รีเซต

รวม คลัสเตอร์พบ 'โอมิครอน' มีที่ไหนบ้าง?

รวม คลัสเตอร์พบ 'โอมิครอน' มีที่ไหนบ้าง?
TeaC
4 มกราคม 2565 ( 15:41 )
161

ข่าววันนี้ โอไมครอน สายพันธุ์ใหม่ที่กำลังระบาดไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย หากใครยังจำได้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ชื่อสานพันธุ์ใหม่ B.1.1.529 ที่กลายพันธุ์บริเวณโปรตีนหนามกว่า 30 จุด เริ่มถูกพูดถึงเมื่อนักวิทยาศาสตร์ในแอฟริกาใต้ได้ตรวจพบโควิดสายพันธุ์ดังกล่าวนี้ในแอฟริกาใต้ บอตสวานา และฮ่องกง

 

ชื่อ "โอไมครอน" หรือ "โอมิครอน" จึงเป็นที่รู้จักและน่าจับตามองอย่างมาก เมื่อมีคำเตือนเกี่ยวกับสายพันธุ์โควิดชนิดนี้ โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศใชื่โควิดสายพันธุ์ใหม่ว่า "โอไมครอน" และยังจัดให้อยู่ในกลุ่มเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variants of Concern หรือ VOC) ลำดับที่ 5 และตั้งแต่วันที่เริ่มพบโควิดสายพันธุ์ใหม่ ชื่อโอไอครอน เริ่มคุ้นหูมากขึ้นเรื่อย ๆ พอ ๆ กับการพบผู้ติดเชื้อในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทยที่พบผู้ติดเชื้อรายแรกในไทย (6 ธันวาคม 2564) เป็นคู่สามีภรรยาที่ป่วยโอไมครอน โดยสามีเป็นนักบินสัญชาติโคลอมเบีย 

 

จากนั้น เริ่มมีคลัสเตอร์โอไมครอนระบาดและพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ กระจายหลายจังหวัด ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ออกมาคาดการณ์ว่า หลังปีใหม่โอไมครอนจะกระจายไปหลายจังหวัด พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น อาจกลายเป็นการเกิด Super spreader อีกครั้ง เนื่องจากโอไมครอนเป็นสายพันธุ์ที่แพร่เชื้อเร็วกว่าเดลต้าหลายเท่า 

 

และช่วงปีใหม่นี้ หลายพื้นที่ในประเทศได้อนุโลมให้สังสรรค์ รวมกลุ่มได้ โดยต้องเคร่งครัดมาตรการป้องกันโควิดอย่างเข้มงวด ซึ่งเป็นจุดสำคัญที่ส่งผลเกิดการแพร่กระชายเชื้อเป็นวงกว้าง ทำให้ต้นปีเกิดข่าวคลัวเตอร์ใหม่ ๆ หลายจุด วันนี้ TrueID รวบรวมคลัสเตอร์ในหลายพื้นที่พบผู้ติดเชื้อมาก และต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษมาอัพเดตกันหลังช่วงปีใหม่นี้

 

คลัสเตอร์ 'โอมิครอน' พบติดเชื้อมากที่ไหนบ้าง?

 

รู้หรือไม่? ความรุนแรงของโอไมครอนขึ้นอยู่กับจำนวนการติดเชื้อ หากติดเชื้อมากมีโอกาสที่จะพบคนมีความรุนแรง โดยอัตราป่วยคิดเป็น % เช่น ป่วย 1,000 คน อาจรุนแรง 5 % แต่ขณะนี้จากการติดตามสถานการณ์ ไม่พบผู้ป่วยอาการหนักจากโอไมครอนในไอซียู ขณะที่ การแพร่เชื้อมีความรวดเร็วที่ต้องจับตา และต้องเข้มงวดกับมาตรการการป้องกันโควิดที่เราทุกคนรับมือได้ ถ้ารับผิดชอบต่อสังคม

 

1. คลัสเตอร์โอมิครอน จากร้านอาหาร จ.อุบลราชธานี 

สิ่งที่เห็นได้จากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์โอมิครอนอย่างรวดเร็วจนเกิดการระบาดที่ จ.อุบลราชธานี เกี่ยวโยงกับร้านอาหารกึ่งผับเอกมัย 487 หย่อนยาน ไม่ปฏิบัติตามมาตราการควบคุมโรค ไม่เว้นระยะห่าง ไม่จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว จนในที่สุดเชื้อโอมิครอนได้แพร่กระจ่ายไปหลายพื้นที่ของจังหวัดอย่างรวดเร็ว โดยล่าสุดพบ

  • ผู้ติดเชื้อ 619 ราย 
  • กลุ่มเสี่ยงอีกกว่า 1,685 ราย
  • แพร่กระจายไปแล้ว 22 อำเภอจาก 25 อำเภอทั้งจังหวัด

 

ซึ่งจากการสุ่มตัวอย่างเชื้อจากผู้ติดเชื้อ 16 คนจำนวน 3 ครั้ง พบว่าเป็นการติดเชื้อโอไมครอนทั้ง 16 คน คิดเป็น 100% จากการตรวจ ทำให้จังหวัดอุบลฯ ต้องสั่งปิดสถานที่เสี่ยงทันที


2. คลัสเตอร์โอมิครอน จ.ชลบุรี

มาต่อกันที่จังหวัดที่พบยอดผู้ติดเชื้อโควิดสูงเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ อย่าง จ.ชลบุรี โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนธันวาคม 2564 จนถึงช่วงปีใหม่ที่พีคสุด ๆ เกิดคลัสเตอร์ระบาดหลายจุดอย่างรวดเร็ว โดยตัวเลขล่าสุดสูงถึง 499 คน (ข้อมูลเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2565) ส่วนคลัสเตอร์ที่พบผู้ติดเชื้อมาก ได้แก่

 

  • คลัสเตอร์ทหารเรือ อ.สัตหีบ

    • มีผู้ติดเชื้อใหม่ 5 ราย
    • ติดเชื้อสะสม 1,870 ราย
    • แบ่งเป็นข้าราชการทหารเรือ 5 ราย ปั
    • ปัจจุบันยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่องไม่สามารถควบคุมได้


  • คลัสเตอร์ร้านอาหารและร้านเครื่องดื่มที่ขายแอลกอฮอล์ ในพัทยา อ.บางละมุง

    • มีการตรวจเชิงรุก พบติดเชื้อเพิ่ม 38 ราย
    • มีผู้ติดเชื้อสะสมแล้ว 201 ราย

  • คลัสเตอร์บริษัท กู๊ดทีม เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ในอำเภอศรีราชา

    • เป็นคลัสเตอร์ใหม่ พบผู้ติดเชื้อ 3 ราย 



โดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี ได้มีการสุ่มตรวจเชื้อในอำเภอบางละมุง จากผู้ติดเชื้อทั้งหมด 79 ราย พบเป็นการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน 64 ราย สายพันธุ์เดลต้า 9 ราย


3. คลัสเตอร์โอไมครอน จ.เชียงใหม่

ขณะที่ จ.หวัดเชียงใหม่ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่มีการพบผู้ติดเชื้อจำนวนมาก โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่เพิ่งออกมาแถลงอัพเดตสถานการณ์การระบาดในพื้นที่จังหวัด (2 มกราคม 2565) ระบุว่า ตอนนี้มีคลัสเตอร์ที่ต้องจับตามองอยู่ 3 คลัสเตอร์ ได้แก่

  • คลัสเตอร์ตลาดประตูเชียงใหม่ มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 1 ราย ติดเชื้อสะสม 20 ราย
  • คลัสเตอร์เดินทางไปพื้นที่เสี่ยง มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 4 ราย ติดเชื้อสะสม 5 ราย
  • คลัสเตอร์ ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง ติดเชื้อเพิ่ม 2 ราย ติดเชื้อสะสม 8 ราย

 

โดยตอนนี้เชียงใหม่พบผู้ติดเชื้อโอไมครอนรวมถึง 22 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อจากนอกพื้นที่ 11 ราย และติดเชื้อในจังหวัด 11 ราย โดยยังมีผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค 69 ราย และได้มีมติให้สถานศึกาาปรับรูปแบบการสอน ส่วนหน่วงงานรัฐและเอกชนแจ้งขอความร่วมมือ Work From Home ตั้งแต่วันที่ 4-9 มกราคม 2565 เพื่อสกัดการระบาดจากสายพันธุ์โอไมครอน

 

ดังนั้น สิ่งที่จะป้องกันโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน เดลต้า ได้คือ การใส่หน้ากาอนามัยอย่างถูกต้อง ถูกวิธี ใส่ตลอดเวลา ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม ยังคงเป็นวิธีป้องกันขั้นพื้นฐานที่ป้องกันโควิดได้ อย่าประมาท การ์ดอย่าตก และอย่าลืมเข้ารับการฉีควัคซีนโควิด เพื่อลดความรุนแรงของโรค

 

ข้อมูล : TNN, ข่าวสด

 

--------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

กดเลย >> community แห่งความบันเทิง

ทั้งข่าว หนัง ซีรีส์ ละคร ดนตรี และศิลปินไอดอล ที่คุณชื่นชอบ บนแอปทรูไอดี

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง