ฝุ่น PM 2.5 หนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องแก้ไข กทม. พร้อมใช้ "3 ยาแรง"
ในปัจจุบัน ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 กลายเป็นหนึ่งในปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงและมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์มากที่สุด ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาทั่วโลกที่หลายประเทศกำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตของมลพิษทางอากาศ
PM 2.5 คืออะไร?
PM 2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน ซึ่งเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ฝุ่นเหล่านี้เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง เช่น ยานยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้ฟาง หรือ การเผาป่า ซึ่งฝุ่น PM 2.5 จะสามารถลอยอยู่ในอากาศได้เป็นเวลานาน และสามารถเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจได้ลึกถึงปอดหรือเข้าสู่กระแสเลือดได้
ผลกระทบต่อสุขภาพ
ฝุ่น PM 2.5 มีผลกระทบที่ร้ายแรงต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคปอด โรคหัวใจ หรือแม้กระทั่งผู้สูงอายุและเด็กเล็ก การสัมผัสฝุ่น PM 2.5 เป็นระยะเวลานานสามารถทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ เช่น
- โรคทางเดินหายใจ
- โรคหัวใจ
- การระคายเคืองตาและผิวหนัง
- การเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด
นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบในระยะยาวที่อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลง ทำให้ร่างกายไวต่อการติดเชื้อและโรคต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น
สาเหตุของฝุ่น PM 2.5
ฝุ่น PM 2.5 เกิดจากแหล่งต่าง ๆ หลายแหล่ง ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทหลัก ๆ คือ
1. แหล่งมลพิษจากมนุษย์ เช่น การเผาไหม้จากยานพาหนะ, โรงงานอุตสาหกรรม, การเผาฟาง, หรือการใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิง
2. แหล่งมลพิษทางธรรมชาติ เช่น การเผาป่า, ฝุ่นจากทะเลทราย, หรือการเกิดไฟป่า
ในบางกรณี ฝุ่น PM 2.5 อาจเกิดจากการรวมตัวของมลพิษจากหลายแหล่งทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้าย
ฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหาที่ไม่สามารถมองข้ามได้ และการแก้ไขปัญหานี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการหามาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนและลดผลกระทบจากมลพิษในอากาศ เราทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้จากการปรับพฤติกรรมและสนับสนุนมาตรการที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม
กรุงเทพมหานคร (กทม.) เตรียมใช้ยาแรง 3 ขนาน
ล่าสุด กรุงเทพมหานคร (กทม.) เตรียมใช้ยาแรง 3 ขนาน เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ที่มีสาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ รถยนต์ การเผาในที่โล่ง และสภาพอากาศที่ปิดทำให้เหมือนเป็นฝาชีครอบไม่สามารถระบายฝุ่นได้ เมื่อ 3 ปัจจัยเกิดขึ้นพร้อมกัน จะทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
เมื่อค่าฝุ่นสูงอยู่ในขั้นวิกฤต กทม. จะดำเนินมาตรการเข้มข้น
1. ค่าฝุ่นเป็นสีแดง 5 เขต
2. พยากรณ์ฝุ่นล่วงหน้า 2 วัน พบว่า ค่าฝุ่นเป็นสีแดง อย่างน้อย 5 เขต หรือ เป็นสีส้ม อย่างน้อย 15 เขต
3. อัตราการระบายอากาศน้อยกว่า 3,000 ตารางเมตรต่อวินาที
ฝุ่นมาเบอร์นี้ เจอ กทม. ป้าย 3 ยาแรงแน่นอน
-โดสที่ 1 ห้ามรถ
ห้ามรถตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไป ยกเว้นรถที่อยู่ใน #บัญชีสีเขียว (รถที่มีการดูแลรักษาเครื่องยนต์ ได้แก่ เปลี่ยนน้ำมันเครื่องและไส้กรอง) ตามมาตรการ Low Emission Zone เข้ากรุงเทพฯ ชั้นในหรือวงแหวนรัชดาภิเษก
-โดสที่ 2 ห้ามเรียน
กรุงเทพมหานคร จะประกาศปิดโรงเรียนสังกัด กทม.
-โดสที่ 3 ห้ามทำงาน
ประกาศ Work From Home ขอความร่วมหน่วยงานภาคเอกชน ภาครัฐ ทำงานที่บ้าน ลดการเดินทาง ลดการปล่อย PM 2.5
หากเมื่อไหร่ที่ค่าฝุ่น PM2.5 เพิ่มอยู่ในขั้นวิกฤต กทม. พร้อมเดินหน้าป้าย 3 ยาแรงแน่นอน