รีเซต

เปิดสาเหตุ! ทำไมเตียงโควิด-19 ไม่เพียงพอต่อการรักษา

เปิดสาเหตุ! ทำไมเตียงโควิด-19 ไม่เพียงพอต่อการรักษา
Ingonn
28 เมษายน 2564 ( 13:45 )
191
เปิดสาเหตุ! ทำไมเตียงโควิด-19 ไม่เพียงพอต่อการรักษา

จากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นต่อวัน รวมทั้งมีผู้เสียชีวิตหลายคนมาจากสาเหตุการรอเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลไม่ทัน จึงกลายเป็นคำถามคาใจหลายๆคนว่า ทำไมผู้ติดเชื้อโควิด-19 ถึงไม่มีเตียงรักษา?

 

 

วันนี้ True ID ได้รวบรวมสรุปจากกระทรวงสาธารณสุข ถึงสาเหตุเตียงรักษาโควิด-19 ไม่เพียงพอต่อการรักษา พร้อมแนวทางการแก้ไขจากกระทรวง

 

 

ก่อนจะไปรู้สาเหตุ ต้องรู้ก่อนว่าการรักษาแบ่งเป็นกลุ่มไหนบ้าง

 


สำหรับนโยบายการส่งต่อผู้ป่วย โควิด 19 ในกรุงเทพฯ จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม โดยมีการจำแนกดังนี้

 

กลุ่มสีเขียว

- จากการตรวจคัดกรองเชิงรุก Active Case Finding และจากระบบบริการ


- ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย เช่น ไข้ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่นขึ้นถ่ายเหลว


- ส่วนใหญ่ส่งต่อเข้าโรงพยาบาลสนาม และ Hospitel

 

 

กลุ่มสีเหลือง (ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล)

- ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว


- มีความเสี่ยง/มีโรคร่วมที่สำคัญ ข้อใดข้อหนึ่งต่อไปนี้

           1. อายุมากกว่า 60 ปี
           2. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (รวมโรคปอดอื่นๆ)
           3. โรคไตเรื้อรัง
           4. โรคหัวใจและหลอดเลือด (รวมโรคหัวใจแต่กำเนิด)
           5. โรคหลอดเลือดสมอง
           6. เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้
           7. ภาวะอ้วนที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรับ
           8. ตับแข็ง
           9. ภูมิคุ้มกันต่ำ (เซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำกว่า 1,000 cell/mms)

 

 

กลุ่มสีแดง (ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล)

- หอบเหนื่อย หายใจลำบาก X-ray พบปอดอักเสบรุนแรง


- มีภาวะปอดปวม (ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือ ความอิ่มตัวของเลือดลดลงมากกว่า 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกหลังออกแรง (Exercise - induced Hyoixemia)

 

 


ทำไมเตียงว่าง แต่ไม่มีเตียงให้รักษา


จำนวนเตียงที่มีอยู่ในกทม. เป็นของภาคเอกชน และในจำนวนเตียงที่มีอยู่ ส่วนใหญ่เป็นเตียงที่อยู่ใน Hospitel สำหรับคนไข้สีเขียว ส่วนเตียงไอซียูห้องความดันลบ (AIIR-ICU) มีเครื่องมือดูแลผู้ป่วยอาการหนัก ใส่เครื่องช่วยหายใจ และเตียงห้องรองลงมาที่เป็นระบบความดันลบ (Modified AIIR) สามารถดูแลผู้ป่วยหนักได้ ทั้ง 2 ส่วนนี้มีผู้ป่วยครองเตียงแล้วร้อยละ 70-80


เมื่อถึงจุดค่อนข้างตึง ไม่มีพื้นที่เหลือให้ผู้ป่วยรายใหม่เข้าได้ จึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการที่ดี นำผู้ป่วยในห้องไอซียูที่มีอาการดีออกมาอยู่หอผู้ป่วยมากขึ้นเพื่อรับผู้ป่วยที่จำเป็นจริงๆ เข้าไป และต้องไปเพิ่มห้องความดันลบ 80 


ล่าสุด ห้องความดันลบ ในโรงพยาบาลเอกชนยังมีอยู่ แต่การจะนำผู้ป่วยเข้าไป ต้องอยู่ที่การวินิจฉัยของแพทย์ ว่ามีความจำเป็นแค่ไหน ส่วนห้องประเภทต่าง ๆ ทั้งห้องโรงพยาบาลสนาม หรือฮอสพิเทล ยังมีเตียงว่างอยู่ โดยผู้ป่วยสีเขียว ที่ไม่มีอาการสามารถรับบริการได้

 

ทั้งนี้ ในกรุงเทพฯและปริมณฑลประมาณ 75-85% จะต้องเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่องไอซียู ซึ่งการเพิ่มโครงสร้างไม่สามารถทำได้ทันที แต่เราสามารถปรับหอผู้ป่วยภายในให้คล้ายไอซียูได้ ส่วนนี้หลายรพ.ได้เพิ่มแล้ว และเราต้องเอาผู้ป่วยที่ไม่ได้จำเป็นอยู่ความดันลบออกมาอยู่หอผู้ป่วยสามัญก่อน ส่วนห้องอื่นๆประมาณ 50% ซึ่งรวมรพ.สนาม และฮอสพิเทล เราบริหารได้

 


ต้องรอนานแค่ไหน


ในกระบวนการนำผู้ป่วยไม่มีอาการ หรือเพิ่งตรวจพบวันแรก เพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา มีขบวนการโดย ผู้ป่วยที่มีอาการมาก จะให้เข้ารับการรักษาก่อน แต่หากมีอาการที่รอได้ ก็จะเป็นกระบวนการถัดมา

 

ในภาคเอกชนก็เช่นกัน เมื่อมีผู้ป่วยรอที่โรงพยาบาลจำนวนมาก ได้เปิด “ฮอสพิเทล” เพื่อรับผู้ป่วยอาการน้อย หรือไม่มีอาการไปพัก ห้องละไม่เกิน 2 คน หรือบางท่านมาเป็นครอบครัวก็ดูแลได้ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ส่วน โรงพยาบาลสนาม ก็มีระบบทางการแพทย์เพรียบพร้อมเท่ากับอยู่ โรงพยาบาลใหญ่เช่นกัน ดังนั้น หากใครต้องไปอยู่ โรงพยาบาลสนาม ขออย่าปฏิเสธ เพื่อให้หายจากโรค

 

รวมสายด่วนโควิด-19 ทั่วประเทศ เซฟเก็บไว้เรียกฉุกเฉิน! >>> คลิก <<<

ป่วยโควิด-19 ไม่มีเตียงรักษา ต้องทำอย่างไร เช็คเลย! >>> คลิก <<<

 

 

จำนวนเตียงที่เหลือล่าสุด


สถานการณ์เตียงของกรุงเทพฯข้อมูล ณ วันที่ 28 เม.ย. 2564 


สำหรับโรงพยาบาลสนาม กทม. ปัจจุบันมีเตียงสำหรับรองรับผู้ป่วย จำนวน 1,700 เตียง ประกอบด้วย

โรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน เขตบางขุนเทียน รองรับได้ 1,000 เตียง ครองเตียง 451 เตียง ยังว่างอยู่ 549 เตียง

รพ.ราชพิพัฒน์ 200 เตียง ครองเตียง 230 เตียง (เสริม 30 เตียง)

รพ.เอราวัณ 1(ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ บางบอน) 100 เตียง ครองเตียง 38 เตียง ยังว่างอยู่ 62 เตียง

รพ.เอราวัณ 2 (บางกอกอารีนา) 400 เตียง ครองเตียง 287 ยังว่างอยู่ 113 เตียง

เข้า Hospitel 60 เตียง รวมครองเตียง 1,066 เตียง เตียงคงเหลือ 724 เตียง

 


แบ่งใหม่ 7 โซน เพื่อการครอบคลุมการรักษา


เซ็ตระบบ เตียงโควิด โดยแบ่งออกเป็น 7 โซนตามพื้นที่ติดต่อกัน เพื่อบริหารจัดเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 พร้อมทั้งขอให้ทุกโรงพยาบาล ส่งข้อมูลเข้ามาที่ส่วนกลาง รวมทั้งข้อมูลผู้ป่วยที่รับการรักษาในโรงพยาบาล โดยแบ่งออกเป็น 7 โซน ดังนี้


1.โซน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และโรงพยาบาลราชวิถี เป็นหัวหน้าโซน โดยจะช่วยดูโรงพยาบาลเล็ก เป็นกลุ่มเครือข่ายในโซนนั้น ๆ


2.โซนเหนือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์


3.โซนเหนือ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ และโรงพยาบาลภูมิพล


4.โซนตะวันออก โรงพยาบาลรามาธิบดี


5.โซนโรงพยาบาลศิริราช


6.โซนโรงพยาบาลวชิรพยาบาล


7.โซนโรงพยาบาลภาคเอกชน จะมีโรงพยาบาลเครือใหญ่ มีระบบดูแลในเครือกันเอง หากมีความจำเป็นต้องข้ามโซนก็จะประสานมาศูนย์บริหารจัดการที่โรงพยาบาลราชวิถี

 

 

ไม่อยากรักษารพ.สนามที่นี่ ไปที่อื่นได้ไหม


โรคโควิด-19 สามารถรักษาได้ในโรงพยาบาลขนาดเล็กทั่วไป หากมีอาการหนักมีโรคประจำตัว หรือมีภาวะแทรกซ้อน จะส่งต่อไปโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ที่มีเครื่องมือและแพทย์ที่เชี่ยวชาญ โดยได้แบ่งพื้นที่ กทม. เป็น 6 โซนตามพื้นที่ติดต่อกัน ได้แก่ 


1.โซน รพ.ทั้งหมดในส่วนกลาง มีรพ.พระมงกุฎเกล้าและรพ.ราชวิถี เป็นหัวหน้า


2.โซนใต้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 


3.โซนเหนือ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์และโรงพยาบาลภูมิพล 


4.โซนตะวันออก โรงพยาบาลรามาธิบดี  


5.โซนโรงพยาบาลศิริราช 


6.โซนวชิรพยาบาล โดยโรงพยาบาลหัวหน้าโซน ช่วยดูแลโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน และรับส่งต่อผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง


ส่วนภาคเอกชนจะมีเครือใหญ่ ๆ เช่น สมิติเวช  เกษมราษฎร์ กรุงเทพ มีระบบดูแลโรงพยาบาลในเครือ หากมีความจำเป็น สามารถปรึกษาข้ามโซน โดยมีศูนย์บริหารจัดการเตียงโรงพยาบาลราชวิถี เป็นศูนย์กลาง

 

 

ล่าสุดกรมการแพทย์ รับผู้ติดเชื้อทุกคนเข้าโรงพยาบาลสนาม และเปิดอาคารนิมิบุตร เป็นศูนย์แรกรับ ก่อนส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาลตามระดับอาการ สีเหลือง สีแดง และได้ขยายเตียงผู้ป่วยสีเหลือง ที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี 200 เตียง โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี 45 เตียง สถาบันประสาทวิทยา 15 เตียง ดังนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่รับให้เข้ารพ.สนาม ขออย่าปฏิเสธ เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์ ได้รับยารักษาโดยเร็ว ลดความรุนแรง

 

 

 


ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข , ศูนย์ข้อมูล COVID-19 , กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง