รีเซต

BTS แนะ 3 วิธีถูกคุกคามบนรถไฟฟ้า ขอความช่วยเหลือได้อย่างไร?

BTS แนะ 3 วิธีถูกคุกคามบนรถไฟฟ้า ขอความช่วยเหลือได้อย่างไร?
TNN ช่อง16
8 พฤษภาคม 2567 ( 12:12 )
68

เมื่อช่วงเย็นวานที่ผ่านมาเกิดเหตุคนร้ายกระทำอนาจารพร้อมกับชิงทรัพย์หญิงสาวบนทางขึ้นสถานีรถไฟฟ้า BTS สถานีการเคหะ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีการแชร์คลิปเหตุการณ์กันในโลกโซเชียล ซึ่งเจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับตัวร้ายได้ในเวลาไม่นาน โดยคนร้ายสารภาพว่ากระทำไปเพราะมึนเมาสารเสพติด ผู้ก่อเหตุโดนตั้งข้อหาใช้กำลังประทุษร้ายกระทำต่อหน้าธารกำนัล, กระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัลโดยกระทำการลามกอย่างอื่น, ทำร้ายร่างกาย และลักทรัพย์


ถึงแม้คนร้ายจะถูกจับได้และโดนข้อหาหลายกระทง แต่สังคมยังตั้งคำถามว่าขนส่งสาธารณะยังมีความปลอดภัยอยู่หรือไม่ และถ้าหากเกิดเหตุการแบบนี้ขึ้นต้องทำอย่างไร 


ล่าสุดสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสได้ให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า “หากประสบเหตุถูกคนร้ายกระทำอนาจาร  รู้สึกไม่ปลอดภัย หรือพบเห็นสิ่งผิดปกติใดๆ สามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ได้ทันที หรือกดปุ่มกระดิ่ง เพื่อขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้า และงดดึงคันโยกฉุกเฉิน (PER)  เนื่องจากจะกระทบการเดินรถทั้งระบบ” 


อย่างไรก็ตามเมื่อย้อนดูสถิติการถูกคุกคามทางเพศจากข้อมูลเมื่อปี 2561 พบว่ามีถึง 45% ที่เกิดขึ้นบนขนส่งสาธารณะ ซึ่งสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แนะนำวิธีปฏิบัติเบื้องตันเมื่อเกิดเหตุกัยตนเองหรือเหตุเกิดอยู่ซึ่งหน้าได้แก่  5 ข้อได้แก่     


1.ใช้เสียงตะโกนออกมา ชักชวนให้คนรอบข้างเห็นและตั้งคำถามกับพฤติกรรม

2. แจ้งเจ้าหน้าที่ให้พนักงานบนรถช่วยจัดการ

3.เอเาตัวดินเข้าไปยืนแทรกกลาง เพื่อคั่นระหว่างผู้คุกคามและผู้ที่ถูกคุกคาม

4.ทำเนียนว่ารู้จักด้วยการเข้าไปทักทายเหมือนว่าเป็นเพื่อน และชวนคุยจนผู้ที่คุกคามถอยห่าง

5.ถ่ายคลิปเพื่อใช้เป็นหลักฐานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


เราจะป้องกันตัวจากการถูกคุกคามเมื่อเกิดเหตุซึ่งหน้าได้อย่างไร


- ตั้งสติให้ดี และแสดงออกว่าคุณรู้ตัวและไม่ยินยอม

- ให้ลุกเดินหนีจากที่นั่ง

- ส่งเสียงขอความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง


หากถูกผู้คุกคามใช้กำลัง ให้ใช้ไฟฉาย ปากกาหรือขวดน้ำเพื่อป้องกันตัวเอง โดยให้ใช้วิธีนี้เป็นทางเลือกสุดท้าย และใช้ในกรณีที่ผู้กระทำใช้กำลังหรือถูกทำให้จนมุม


ภาพจาก: AFP 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง