รีเซต

"พิพัฒน์"เลื่อนประชุมไตรภาคีไม่มีกำหนด ขอโทษขึ้นค่าแรง 400 ไม่ทัน 1 ต.ค.

"พิพัฒน์"เลื่อนประชุมไตรภาคีไม่มีกำหนด ขอโทษขึ้นค่าแรง 400 ไม่ทัน 1 ต.ค.
TNN ช่อง16
23 กันยายน 2567 ( 16:48 )
13
"พิพัฒน์"เลื่อนประชุมไตรภาคีไม่มีกำหนด ขอโทษขึ้นค่าแรง 400 ไม่ทัน 1 ต.ค.

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน แถลงนโยบายต่อยอดการทำงานประจำปี 2568 พร้อมกล่าวถึงความคืบหน้านโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ  ที่จากเดิมจะมีการประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดไตรภาคี ซึ่งมีตัวแทนภาครัฐ 5 คน ตัวแทนนายจ้าง 5 คน และตัวแทนลูกจ้าง 5 คน ในวันที่ 24 กันยายน หรือวันพรุ่งนี้ เพื่อเร่งรัดให้ลงมติ 2 ใน 3  ก่อนเสนอ ครม.พิจารณาอนุมัต มีผลประกาศใช้ให้ทันวันที่ 1 ตุลาคม 2567 แต่การประชุมจำต้องเลื่อนออกไปก่อน เนื่องจากหนึ่งในคณะกรรมการฝ่ายภาครัฐ คือเจ้าหน้าที่จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)เกษียณอายุราชการออกไปจะครบ 1 ปีแล้วจึงไม่มีอำนาจในส่วนนี้ โดยกระทรวงแรงงานได้ทำจดหมายส่งไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยแล้วว่าจะมีข้อสรุปอย่างไร หรือจะแก้ไขปัญหาตรงส่วนนี้อย่างไร คณะกรรมการค่าจ้างจึงจะสามารถเดินหน้ากันต่อได้ ตอนนี้จึงต้องรอข้อสรุปส่งกลับมาก่อนว่าจะแต่งตั้งผู้แทนคนใหม่เป็นใครเข้ามา พร้อมกล่าวขอโทษไปยังประชาชนที่เดินหน้าขึ้นค่าแรง 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศไม่ได้ตามกำหนดเดิม หรือเลื่อนการประชุมเป็นรอบที่ 3 ของปีนี้อย่างไม่มีกำหนด และนอกจากหนึ่งในคณะกรรมการค่าจ้างฝ่ายภาครัฐจะเกษียณราชการไปแล้ว ปลัดกระทรวงแรงงานก็จะเกษียณราชการในสัปดาห์นี้ การจะเดินหน้าประชุมครั้งใหม่จึงต้องรอปลัดกระทรวงคนใหม่เข้ามารับตำแหน่งก่อน


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ย้ำด้วยว่า ไม่ว่ายังไงการพิจารณาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจะต้องเดินหน้าต่อ เพราะอยากช่วยให้แรงงานทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะการประกาศขึ้นค่าแรงเท่ากันทั่วประเทศครั้งแรก 300 บาทก็เมื่อปี 2555 และจากนั้นในแต่ละปีการขึ้นค่าแรงก็ตกเพียงปีละไม่เกิน 8 บาท ไม่เคยถึง 100 บาท ทำให้แรงงานไม่มีรายได้เพียงพอไปใช้จ่ายดูแลครอบครัว ต้องออกไปหางานพิเศษทำเพิ่ม ไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน ทำให้เกิดปัญหาทางครอบครัว และปัญหาทางสังคมตามมา ทั้งนี้การพิจารณาปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานบอกว่า ไม่อยากกดค่าแรงให้ต่ำเกินไป และเข้าใจในส่วนของนายจ้างที่หากขึ้นค่าแรงก็จะได้รับผลกระทบ แต่ก็อยากให้นายจ้างเข้าใจด้วยว่าปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้นทุกปี ขณะที่ค่าแรงแทบจะไม่ได้ปรับขึ้นตามค่าครองชีพ


ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง