รีเซต

ตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยรีวกู ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการก่อตัวของระบบสุริยะ

ตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยรีวกู ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการก่อตัวของระบบสุริยะ
TNN ช่อง16
14 มิถุนายน 2565 ( 06:20 )
119

ตัวอย่างจากดาวเคราะห์น้อยรีวกู (Ryugu) ซึ่งถูกเก็บมาโดยยานอวกาศฮายาบูสะ 2 (Hayabusa 2) ที่เดินทางไปเยือนดาวเคราะห์น้อยรีวกูสำเร็จในปี 2019 และได้นำตัวอย่างดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวกลับมายังโลกในปี 2020


ตามทฤษฎีแล้ว ดาวเคราะห์น้อยและดาวหางเป็นเศษซากที่เกิดขึ้นจากกระบวนเกิดระบบดาวเคราะห์ เช่น ระบบสุริยะ ทำให้ดาวเคราะห์น้อยและดาวหางมีอายุพอ ๆ กับระบบดาวเคราะห์ที่ทำให้มันถือกำเนิดขึ้นมา นักวิจัยจึงต้องการศึกษาดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะ เพื่อตามหาดาวเคราะห์น้อยที่เกิดจากกระบวนการเกิดของระบบสุริยะและใช้ไขปริศนาการเกิดของระบบสุริยะ โดยรีวกูเป็นดาวเคราะห์น้อยในระบบสุริยะ ซึ่งคาดว่าอาจเกิดจากกระบวนการเกิดระบบสุริยะ ทำให้การศึกษาตัวอย่างของมันมีแนวโน้มจะไขปริศนาการเกิดระบบสุริยะได้


โดยปกติแล้ว นักวิจัยจะศึกษาองค์ประกอบของสสารจากเศษซากดาวตก แต่ตัวอย่างของดาวตกมักมีการปนเปื้อน ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่วัตถุพุ่งเข้าสัมผัสชั้นบรรยากาศโลก จึงได้มีการสร้างยานอวกาศฮายาบูสะ 2 ขึ้น โดยองค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency) หรือแจ็กซา (JAXA) เพื่อเดินทางไปยังดาวเคราะห์น้อยรีวกูและเก็บตัวอย่างมาโดยตรง


จากการศึกษา พบองค์ประกอบชนิดหนึ่งที่มีอายุมากที่สุดเท่าที่เคยมีการระบุตัวตนองค์ประกอบของสสารมา ซึ่งมากกว่าอายุของดวงอาทิตย์เสียอีก ทำให้คาดการณ์ได้ว่าแหล่งกำเนิดของมันอยู่นอกระบบสุริยะ นอกจากนี้ยังตรวจพบร่องรอยของน้ำที่มีอายุหลังการเกิดของระบบสุริยะเล็กน้อย และมีการตรวจพบโปรตีน ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงสิ่งมีชีวิต


สรุปคือ ดาวเคราะห์น้อยรีวกูไม่ใช่เศษซากที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเกิดของระบบสุริยะ แต่เกิดจากกระบวนการเกิดของระบบดาวเคราะห์อื่น มีการตรวจพบร่องรอยของน้ำและโปรตีน จึงอาจเป็นไปได้ว่า วัตถุแม่ที่ดาวเคราะห์น้อยรีวกูจากมามีสิ่งมีชีวิตอยู่ หรืออาจเคยมี


แต่ทั้งนี้ เรายังไม่สามารถสรุปได้ว่ามีสิ่งมีชีวิตอยู่นอกระบบสุริยะจริง เนื่องจากการสรุปเช่นนั้นจะต้องใช้หลักฐานที่พิสูจน์ได้มากกว่านี้ 


ข้อมูลจาก newatlas.com

ภาพจาก nasa.gov

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง