รีเซต

เปิดที่มา “โมเดอร์นา” 1 ล้านโดส ของสภากาชาดไทยมาจากไหน ใครได้ฉีดบ้าง

เปิดที่มา “โมเดอร์นา” 1 ล้านโดส ของสภากาชาดไทยมาจากไหน ใครได้ฉีดบ้าง
Ingonn
19 กรกฎาคม 2564 ( 13:49 )
343


 
สภากาชาดไทยได้ออกมาชี้แจงถึง กรณีการเปิดจองวัคซีนโมเดอร์นาสำหรับประชาชนกลุ่มเปราะบางและกลุ่มอื่นๆ ได้รับการฉีดฟรี โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จนเกิดกระแสข่าวว่าวัคซีนโมเดอร์นาที่สภากาชาดนำมาให้ฉีด 1 ล้านโดส ปาดหน้าเค้ก ขอแบ่งยอดจากองค์การเภสัชกรรมหรือไม่ วันนี้ TrueID จึงได้สรุปข้อมูลวัคซีนโมเดอร์นาจากสภากาชาดไทยมาให้แล้วว่า มาจากไหน ใครได้ฉีดบ้าง

 

 


ที่มาวัคซีนโมเดอร์นา จากสภากาชาดไทย

 

ตามที่มีกระแสข่าวเรื่องการจัดซื้อวัคซีนโควิด19 โมเดอร์นา ของสภากาชาดไทยจำนวน 1 ล้านโดส ซึ่งมีผู้เข้าใจว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดซื้อวัคซีนโควิด19 โมเดอร์นาที่องค์การเภสัชกรรมสั่งซื้อจำนวน 5 ล้านโดสและสภากาชาดไทยขอแบ่งสรรวัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นา จากยอดสั่งซื้อ 5 ล้านโดสนั้น

 

 

ขอเรียนว่าสภากาชาดไทยได้ดำเนินการติดต่อขอสั่งซื้อวัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา กับบริษัทผู้แทนจำหน่ายมาตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 เมื่อรัฐบาลมอบให้องค์การเภสัชกรรมดำเนินการจัดซื้อและนำเข้าวัคซีนโควิด-19 โมเดอร์นา บริษัทผู้แทนจำหน่าย จึงได้ขอให้องค์การเภสัชกรรมได้สั่งวัคซีนเพิ่มเติมอีกจำนวน 1 ล้านโดสให้สภากาชาดไทยด้วย โดยบริษัทผู้แทนจำหน่ายได้แจ้งยืนยันกับองค์การเภสัชกรรมตั้งแต่ต้นว่าวัคซีนโควิด 19 โมเดอร์นาที่จะเข้ามาปลายปีนี้เป็นของสภากาชาดไทยจำนวน 1 ล้านโดส

 

 

ดังนั้นการสั่งซื้อวัคซีนโควิด 19 จำนวน 1 ล้านโดสของสภากาชาดไทย จึงไม่ได้เป็นการตัดยอดออกมาตามที่เข้าใจ แต่เป็นการสั่งจองไว้ก่อนต่างหากจากวัคซีนจำนวน 4 ล้านโดส

 

 

สภากาชาดไทย ขอเรียนว่าสภากาชาดไทยในฐานะองค์การสาธารณกุศล มีภารกิจสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐ ในการดำเนินการด้านมนุษยธรรม มีความพยายามในการจัดหาวัคซีน โควิก19 เพื่อเสริมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด9 ที่มีความรุนแรงมากขึ้นมาโดยตลอดทั้งนี้ สภากาชาดไทยได้พิจารณากลุ่มคน เป้าหมายที่มีความจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนโควิด19 ในลำดับแรก ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ซึ่งต้องปฏิบัติงานในด่านหน้าและมีความเสี่ยง กลุ่มผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ ผู้พิการ สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยติดเตียง และผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนได้โดยสภากาชาดไทย โรงพยาบาลภาครัฐและองค์การบริหารส่วนจังหวัด จะดำเนินการฉีดวัคซีน ให้แก่กลุ่มคนดังกล่าว ภายใต้เงื่อนไขว่าจะไม่คิดค่าใช้จ่ายและไม่นำวัคซีนไปจำหน่ายต่อ

 

 

อนึ่ง งบประมาณการดำเนินการดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากเงินสะสม เงินบริจาคของสภากาชาดไทยและเงินสนับสนุนจากโรงพยาบาลภาครัฐ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ได้รับการจัดสรรวัคซีนจากสภากาชาดไทย ในอัตราเดียวกันกับที่สภากาชาดไทยต้องชำระให้องค์การเภสัชกรรมโดยสภากาชาดไทยได้จัดตั้ง "กองทุนสำหรับการจัดซื้อวัคซีนและยาโควิด19 เพื่อประชาชน"สำหรับการดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป

 

 

 

 


ใครได้ฉีดฟรีบ้าง


1. บุคลากรทางการแพทย์ 

 


2. ประชาชนผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ

 


3. ผู้ป่วยติดเตียง 

 


4. สตรีมีครรภ์ 

 


5. ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป 

 


**เฉพาะผู้ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนโควิด-19 ให้สามารถเข้าถึงวัคซีน  “โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายกับประชาชน”

 

 

 

ผู้บริจาคโลหิตกับสภากาชาดไทย ได้ฉีดไหม


ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ไม่สามารถดำเนินการจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ประชาชนทั่วไปได้โดยตรง เนื่องจาการจัดสรรวัคซีน ต้องมีการวางแผนที่เหมาะสม โดยทีมงานส่วนกลางของสภากาชาดไทย เป็นผู้พิจารณาจัดสรร ร่วมกับหน่วยงานแกนกลางของประเทศ เพื่อให้สามารถกระจายวัคซีนให้แก่ประชาชนกลุ่มผู้เปราะบางในสังคม และผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่างๆ รวมทั้งบุคลากรด่านหน้าที่ต้องปฏิบัติงานกับผู้ป่วยโควิด ให้ครอบคลุมในภาพรวม

 

 

สำหรับผู้บริจาคโลหิตที่สูงอายุ ศูนย์ฯ ขอรับไว้เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะดูแล และจะแนะนำแนวทางลงทะเบียนให้ต่อไป

 

 

 

วัคซีนโมเดอร์นาเข้ามาเมื่อไหร่


สภากาชาดไทยจะได้รับวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) ในตรมาสที่ 4 ของปี 2564 และต้นปี 2565 โดยส่วนหนึ่งสภากาชาดไทยจะเป็นผู้ดำเนินการฉีดเอง อีกส่วนหนึ่งส่งต่อให้โรงพยาบาลภาครัฐที่ต้องการฉีดให้บุคลากรทางการแพทย์ และที่เหลือส่งต่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งจะต้องดำเนินการฉีดให้กับกลุ่มเป้าหมายที่สภากาชาดไทยกำหนด

 

 

 

แนวทางการบริหารจัดการวัคซีนสำหรับประชาชน ของสภากาชาดไทย 


สภากาชาดไทยเป็นองค์กรด้านสาธารณกุศล ดำเนินกิจกรรมด้านมนุษยธรรม มีนโยบายในการช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยสนันสนุนการดำเนินงานของรัฐ ด้วยการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โมเดอร์นา (Moderna) จำนวนหนึ่ง ให้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่มีความประสงค์จะซื้อวัคซีนไปฉีดให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายโดยไม่คิดมูลค่า โดยมีเงื่อนไขดำเนินการ ดังนี้

 


1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ต้องจัดทำ “แผนการขอรับการจัดสรรวัคซีน” เพื่อนำวัคซีนไปฉีดให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ตามที่สภากาชาดไทยกำหนด พร้อมจำนวนคนในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 5 กลุ่ม ตามลำดับ ได้แก่

 


1) คนพิการ ผู้ป่วยติดเตียง สตรีตั้งครรภ์ ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน

 


2) ผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่เคยได้รับวัคนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน

 


3) บุคลากรทางการแพทย์และพยาบาล ในถิ่นทุรกันดาร

 


4) ผู้ที่ทำงานประจำอยู่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้สอนในโรงเรียนอนุบาล หรือครู อาจารย์ ผู้ที่ทำหน้าที่สอนหนังสือในโรงเรียน ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน

 


5) บุคลากรที่ต้องออกปฏิบัติงานสัมผัสประชาชน ตามโครงการฉีดวัคนขององค์การบริหาร ส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่ยังไม่เคยได้รับวัคนป้องกันโรคโควิด-19 มาก่อน และบุคคลที่ยังไม่สามารถรับการฉีดวัคนได้ เนื่องจากติดขัดระเบียบหรือกฎหมาย

 

 

 

2. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ต้องเสนอ “แผนการขอรับการจัดสรรวัคซีน” โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัด

 

 

 

3. เงื่อนไขที่สำคัญ ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ต้องดำเนินการดังนี้

 


1) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการกับสภากาชาดไทย ต้องสนับสนุนงบประมาณค่าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 Moderna ราคา 1,300 บาท/โดส ให้แก่ สภากาชาดไทย เพื่อนำไปจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 Moderna มาให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สำหรับเงินค่าวัคซีน โดสละ 1,300 บาท นั้น เมื่อหักต้นทุนวัคซีนและค่าบริหารจัดการตามโครงการแล้ว เงินส่วนที่เหลือจากค่าใช้จ่ายดังกล่าว จะได้นำเข้าสมทบใน “กองทุนสภากาชาดไทย เพื่อจัดหาวัคซีนโควิด-19 และยารักษาโรคโควิด-19 สำหรับประชาชน” ต่อไป

 


2) องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ต้องจัดบริการฉีดวัคนให้กับประชาชน กลุ่มเป้าหมาย โดยไม่คิดมูลค่าและห้ามนำไปจำหน่ายโดยเด็ดขาด

 


3) เมื่อสภากาชาดไทย แจ้งการจัดสรรโควต้า ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) แล้วขอให้ชำระเงินเต็มตามจำนวนที่ได้รับอนุมัติจากสภากาชาดไทย ภายในวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 ก่อนเวลา 12.00 น.

 


4) สภากาชาดไทยจะทยอยจัดสรรวัคชีนได้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

 

 


หมายเหตุ : หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และหรือวิทยาการความก้าวหน้าของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เปลี่ยนแปลงไป สภากาชาดไทยจะพิจารณาเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ต่อไป

 

 

 


ข้อมูลจาก สภากาชาดไทย

 

 

 

 

 

--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง