.พ.ที่มียอดจองเกิน 10,000 โดสให้ได้จำนวนลดลง ทาง ร.พ.พยายามคุยกับเครือที่ได้จัดสรรจำนวนมากเพื่อขอซื้อวัคซีนมาให้ในส่วนที่โดนตัดไปแล้ว แต่ไม่สำเร็จ

 

 

 

 


สภากาชาดไทย ยืนยันไม่ตัดยอด 1 ล้านโดส


สภากาชาดไทยขอเรียนยืนยันตามหนังสือจากบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ถึงสภากาชาดไทย เรื่อง “การแจ้งยืนยันการจองวัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา ของสภากาชาดไทย” ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 ระบุว่า

 

 

ตามที่มีผู้เข้าใจว่าสภากาชาดไทย ตัดยอดวัคซีน จำนวน 1 ล้านโดส จากจำนวนวัคซีน 5 ล้านโดส ที่องค์การเภสัชกรรมสั่งซื้อจากผู้แทนจำหน่ายนั้น

 

 

สภากาชาดไทย ขอเรียนยืนยันตามหนังสือจากบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ถึงสภากาชาดไทย เรื่อง "การแจ้งยืนยันการจองวัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา ของสภากาชาดไทย" ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2564 ว่า ตามที่ บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ได้รับการติดต่อจากสภากาชาดไทยตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อขอจองวัคชีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา จำนวน 1 ล้านโดส โดยเริ่มส่งภายในใตรมาส 4 ของปี 2564 และขอทำสัญญาซื้อขายโดยตรงกับทางบริษัทฯ แต่เนื่องจากทางบริษัทฯ ยังไม่สามารถทำสัญญาโดยตรงกับสภากาชาดไทยสำหรับวัคซีนที่จะมาถึงภายในปีนี้ จึงจำเป็นต้องซื้อผ่านองค์การเภสัชกรรม ซึ่งทางบริษัทฯได้แจ้งองค์การเภสัชกรรมให้ทราบแต่ต้นว่า วัคซีน 1 ล้านโดสในปี 2564 นี้ เป็นของสภากาชาดไทย

 

 

ดังนั้น การสั่งซื้อวัคชีนโควิด-19 Moderna จำนวน 1 ล้านโดสของสภากาชาดไทย จึงไม่ได้เป็นการตัดยอดออกมาตามที่เข้าใจ แต่เป็นการสั่งจองไว้ก่อนแล้ว แยกจากวัคซีนจำนวน 4 ล้านโดส

 


ลำดับเหตุการณ์การสั่งซื้อวัคซีน Moderna ของสภากาชาดไทย

 

25 เมษายน 64


อีเมลติดต่อกับ Dr James D Heffelfinger ซึ่งเป็น Director of Center of Disease Control and Prevention (CDC): Country Representative to Thailand และ Mr.Breidenstine: Representative of the US International Trade Agency at the US Embassy to Thailand เรื่องขอความอนุเคราะห์ติดต่อบริษัทผลิตวัคซีนโควิด-19 ของสหรัฐอเมริกา เพื่อสั่งซื้อวัคซีนเข้ามาในประเทศไทย

 

 

26 เมษายน 64


เริ่มการติดต่อสื่อสารกับผู้แทนบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด

 

 

28 เมษายน 64


บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด แถลงความร่วมมือกับบริษัทโมเดอร์น่า อิงค์ เพื่อเป็นผู้แทนจำหน่ายแต่ผู้เดียวในประเทศไทย

 


29 เมษายน 64


ประชุม zoom meeting กับผู้แทนการค้าสหรัฐในไทย ผู้อำนวยการ CDC ประจำประเทศไทย และ ผู้อำนวยการ AFRIM ประจำประเทศไทย เรื่องขอความสนับสนุนในการจัดหาวัคซีนโควิด-19 ของสภากาชาดไทย

 


5 พฤษภาคม 64


ลงนามสัญญารักษาความลับของข้อมูลกับบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด

 


12 พฤษภาคม 64


อย.จดทะเบียนยาให้วัคซีน Moderna

 


31 พฤษภาคม 64


ประชุมกับผู้แทนจากศบค. ผู้แทน Pfizer และผู้แทนบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด:

 

 

ทางบริษัท ซิลลิคฯ แจ้งว่าวัคซีนที่สภากาชาดไทยจอง 1 ล้านโดสแรกนั้น ยังไม่สามารทำสัญญาซื้อขายโดยตรงกับบริษัท ซิลลิคฯ ได้ จำเป็นต้องทำสัญญาผ่านองค์การเภสัชกรรม แต่กำลังดำเนินการขออนมัติให้สภากาชาดไทยสามารถทำสัญญาซื้อขายได้โดยตรงในล็อตต่อ ๆ ไป 

 

 


ต้นเดือนมิถุนายน 64


ได้รับแจ้งด้วยวาจาว่าในล็อตต่อไปที่วัคซีนจะเข้ามาปีหน้า สภากาชาดไทยสามารถทำสัญญาซื้อขายโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านองค์การเภสัชกรรม

 

 

8 มิถุนายน 64


ศบค.ประกาศให้ 5 หน่วยงานซึ่งรวมถึงสภากาชาดไทยเร่งนำเข้าวัคซีนทางเลือก

 


11 มิถุนายน 64


องค์การเภสัชกรรมเชิญสภากาชาดไทยและโรงพยาบาลเอกชนต่าง ๆ ร่วมประชุมฟังคำชี้แจงขั้นตอนการจองซื้อวัคซีน Moderna ผ่านองค์การเภสัชกรรม

 

 

28 มิถุนายน 64 


ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสภากาชาดไทย ครั้งที่ 6/2564 เห็นชอบให้จัดซื้อวัคซีน Moderna แต่ยังไม่ได้ข้อยุติในเรื่องจำนวน งบประมาณ การบริหารจัดการ กลุ่มเป้าหมาย และการจัดสรร

 


8 กรกฎาคม 64 


หนังสือจากเลขาธิการสภากาชาดไทยถึงองค์การเภสัชกรรม ยืนยันจองซื้อวัคซีน Moderna 1 ล้านโดส

 

 

22 กรกฎาคม 64


เลขาธิการสภากาชาดไทยลงนามในหนังสื่อสัญญาซื้อขายวัคซีน Moderna กับองค์การเภสัชกรรม

 

 

ซึ่งกระแสสภากาชาดไทยตัดยอดจากการนำเข้าองค์การเภสัชกรรมเกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ก่อน โดยทางสภากาชาดไทยได้เคยทำหนังสือชี้แจงแล้วว่า

 

 

สภากาชาดไทยได้ดำเนินการติดต่อขอสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา กับบริษัทผู้แทนจำหน่ายมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เมื่อรัฐบาลมอบให้องค์การเภสัชกรรมดำเนินการจัดซื้อและนำเข้าวัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา บริษัทผู้แทนจำหน่าย จึงได้ขอให้องค์การเภสัชกรรมได้สั่งวัคซีนเพิ่มเติมอีกจำนวน 1 ล้านโดสให้สภากาชาดไทยด้วย โดยบริษัทผู้แทนจำหน่ายได้แจ้งยืนยันกับองค์การเภสัชกรรมตั้งแต่ต้นว่าวัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นาที่จะเข้ามาปลายปีนี้เป็นของสภากาชาดไทยจำนวน 1 ล้านโดส

 

 

ดังนั้นการสั่งซื้อวัคซีนโควิด 19 จำนวน 1 ล้านโดสของสภากาชาดไทย จึงไม่ได้เป็นการตัดยอดออกมาตามที่เข้าใจ แต่เป็นการสั่งจองไว้ก่อนต่างหากจากวัคซีนจำนวน 4 ล้านโดส

 

 

 


จังหวัดไหนได้ฉีดบ้าง


ตามที่ สภากาชาดไทยได้มีหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เรื่อง ขอความร่วมมือในการแจ้งจองวัคชีนสำหรับฉีดให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบางและกลุ่มอื่น 1 โดยไม่คิดมูลค่า ตามแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนสำหรับประชาชนของสภากาชาดไทย โดยกำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดสั่งจองเข้ามายังสำนักงานบริหารกิจการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย ภายในเวลา 12.00 น. ของวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 นั้น

 

 

สภากาชาดไทย ขอเรียนให้ทราบว่า ขณะนี้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้งสิ้น 38 จังหวัดที่ดำเนินการแจ้งการจองวัคซีนเข้ามายังสภากาชาดไทย ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ เชียงใหม่ ชลบุรี ราชบุรี อุดรธานี สระบุรี มหาสารคาม สิงห์บุรี ลำพูน กระบี่ แพร่ สมุทรสาคร เพชรบูรณ์ นครปฐม ร้อยเอ็ด นครนายก พะเยา กาฬสินธุ์ พระนครศรีอยุธยา น่าน นราธิวาส ศรีสะเกษ สุพรรณบุรี อุทัยธานี เชียงราย สุโขทัย อ่างทอง ภูเก็ต อุตรดิตถ์ มุกดาหาร ตาก ชุมพร พังงา ลพบุรี สุรินทร์และปัตตานี

 

 

โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั้ง 38 จังหวัด ได้นำเสนอแผนการฉีดวัคซีนตามกลุ่มเป้าหมายที่สภากาชาดไทยกำหนด และผ่านการพิจารณาจากผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด รวมทั้งผู้ว่าราชการจังหวัดได้เซ็นกำกับรับรองส่งมายังสภากาชาดไทย เพื่อพิจารณาจัดสรรโควต้าวัคซีนพร้อมชำระเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว (ราคา 1,100 บาท/โดส) ซึ่งสภากาชาดไทยจะทยอยจัดสรรวัคซีนให้ไปดำเนินการฉีดให้แก่ประชาชน โดยไม่คิดมูลค่ได้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

 

 


กลุ่มเป้าหมายที่ได้ฉีดโมเดอร์นา สภากาชาดไทย


1. คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง สตรีตั้งครรภ์ ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน

 


2. ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน

 


3. บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล ในถิ่นทุรกันดาร

 


4. ผู้ที่ทำงานประจำอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้สอนในโรงเรียนอนุบาล หรือครู อาจารย์ ผู้ที่ทำหน้าที่สอนหนังสือในโรงเรียน ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน

 


5. บุคลากรที่ต้องออกปฏิบัติงานสัมผัสประชาชน ตามโครงการฉีดวัคซีนขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่ยังไม่เคยได้รับวัคนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน และบุคคลที่ยังไม่สามารถรับการฉีดวัคซีนได้ เนื่องจากติดขัดระเบียบหรือกฎหมาย

 

 

 

ดังนั้นต้องรอฟังประกาศจากโรงพยาบาลเอกชนที่สั่งจองวัคซีนโมเดอร์นาอีกครั้ง เนื่องจากจำนวนที่สั่งจองมีมากถึง 9 บ้านกว่าโดส แต่องค์การเภสัชกรรมได้ลงนามในสัญญาซื้อ-ขาย อย่างเป็นทางการในการจัดหาและกระจายวัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา จำนวนประมาณ 5 ล้านโดส โดยวัคซีนทั้งหมดจะทยอยนำเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ปี 2564 ต่อเนื่องไตรมาส 1 ปี 2565 เป็นไปตามช่วงเวลาเดิมที่กำหนดไว้

 


ขณะเดียวกันโรงพยาบาลต่าง ๆ รวมทั้งสภากาชาดไทย ได้ทำการชำระเงินค่าวัคซีนครบถ้วนตามที่ได้รับการจัดสรร หลังจากนี้องค์การฯจะได้ทำการชำระเงินฯให้แก่ บริษัท ซิลลิก ฟาร์มา จํากัด ต่อไป เพื่อให้ความมั่นใจว่าวัคซีนทางเลือกโมเดอร์นา จำนวนประมาณ 5 ล้านโดสนี้ จะเข้ามาประเทศไทยอย่างแน่นอน

 

 

 

 


ข้อมูลจาก สภากาชาดไทย , องค์การเภสัชกรรม

 

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง