รีเซต

สรุปไทม์ไลน์การจัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า นำเข้ากี่โดส ต้องรอถึงปี 65 ไหม

สรุปไทม์ไลน์การจัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า นำเข้ากี่โดส ต้องรอถึงปี 65 ไหม
Ingonn
19 กรกฎาคม 2564 ( 13:30 )
128
สรุปไทม์ไลน์การจัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า นำเข้ากี่โดส ต้องรอถึงปี 65 ไหม


ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากระแสเรื่องการจัดหาวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เป็นเรื่องเป็นราวที่พูดไม่ตรงกันอยู่หลายฝ่าย รวมถึงมีการเปิดจดหมายลับระหว่างอนุทิน รมว.สธ. และบริษัทผู้ผลิตแอสตร้าเซนเนก้าให้ไทย ถึงจำนวนการนำเข้าวัคซีนทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ในโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก รวมถึงสาธิต รวช.สธ. ยังออกมาแจ้งอีกว่า แอสตร้าเซนเนก้าอีกล็อตที่จะเข้าไทยต้องรอถึง พ.ค. ปี 65 กันเลยทีเดียว

 

 

วันนี้ TrueID จึงได้สรุปแผนการจัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามาฝากทุกคนว่า มีไทม์ไลน์การจัดหาวัคซีนอย่างไร

 

 

วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เป็นวัคซีนหลักของประเทศไทยตั้งแต่เดือน มิถุนายน ผู้ที่จองในระบบ “หมอพร้อม” ในกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปและกลุ่มป่วยเรื้อรัง 7 กลุ่มโรคจะได้รับวัคซีนของแอสตราเซเนกา รวมถึงประชาชนทั่วไปที่จองใน ไทยร่วมใจ หรือ ผู้ประกันตนตามมาตราต่างๆ ที่ได้รับการฉีดวัคซีน

 

 


ไทม์ไลน์โควิด-19 และการจัดหาวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า


เริ่มจากช่วงเดือนมกราคม 2563 ประเทศไทยพบผู้ป่วยโควิด 19 รายแรก

 


วันที่ 25 มีนาคม 2563 ประเทศไทยออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและมีผลบังคับใช้ 

 


วันที่ 26 มีนาคม 2563 หลังพบการระบาดมากขึ้น

 


วันที่ 22 เมษายน 2563 คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติเห็นชอบแผนการเข้าถึงวัคซีนโควิด 19 ของประชากรไทย

 


วันที่ 24 สิงหาคม 2563 กระทรวงสาธารณสุขลงนามสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทแอสตร้าเซนเนก้ามาให้ผู้ผลิตในไทย ทำให้มีแหล่งผลิตในประเทศไทย

 


วันที่ 23 กันยายน 2563 คณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดหาวัคซีนฯ เห็นชอบแผนจัดหาวัคซีนเบื้องต้น

 


วันที่ 9 ตุลาคม 2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขลงนามเอกสาร 

 


วันที่ 12 ตุลาคม 2563 ออกประกาศจัดหาวัคซีนในกรณีเหตุฉุกเฉิน โดยให้กรมควบคุมโรค สถาบันวัคซีนแห่งชาติ จัดหาโดยการจองล่วงหน้า ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีวัคซีนที่ผ่านการวิจัย ซึ่งอาจผลิตสำเร็จหรือไม่ก็ได้

 


วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ครม.เห็นชอบโครงการจัดหาวัคซีนโดยการจองล่วงหน้ากับแอสตร้าเซนเนก้า 26 ล้านโดส

 


วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 ลงนามในสัญญา 3 ฝ่าย โดยแอสตร้าเซนเนก้าประเทศไทย สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกรมควบคุมโรค เพื่อจองซื้อวัคซีน

 


วันที่ 5 มกราคม 2564 ครม.รับทราบ มติที่ศบค. ให้สั่งซื้อเพิ่มอีก 35 ล้านโดส รวมเป็น 61 ล้านโดส

 


วันที่ 20 มกราคม 2564 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ขึ้นทะเบียนวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าให้ใช้ได้ในภาวะฉุกเฉิน

 


วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564  ครม.เห็นชอบแก้ไขสัญญาจองซื้อวัคซีนจาก 26 ล้านโดส เพิ่มอีก 35 ล้านโดส รวมเป็น 61 ล้านโดส

 


วันที่ 2 มีนาคม 2564 ครม.รับทราบ และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพิ่มสำหรับ 35 ล้านโดส

 


วันที่ 25 มีนาคม 2564 กรมควบคุมโรคส่งสัญญาที่ลงนามแก้ไขให้บริษัทแอสตร้าเซนเนก้าประเทศไทย

 


วันที่ 24 เม.ย.64 กรมควบคุมโรคทำหนังสือแจ้งแอสตร้าเซนเนก้าว่าต้องการวัคซีนจำนวน 6 ล้านโดส ในเดือน มิ.ย.64 /เดือน ก.ค-พ.ย 64 เดือนละ 10 ล้านโดส และเดือน ธ.ค.64 จำนวน 5 ล้านโดส รวม 61 ล้านโดส

 


วันที่ 4 พฤษภาคม 2564 ได้รับสัญญาตอบกลับจากแอสตร้าเซนเนก้าประเทศไทยและประเทศอังกฤษ หรือใช้เวลา 2 เดือนจึงได้รับการตอบกลับ 

 


วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ครม.เห็นชอบกรอบการดำเนินงาน 61 ล้านโดส ตั้งแต่เดือนมิถุนายน  - ธันวาคม 2564

 

 

 

 

 

 

ไทม์ไลน์รับวัคซีน


ล็อตที่ 1 และ 2 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ได้จัดส่ง 2 ครั้ง ได้แก่ จำนวน 117,300 โดส และ จำนวน 242,100 โดส รวม 359,400 โดส

 

 

สำหรับเดือนมิถุนายน 2564 ส่งมา 5,130,000 โดส ได้แก่ 


ล็อตที่ 3 วันที่ 4 มิถุนายน 2564 จำนวน 1,787,100 โดส

 


ล็อตที่ 4 วันที่ 16 มิถุนายน 2564 จำนวน 610,000 โดส

 


ล็อตที่ 5 วันที่ 18 มิถุนายน 2564 จำนวน 970,000 โดส

 


ล็อตที่ 6 วันที่ 23 มิถุนายน 2564 จำนวน 593,300 โดส

 


ล็อตที่ 7 วันที่ 25 มิถุนายน 2564 จำนวน 323,600 โดส 

 


ล็อตที่ 8 วันที่ 30 มิถุนายน 2564 จำนวน 846,000 โดส 

 

เมื่อรวมกับวัคซีนที่ส่งมาก่อนหน้านี้เป็น 5,489,400 โดส  

 

 

 

ส่วนเดือนกรกฎาคม 2564 ส่งมาจำนวน 2,704,100 โดส ได้แก่ 

 

ล็อตที่ 9 วันที่ 3 กรกฎาคม 2564 จำนวน 590,000 โดส

 


ล็อตที่ 10 วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 จำนวน 555,400 โดส

 


ล็อตที่ 11 วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 จำนวน 1,053,000 โดส 

 


ล็อตที่ 12 วันที่ 16 กรกฎาคม 2564 จำนวน 505,700 โดส 

 

รวมทั้งหมด 12 ล็อต จำนวน 8,193,500 โดส 

 

 

 

จะเห็นว่าเมื่อผลิตและตรวจรับรองรุ่นการผลิตเสร็จก็ทยอยส่งมอบ เป็นไปตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้แจ้งว่าจะส่งเป็นรายสัปดาห์ จำนวนวัคซีนในสัญญากับความต้องการของไทยคือ 61 ล้านโดส ภายในเดือนธันวาคม 2564 โดยจะต้องมีการเจรจาเป็นรายเดือน ซึ่งแอสตร้าเซนเนก้าไม่เคยออกมาระบุว่าจะส่งมอบถึงพฤษภาคม 2565 เป็นแค่จำนวนประมาณการณ์จึงต้องมีการเจรจากันต่อไป

 

 

การผลิตวัคซีนขึ้นกับหลายปัจจัย รวมทั้งชีววัตถุตั้งต้น จึงยากที่บริษัทจะรับปากได้ 100% แต่จำนวนวัคซีนในสัญญากับความต้องการของไทยคือ 61 ล้านโดส ภายในเดือน ธ.ค.64 จะต้องมีการเจรจาเป็นรายเดือนกันต่อไป ปัจจุบันไทยได้รับวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 8,193,500 โดส แล้ว

 

 


ไทยต้องการวัคซีนเดือนละ 3 ล้านโดส?


จากกรณีสำนักข่าวอิศรา เปิดเผย หนังสือลับลงวันที่ 25 มิถุนายน 2564 โดยนายสจอร์ด ฮับเบน รองประธานฝ่ายกิจการองค์กรทั่วโลกของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ส่งถึงนายอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และส่งต่อไปให้ นพ.โอภาส การกวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ที่ระบุว่า ไทยเคยขอรับ วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในช่วงแรก 3 ล้านโดสต่อเดือน เท่านั้น

 

 

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้แจงว่า จดหมายมีการระบุว่ากระทรวงสาธารณสุขต้องการวัคซีนเดือนละ 3 ล้านโดสนั้น เป็นการอ้างอิงถึงการประชุมไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2563 ซึ่งเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยมีการสอบถามความสามารถในการฉีดวัคซีนของประเทศไทย ซึ่งข้อมูลที่มีคือเคยฉีดเดือนละ 3 ล้านโดส กรมควบคุมโรคยังไม่เคยบอกอย่างเป็นทางการว่าจะฉีดได้แค่ 3 ล้านโดส ต่อมามีตัวเลขประมาณการณ์และแจ้งแอสตร้าเซนเนก้าว่าขีดความสามารถฉีดได้ถึง 10 ล้านโดสถ้ามีวัคซีนเพียงพอ เพราะฉะนั้น ข้อมูลที่บอกว่าแอสตร้าเซนเนก้าจะส่งให้ไทยเท่าไร มี 2 ส่วน คือ ความต้องการของประเทศไทย และกำลังการผลิต จะต้องเอา 2 ส่วนมาเชื่อมต่อกันจึงจะเป็นการส่งวัคซีนจริง ซึ่งขณะนี้ก็มีการส่งมาให้เราเรื่อยๆ บางสัปดาห์ก็ส่งให้ 2 ครั้ง

 

 


ปมจดหมายแอสตร้าถึงอนุทิน เป็นการขอบคุณ

 

สำหรับจดหมายของบริษัทแอสตร้าเซนเนก้าที่ส่งถึงนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อขอบคุณที่สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าในภูมิภาคอาเซียน

 


มีการระบุถึงข้อตกลงเจรจาจะส่งมอบวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยเริ่มในเดือนมิถุนายน 2564 แต่มีการส่งล่วงหน้ามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 และพูดถึงเรื่องจำนวนวัคซีนที่สั่งจอง ประเทศไทยมีการจองมากที่สุด 61 ล้านโดส คิดเป็น 1 ใน 3 ของจำนวนวัคซีนที่มีการจองในอาเซียน บริษัทยืนยันการจัดส่งวัคซีนให้ประเทศไทย 1 ใน 3 ของวัคซีนที่ผลิตได้ และจะพยายามส่งให้ครบถ้วนตามสัญญา

 


ช่วงทำสัญญาจองและลงนามสัญญา 3 ฝ่าย ยังไม่ได้มีการผลิตวัคซีนจริง เป็นการทำสัญญาจองล่วงหน้าจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่า แต่ละเดือนจะผลิตได้เท่าไร ส่งให้เท่าไรและเมื่อไร จึงต้องมีการเจรจาแจ้งล่วงหน้าเป็นรายเดือน ซึ่งวันที่ 24 เมษายน 2564 กรมควบคุมโรคทำหนังสือแจ้งแอสตร้าเซนเนก้าว่าต้องการวัคซีนจำนวน 6 ล้านโดส ในเดือนมิถุนายน 2564 เดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน 2564 เดือนละ 10 ล้านโดส และเดือนธันวาคม 2564 จำนวน 5 ล้านโดส รวม 61 ล้านโดส

 

 

ดังนั้น จำนวนที่แจ้งไปไม่ได้แปลว่าจะได้ 100% ต้องเป็นการเจรจาทั้งสองฝ่ายในแต่ละเดือน และตอนทำสัญญาไม่มีการระบุจำนวนวัคซีนที่จะส่งออกต่างประเทศ เพียงแต่ระบุว่าขอให้ประเทศไทยสนับสนุนและไม่ขัดขวางการส่งออกไปต่างประเทศ

 

 


จัดส่งแอสตร้าเดือน พ.ค. ปี 65 !!!


ส่วนประเด็นว่าจะจัดส่งวัคซีนถึงเดือนพฤษภาคม 2565 นั้น ขณะนี้การผลิตของแอสตร้าเซนเนก้าในประเทศไทยพยายามจะผลิตให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งแอสตร้าเซนเนก้าไม่ได้แจ้งจำนวนการผลิตมา

 

 

จากการคำนวณอยู่ที่ประมาณ 15 ล้านโดสต่อเดือน เพราะฉะนั้น ถ้าคิด 1 ใน 3 คือจำนวน 5 ล้านโดสต่อเดือนเป็นอย่างต่ำ และการผลิตวัคซีนขึ้นกับหลายปัจจัย รวมทั้งชีววัตถุตั้งต้น จึงยากที่บริษัทจะรับปากได้ 100%

 

 

 

 

 

ข้อมูลจาก Hfocus , กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

 

 

 

 

--------------------
เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง