รีเซต

แค่ควันก็อันตราย ไอระเหย "บุหรี่ไฟฟ้า" ทำลายยัน DNA

แค่ควันก็อันตราย ไอระเหย "บุหรี่ไฟฟ้า" ทำลายยัน DNA
TNN ช่อง16
6 กรกฎาคม 2568 ( 09:33 )
13

งานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ PNAS ของสหรัฐอเมริกา (Proceedings of the National Academy of Sciences) เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (7 ต.ค.) ระบุว่าการได้รับไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้าส่งผลให้หนูทดลองเป็นโรคมะเร็งปอดได้

กลุ่มนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนิวยอร์ก (NYU) พบว่าหนูทดลอง 9 จาก 40 ตัวหรือคิดเป็นร้อยละ 22.5 ที่สัมผัสกับไอบุหรี่ไฟฟ้าที่มีนิโคตินเป็นเวลา 54 สัปดาห์สามารถพัฒนากลายเป็นโรคมะเร็งปอดได้ ขณะที่หนูทดลอง 23 ตัวมีอาการกระเพาะปัสสาวะแบ่งตัวมากผิดปกติ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่อาจนำไปสู่การเติบโตของเนื้อเยื่อผิดปกติที่พบในมะเร็ง

ในทางตรงกันข้าม หนูทดลองเพียง 1 จาก 17 ตัวที่สัมผัสกับไอบุหรี่ไฟฟ้าที่ไม่มีนิโคตินประสบภาวะเซลล์แบ่งตัวเกิน


ก่อนหน้านี้ กลุ่มนักวิจัยให้เหตุผลว่าสารเคมีที่เพิ่มเข้ามาระหว่างการบ่มยาสูบสามารถเปลี่ยนนิโคตินให้เป็นไนโตรซามีน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งสำหรับหนูและมนุษย์

แม้ว่าสารเคมีในบุหรี่ไฟฟ้าจะน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดาร้อยละ 95 แต่จากงานวิจัยชิ้นใหม่แสดงให้เห็นว่าเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสามารถทำปฏิกิริยากับนิโคตินเพื่อสร้างไนโตรซามีนได้โดยตรง และส่งผลให้สารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ (DNA) เสียหาย

“ขั้นตอนต่อไปของเราคือการเพิ่มจำนวนหนูสำหรับการศึกษาวิจัย เพื่อลดและขยายเวลาที่สัมผัสกับบุหรี่ไฟฟ้า และเพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมที่เกิดจากไอบุหรี่ต่อไป” เฮอร์เบิร์ต เลอปอร์ ผู้ร่วมวิจัยกล่าว

ยอดนิยมในตอนนี้

แท็กยอดนิยม

ข่าวที่เกี่ยวข้อง