รีเซต

เคลียร์ชัด! ไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส VS แอสตร้าฯ 1.05 ล้านโดส เข้าเมื่อไหร่ ใครได้ฉีด

เคลียร์ชัด! ไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส VS แอสตร้าฯ 1.05 ล้านโดส เข้าเมื่อไหร่ ใครได้ฉีด
Ingonn
12 กรกฎาคม 2564 ( 12:38 )
264

 

จากกรณีประเทศไทยได้รับการบริจาควัคซีนไฟเซอร์จากประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 1.5 ล้านโดส และได้รับบริจาควัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าจากประเทศญี่ปุ่นแล้ว จำนวน 1.05 ล้านโดส เพื่อช่วยบรรเทาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยกรมควบคุมโรค เตรียมดำเนินการกระจายวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าไปยังพื้นที่เป้าหมายตามแนวทางที่ ศบค. กำหนด คือ พื้นที่ที่มีการระบาด และพื้นที่ที่เปิดให้ท่องเที่ยว โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะเป็นผู้บริหารจัดการในพื้นที่ต่างจังหวัด ส่วนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จะบริหารจัดการผ่านโรงพยาบาลในพื้นที่ และกระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้ประสานหลักในการฉีดวัคซีนให้กับชาวต่างชาติ

 

 

วันนี้ TrueID จะพามาเจาะไทม์ไลน์การนำเข้าวัคซีนโควิด-19 ทั้งไฟเซอร์และแอสตร้าเซนเนก้า ว่าที่ได้รับบริจาคมา ใครจะได้เป็นคนฉีดวัคซีนเหล่านี้บ้าง

 

 


วัคซีนไฟเซอร์จากสหรัฐ


เว็บไซต์ สถานทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย เผยว่า ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐอเมริกา ประกาศแผนการส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพจำนวน 80 ล้านโดสให้กับประเทศต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ซึ่งการบริจาคไฟเซอร์ให้ประเทศไทย 1.5 ล้านโดสนั้น มีการลงนามแล้วเมื่อวันที่ 7 ก.ค. 64 ที่ผ่านมา ซึ่งจะเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป โดยวัคซีนจะเข้าสู่ประเทศไทยเร็วๆ นี้ ยังไม่ระบุวันและไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดในสัญญาได้

 

 

 

วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าจากญี่ปุ่น


กระทรวงการต่างประเทศของไทยระบุว่า วัคซีนจากประเทศญี่ปุ่นมาถึงไทยล็อตแรก 1.05 ล้านโดสในวันที่ 9 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยญี่ปุ่นจะจัดส่งแอสตร้าเซนเนก้าให้กับ ไทย, ฟิลลิปปินส์ และเวียดนามอีกประเทศละ 1 ล้านโดสภายในสัปดาห์นี้ หลังจากเคยบริจาคให้กับอินโดนีเซียและมาเลเซียมาแล้ว

 

 

นอกจากนั้นญี่ปุ่นยังเตรียมส่งมอบวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ารวม 11 ล้านโดสตั้งแต่กลางเดือนก.ค.ให้แก่ประเทศในเอเชียใต้ และหมู่เกาะแปซิฟิก ผ่านทางโครงการ COVAX ขององค์การอนามัยโลก (WHO) อีกด้วย ซึ่งญี่ปุ่นได้สั่งซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าจำนวน 120 ล้านโดส โดยส่วนใหญ่เป็นวัคซีนที่ผลิตภายในประเทศ หลังจากที่ทางการญี่ปุ่นอนุมัติให้ใช้วัคซีนดังกล่าวเป็นกรณีฉุกเฉินเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา แต่ในที่สุดญี่ปุ่นก็หันมาใช้วัคซีนประเภท mRNA ของบริษัทไฟเซอร์และโมเดอร์นา เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับภาวะลิ่มเลือดอุดตันที่อาจเกิดจากการใช้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า

 

 

 

 

ไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส ให้ใครบ้าง


สำหรับแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 1.5 ล้านโดส จะฉีดให้กับ 4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 


1.บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 19 (Booster Dose จำนวน 1 เข็ม)  


2.ผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง  


3.ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย เน้นผู้สูงอายุและโรคเรื้อรัง  


4.ผู้ที่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนไฟเซอร์ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ เช่น นักเรียน นักศึกษา นักกีฬา นักการทูต 

 

 

ยกเว้นกรณีบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า Booster Dose 1 เข็ม ทั้งนี้ การจัดสรรวัคซีนให้บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า เข็ม 3 จะมีการพิจารณารายละเอียดเพิ่มเติมในการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ในวันจันทร์ที่ 12 ก.ค. 64 นี้

 

 

การกระจายวัคซีน


สำหรับฉีด 2 เข็ม ห่าง 3 สัปดาห์ (ยกเว้นกรณี บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้า Boaster dose 1 เข็ม)
สัญชาติไทย 1,350,000 โดส - ต่างชาติ 150,000 โดส (10%)

 


 
พื้นที่เป้าหมาย (พื้นที่ระบาด - ท่องเที่ยว )


- กรุงเทพมหานคร


- สมุทรสาคร ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม


- ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา (มีการระบาดของสายพันธุ์เบตา หรือสายพันธุ์แอฟริกา)

 

 

การดำเนินการฉีดวัคซีน  


คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด / กทม.บริหารจัดการผ่านรพ.ในพื้นที่


กรณีชาวต่างชาติให้กระการต่างประเทศเป็นผู้ประสานหลัก

 

 

 

แอสตร้าเซนเนก้า 1.05 ล้านโดส ให้ใครบ้าง


ส่วนแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า จำนวน 1.05 ล้านโดส นั้น จะฉีดให้กับ 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 

 

1.ผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง  


2.ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย เน้นผู้สูงอายุและโรคเรื้อรัง  


3.ผู้ที่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าก่อนเดินทางไปต่างประเทศ เช่น นักเรียน นักศึกษา นักกีฬา นักการทูต เป็นต้น

 

 

แนวทางบริหารจัดการวัคซีนบริจาคจากต่างประเทศ วัคซีน Pfizer 1.5 ล้านโดสบุคลากรทางการแพทย์และวัคซีน AstraZenaca 1.05 ล้านโดสด่านหน้า ที่ดูแลรักษา ผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ

 

 

การกระจาย


สำหรับฉีดเป็นเข็มที่ 1 สัญชาติไทย 945,000 โดส  ต่างชาติ 105,000 โดส (10%)

 


 
พื้นที่เป้าหมาย


- กรุงเทพมหานคร


- สมุทรสาคร ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม


- ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ภูเก็ต

 

 

 

การดำเนินงาน


คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด / กทม.บริหารจัดการผ่านรพ.ในพื้นที่


กรณีชาวต่างชาติให้กระการต่างประเทศเป็นผู้ประสานหลัก

 

 

 

 

 

ข้อมูลจาก กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

 

 

 

-------------------

เกาะติดสถานการณ์โควิด-19  ทันความเคลื่อนไหว ได้ความรู้ที่ถูกต้อง ส่งตรงถึงมือคุณ
คลิกเลย!! >>> รู้ทันกันโควิด <<< หรือ กด *301*35# โทรออก

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง