ขั้นตอนการจัดงานศพผู้ติดเชื้อโควิด-19 แต่ละศาสนา
สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยตอนนี้ พบผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการแพร่ระบาดกระจายทุกจังหวัดทั่วประเทศ เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่มีโรคประจำตัว ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากคนในครอบครัวและที่ทำงาน โดยมาตรการการจัดงานศพเหลือพิธีจัดงานแค่ 1 วัน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
วันนี้ True ID ได้เตรียมคู่มือจัดงานศพตามแต่ละศาสนา และข้อปฏิบัติสำหรับผู้เข้าร่วมพิธีศพที่ควรรู้ไว้ ดังนี้
แนวทางจัดการศพผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19
การทำพิธีศพของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ว่า ถ้าเป็นศพที่เสียชีวิตจากโควิดในรพ.จะมีการราดน้ำยาฆ่าเชื้อ และนำสำลีชุดน้ำยาฆ่าเชื้ออุดทางรูทวาร และบรรจุใส่ซิปล็อคถึง 3 ชั้น ทุกชั้นต้องราดน้ำยาฆ่าเชื้อ จากนั้นบรรจุโลงจึงเป็นเรื่องยากที่เชื้อจะทะลุถุง 3 ชั้น ออกมานอกโลงได้ แต่ห้ามเปิดถุงซิปออกเท่านั้น
1. เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตสารคัดหลั่งที่อยู่ในศพยังสามารถแพร่กระจายเชื้อได้
2. ควบคุมสารคัดหลั่งโดยเก็บศพไว้ในถุงซิปกันน้ำอย่างน้อย 2 ชั้น และใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคทาด้านนอกถุงเก็บศพ
3. ห้ามเปิดถุงเก็บศพโดยเด็ดขาด ไม่มีการอาบน้ำศพ รดน้ำศพ และฉีดยารักษาศพ
4. บรรจุศพพร้อมถุงลงในโลงศพ และปิดฝาโลงให้สนิท ญาติสามารถนำศพไปทำพิธีกรรมทางศาสนาได้อย่างปลอดภัย
5. การเผาหรือฝังศพจะไม่ก่อให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อ
ข้อปฏิบัติสำหรับศาสนิกชนผู้เข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
1.ก่อนเข้าร่วมพิธีกรรมในศาสนสถาน ควรจัดเตรียมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่หรือ 70% แอลกอฮอล์
2.ล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสิ่งที่มีบุคคลอื่นสัมผัสด้วยกันปริมาณมาก เช่น ลูกบิตประตู ราวบันได หนังสือ
3.ผู้ที่มีอาการป่วย เช่น มีไข้ เจ็บคอ มีน้ำมูก แม้จะมีอาการไม่มาก ให้งดการร่วมประกอบพิธีกรรม
4.ผู้เข้าร่วมประกอบพิธีกรรมไมใช้สิ่งของ เช่น แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าต่าง ๆ เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น
5.งดการใช้น้ำอุปโภค บริโภค สำหรับบ่อน้ำ หรืออ่างน้ำที่ใช้ร่วมกัน
6.สังเกตอาการผู้เข้าร่วมประกอบพิธีกรรม หากมีอาการไอ จาม ผิดปกติ ให้แยกนั่งห่างจากผู้อื่น
จัดพิธีศพศาสนาพุทธ
โดยตามหลักศาสนาพุทธแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ ได้แก่ ขั้นตอนการอาบน้ำศพ การบำเพ็ญกุศลและการสวดอภิธรรมศพ การฌาปนกิจ และการเก็บอัฐิเป็นอันเสร็จสิ้น แต่เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ห้ามเปิดถุงซิปห่อศพอย่างเด็ดขาด การจัดพิธีศพตามหลักชาวพุทธจึงต้องละเว้นขั้นตอนการอาบน้ำศพ และเข้าสู่การบำเพ็ญกุศลเลย
การสวดอภิธรรมศพหรือทำบุญให้ผู้ตายยังทำได้ตามปกติ แต่อาจลดขั้นตอนจาก 3 วัน เหลือ 1 วัน และทำการเผาทันทีภายหลังเสียชีวิตไม่เกิน 1 วัน รวมถึงขอให้กำหนดเฉพาะ ญาติพี่น้องที่ใกล้ชิดเท่านั้น ที่จะสามารถร่วมพิธีฌาปนกิจได้
จัดพิธีศพศาสนาคริสต์
สำหรับขั้นตอนจัดพิธีงานศพแบบศาสนาคริสต์ หลักๆ โดยปกติมีด้วยกัน 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสวดศพ การนำร่างผู้เสียชีวิตลงโลงศพ พิธีมิสซา และพิธีฝังศพที่สุสาน ทว่าในประเทศไทยมีการปรับบางขั้นตอนให้เข้าสภาพสังคมในบางพื้นที่ จากการฝังเป็นการเผา เนื่องจากไม่สะดวกต่อการหาพื้นที่ทำสุสาน
ขั้นตอนการข้อปฏิบัติสำหรับศาสนาอิสลาม มีดังนี้
1.ให้นำศพไปที่สุสาน
อนุญาตให้เฉพาะผู้ทำพิธีและญาติสนิทมิตรสหายเท่าที่จำเป็นเท่านั้นเข้าร่วมพิธี ในพิธีให้ผู้ทำพิธีอ่านพระคัมภีร์และอธิษฐานแล้วให้ดำเนินการเผาหรือฝังให้ หลังเสร็จพิธีให้แต่ละคนรีบกลับบ้านและอาบน้ำชำระตัวให้สะอาด
2.ให้ทุกคนที่มีส่วนร่วมในงานศพกักตัว 14 วัน หากมีไข้ให้รีบไปพบแพทย์
3.ให้ปฏิบัติตามมาตรการต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด
จัดพิธีศพศาสนาอิสลาม
ชาวมุสลิมจะใช้วิธีการฝังศพเพื่อให้ร่างสลายไปตามธรรมชาติเท่านั้น และจะต้องฝังศพภายใน 24 ชั่วโมง หรือฝังให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ชาวมุสลิมจะอาบน้ำทำความสะอาดศพ ห่อผ้าขาว พร้อมสวดวิงวอนอุทิศแด่ผู้ล่วงลับ ส่วนสถานที่ฝังศพหรือสุสานนั้น ชาวมุสลิมเรียกว่า “กุโบร์”
ขั้นตอนการข้อปฏิบัติสำหรับศาสนาอิสลาม มีดังนี้
1. ให้ประสานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลในการจัดการศพ ให้บุคคลที่เป็นมุสลิมทำการตะยัมมุมแทนการอาบน้ำศพในห้องปลอดเชื้อหรือสถานที่ที่จัดเตรียมไว้โดยเฉพาะ ทั้งนี้ให้ทำตะยัมมุมก่อนบรรจุศพลงในถุง โดยผู้ทำหน้าที่ตะยัมมุมสวมชุดป้องกันการติดเชื้อ (PPE) แล้วตบฝุ่นที่เตรียมไว้ ครั้งที่ 1 เพื่อลูบใบหน้าศพ และตบฝุ่นครั้งที่ 2 เพื่อลูบมือจนถึงข้อศอกหรืออย่างน้อยที่สุดลูบให้ถึงข้อมือ ทั้ง 2 ข้าง แล้วปิดถุงบรรจุศพ โดยถือเอาถุงบรรจุศพเป็นกะฝั่น(ผ้าห่อศพ) และให้ผู้นั้นทำการละหมาดให้แก่ศพ ณ สถานที่นั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ไม่สามารถทำตะยัมมุมได้ ให้ละหมาดแก่ศพในสภาพนั้น และหรือนำศพไปฝัง ณ สุสาน โดยไม่ต้องมีการละหมาดให้แก่ศพ
2.หากการสัมผัสศพโดยตรงนั้นไม่ปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ทำตะยัมมุม อนุญาตให้ทำตะยัมมุมบนถุงห่อศพ โดยไม่ต้องแกะถุงออก
3.กรณีผู้ทำตะยัมมุมได้ละหมาดญะนาชะห์ให้แก่ศพแล้ว ให้รีบนำสพไปฝังที่สุสานทันที แต่หากยังมิได้ละหมาด ญะนาชะห์ให้แก่ศพ ให้ญาติของผู้เสียชีวิต (เฉพาะญาติใกล้ชิดเท่านั้น) ละหมาดที่สุสาน โดยให้ผู้ร่วมละหมาด ป้องกันตนเองโดยการสวมใส่หน้ากากอนามัย และเว้นระยะห่างระหว่างกัน 2 เมตร์ ทั้งนี้ ให้ฝังศพผู้เสียชีวิตในท่านอนตะแคงขวาหันหน้าไปทางกิบละห์ (ทิศตะวันตก)
4.ห้ามญาติผู้เสียชีวิตและผู้มาเยี่ยม สัมผัสหรือจูบศพ (มัยยิต)
5.กรณีไม่มีบุคลากรหรือแพทย์มุสลิม ขอให้ทางโรงพยาบาลหรือญาติของผู้เสียชีวิตติดต่อคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดหรืออิหม่ามในพื้นที่ของผู้เสียชีวิต มารับศพไปจัดการละหมาดและฝังทันที โดยให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอย่างเคร่งครัด จนการฝังแล้วเสร็จ ทั้งนี้ หากจังหวัดใดไม่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ให้โรงพยาบาลหรือญาติของผู้เสียชีวิตติดต่อไปยังสำนักจุฬาราชมนตรี เพื่อประสานงานส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ข้อมูลจาก คู่มือการปฏิบัติพิธีทางศาสนาของแต่ละศาสนา ในช่วงเวลาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) , กระทรวงวัฒนธรรม , กรมศาสนา , กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข , wreathmala
ข่าวที่เกี่ยวข้อง